บริษัทฯ มีความเชื่อมั่นว่าการกำกับดูแลกิจการที่ดี เป็นปัจจัยสำคัญต่อ บริษัท ซี.พี. อินเตอร์เทรด จำกัด และบริษัทในกลุ่มธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ เครือเจริญโภคภัณฑ์ ในการยกระดับความสามารถในการแข่งขันและนำบริษัทฯ ไปสู่ความเจริญเติบโตอย่างยั่งยืน นอกจากนั้นยังเป็นการเพิ่มมูลค่าให้แก่คู่ค้าและผู้มีส่วนได้เสียในระยะยาว การกำกับดูแลกิจการที่ดีนั้น แสดงให้เห็นถึงการมีระบบ การบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพโปร่งใส ตรวจสอบได้ ซึ่งช่วยสร้างความไว้วางใจให้กับผู้มีส่วนได้เสียในห่วงโซ่คุณค่า ทั้งหมดนี้ต้องอาศัยความมุ่งมั่นและความร่วมมือ จากพนักงานทุกระดับโดยมีคณะกรรมการและผู้บริหารระดับสูงให้การส่งเสริมสนับสนุนเพื่อให้ การกำกับดูแลกิจการเกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม


ครอบคลุม มีส่วนร่วม และมีความเป็นตัวแทนที่ดี ในทุกระดับการตัดสินใจ

ผลการดำเนินงานด้านธรรมาภิบาล
และ ความยั่งยืนผ่านการรายงานของ
เครือเจริญโภคภัณฑ์

ทุกบริษัทในกลุ่มธุรกิจ
เป้าหมาย 2565
-
จำนวนสายธุรกิจ277777100%
-
จำนวนบริษัท277777100%

แบบ GRC

จรรยาบรรณธุรกิจ คือ มาตรฐานการประพฤติปฏิบัติที่ดี กำหนดขึ้นเพื่อให้ทุกท่าน ซึ่งรวมถึงกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานยึดถือปฏิบัติที่จะป้องกัน การประพฤติปฏิบัติในทางที่ผิดหรือทำให้เสื่อมเสียและสะท้อนให้เห็นถึงความต้องการของบริษัท ซี.พี. อินเตอร์เทรด จำกัด และบริษัทในกลุ่มธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ เครือเจริญโภคภัณฑ์ที่ต้องการให้กรรมการและบุคลากรปฏิบัติตามกฎหมายและกฎข้อบังคับตามนโยบาย
หน่วยงานธรรมาภิบาล ของกลุ่มธุรกิจฯ มีหน้าที่รับผิดชอบผลของการส่งเสริม บังคับใช้ พร้อมทั้งติดตาม ดูแล และทบทวนจรรยาบรรณธุรกิจให้ทันต่อเหตุการณ์ อย่างไรก็ตามเป็นความรับผิดชอบของกรรมการ และบุคลากรทุกคนที่จะร่วมกันทำ ให้จรรยาบรรณธุรกิจไม่เป็นเพียงเอกสารฉบับหนึ่งเท่านั้น แต่ต้องมีการนำไปปฏิบัติกับการทำงานในชีวิตประจำวัน
ในปี 2561 ได้มีการประกาศใช้จรรยาบรรณธุรกิจ ซึ่งครอบคลุมนโยบายและแนวปฏิบัติที่สำคัญ 4 ด้าน ได้แก่ คุณธรรม คุณภาพ บุคลากร สินทรัพย์ ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงมาตรฐานในการปฏิบัติให้เป็นไปตามค่านิยมองค์กรเรื่องคุณธรรมและความซื่อสัตย์ นอกจากนี้จรรยาบรรณธุรกิจยังสร้างความตะหนักรู้ให้กับพนักงานทุกคนในองค์กรเข้าใจถึงค่านิยมที่ดี นำไปสู่การปฏิบัติที่โปร่งใสทั่วทั้งบริษัทฯ

กลุ่มธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ ยึดถือพันธกิจที่จะปฏิบัติตามหลักบรรษัทภิบาล และส่วนหนึ่งของหลักบรรษัทภิบาล คือ การนำวิธีการบริหารจัดการความเสี่ยงองค์กร มาใช้ในกลุ่มธุรกิจ การค้าระหว่างประเทศ ทั้งนี้เพื่อ :
- ให้กลุ่มธุรกิจการค้าระหว่างประเทศบรรลุเป้าหมาย ที่ตั้งไว้
- เพิ่มความตระหนักถึงความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจ
- ให้มั่นใจว่าคณะกรรมการบริหารของบริษัทมีหน้าที่วางแผนยุทธศาสตร์ของบริษัทพร้อมทั้งสร้างคุณค่าและควบคุมดูแลผลประกอบการขององค์กร
- ส่งเสริมความรับผิดชอบขององค์กรต่อสังคม
- ปกป้องผลประโยชน์ของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
- ปกป้องภาพลักษณ์และชื่อเสี่ยงกลุ่มธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ
- ให้มั่นใจว่ากระบวนการและควบคุมการจัดการมีความเหมาะสมและเพียงพอ
- พัฒนาและปกป้ององค์กรอย่างต่อเนื่องจากสิ่งคุกคามที่อาจเกิดขึ้น
คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง มีการรวบรวมประเด็นความเสี่ยงจากแต่ละหน่วยงานในกลุ่มธุรกิจ และจากผู้บริหาร จากนั้นดำเนินการจัดทำมาตรการจัดการบรรเทาความเสี่ยง และควบคุมความเสี่ยง รายงานและเฝ้าติดตามผลการบริหารความเสี่ยงจากทุกหน่วยงาน ตลอดจนสื่อสารถึงกระบวนการในทุกขั้นตอนแก่ผู้บริหารและพนักงานรับทราบ และทบทวนความเสี่ยงปีละ 2 ครั้ง รวมถึงมีการอบรมเพื่อสร้างวัฒนธรรมในการบริหารความเสี่ยงองค์กรให้กับพนักงานอย่างต่อเนื่อง
นอกจากนี้กลุ่มธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ
ได้วางแผนเชิงรุกสำหรับสภาวะวิกฤตอันอาจเกิดขึ้นได้และป้องกัน
ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการหยุดชะงักทางธุรกิจ
ผ่านการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ (Business Continuity Plan: BCP)
ซึ่งสอดคล้องต่อนโยบายความต่อเนื่องทางธุรกิจ

- กระแสเงินสด
- การควบคุมฝุ่น
- มูลค่าวัตถุดิบ
- การปฏิบัติตามกฎหมาย
- ระบบมาตรฐานด้านสังคม
- ลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก
- แรงงาน
- การจัดการสารเคมีตกค้าง
- ไฟไหม้โรงงาน
- การโจมตีทางไซเบอร์
- การไม่ปฏิบัติตามข้อผูกพันในสัญญา
- การละเมิดสิทธิมนุษยชน
- ความเสียหายต่อแบรนด์





จะต้องปฏิบัติหน้าที่ในเรื่องต่อไปนี้ด้วยความระมัดระวัง ได้แก่
• ความเป็นกลางและการช่วยเหลือทางการเมือง
• การบริจาคเพื่อการกุศล และเงินสนับสนุน
• การให้ของขวัญ การเลี้ยงรับรองและค่าใช้จ่ายอื่น
บริษัท ซี.พี. อินเตอร์เทรด จำกัด
และกลุ่มธุรกิจข้าว ขนส่งและบริการ เห็นความสำคัญของการจัดให้มีช่องทางการแจ้งเบาะแสและการรับเรื่องร้องเรียนที่มีประสิทธิภาพ
เพื่อรับฟังความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ หรือข้อร้องเรียนต่าง ๆ
จากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่ม อันได้แก่ บุคลากรของกลุ่มธุรกิจฯ เช่น ผู้บริหาร
พนักงานทุกระดับ และบุคคลภายนอก เช่น
คู่ค้าธุรกิจ พันธมิตรทางธุรกิจ
ที่ได้รับผลกระทบหรือมีความเสี่ยงที่จะได้รับผลกระทบจากการดำเนินธุรกิจของกลุ่มธุรกิจฯ
หรือจากการกระทำผิดกฎหมายหรือจรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจ
รวมถึงพฤติกรรมที่เข้าข่ายการกระทำผิด การทุจริต การคอร์รัปชัน
รวมถึงการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบของบุคลากรของกลุ่มธุรกิจฯ
และเพื่อเป็นการป้องกันความเสี่ยงและความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
ตลอดจนเป็นเครื่องมือในการเฝ้าระวัง ติดตามการดำเนินธุรกิจ
และเป็นฐานข้อมูลสำหรับใช้ปรับปรุงการบริหารงานและการให้บริการของกลุ่มธุรกิจฯ
ให้มีความรัดกุมและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
บริษัทฯ จึงกำหนดให้มีช่องทางการแจ้งเบาะแสและกระบวนการรับเรื่องร้องเรียนที่ชัดเจน สุจริต โปร่งใส และเป็นไปตามมาตรฐานสากล จึงได้ออกนโยบายและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการแจ้งเบาะแสและการรับเรื่องร้องเรียน (Whistle Blowing Policy and Guideline) โดยมีรายละเอียดดังนี้ขอบเขตของการแจ้งเบาะแส

ข้อมูลเกี่ยวกับนโยบายและแนวปฏิบัติ หรือขั้นตอนการแจ้งเบาะแสและการร้องเรียน สามารถหาข้อมูลได้จากจรรยาบรรณธุรกิจของกลุ่มธุรกิจฯ ใน Intranet หรือระบบ e-Learning ของกลุ่มธุรกิจฯ หรือ Application “CPTGCROP Connect”

และการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์

บริษัทฯ มีความเชื่อมั่นว่าการกำกับดูแลกิจการที่ดี เป็นปัจจัยสำคัญต่อ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โปรดิ๊วสจำกัด และบริษัทในกลุ่มธุรกิจพืชครบวงจร เครือเจริญโภคภัณฑ์ ในการยกระดับความสามารถในการแข่งขันและนำบริษัทฯ ไปสู่ความเจริญเติบโตอย่างยั่งยืน นอกจากนั้นยังเป็นการเพิ่มมูลค่าให้แก่คู่ค้าและผู้มีส่วนได้เสียในระยะยาว การกำกับดูแลกิจการที่ดีนั้น แสดงให้เห็นถึงการมีระบบ การบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพโปร่งใส ตรวจสอบได้ ซึ่งช่วยสร้างความไว้วางใจให้กับผู้มีส่วนได้เสียในห่วงโซ่คุณค่า ทั้งหมดนี้ต้องอาศัยความมุ่งมั่นและความร่วมมือ จากพนักงานทุกระดับโดยมีคณะกรรมการและผู้บริหารระดับสูงให้การส่งเสริมสนับสนุนเพื่อให้ การกำกับดูแลกิจการเกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม


ครอบคลุม มีส่วนร่วม และมีความเป็นตัวแทนที่ดี ในทุกระดับการตัดสินใจ

ผลการดำเนินงานด้านธรรมาภิบาล
และ ความยั่งยืนผ่านการรายงานของ
เครือเจริญโภคภัณฑ์

ทุกบริษัทในกลุ่มธุรกิจ
เป้าหมาย 2563
-
จำนวนสายธุรกิจ2777100%
-
จำนวนบริษัท2777100%

แบบ GRC

จรรยาบรรณธุรกิจ คือ มาตรฐานการประพฤติปฏิบัติที่ดี กำหนดขึ้นเพื่อให้ทุกท่าน ซึ่งรวมถึงกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานยึดถือปฏิบัติที่จะป้องกัน การประพฤติปฏิบัติในทางที่ผิดหรือทำให้เสื่อมเสียและสะท้อนให้เห็นถึงความต้องการของบริษัท ซี.พี. อินเตอร์เทรด จำกัด และบริษัทในกลุ่มธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ เครือเจริญโภคภัณฑ์ที่ต้องการให้กรรมการและบุคลากรปฏิบัติตามกฎหมายและกฎข้อบังคับตามนโยบาย
หน่วยงานธรรมาภิบาล ของกลุ่มธุรกิจฯ มีหน้าที่รับผิดชอบผลของการส่งเสริม บังคับใช้ พร้อมทั้งติดตาม ดูแล และทบทวนจรรยาบรรณธุรกิจให้ทันต่อเหตุการณ์ อย่างไรก็ตามเป็นความรับผิดชอบของกรรมการ และบุคลากรทุกคนที่จะร่วมกันทำ ให้จรรยาบรรณธุรกิจไม่เป็นเพียงเอกสารฉบับหนึ่งเท่านั้น แต่ต้องมีการนำไปปฏิบัติกับการทำงานในชีวิตประจำวัน
ในปี 2561 ได้มีการประกาศใช้จรรยาบรรณธุรกิจ ซึ่งครอบคลุมนโยบายและแนวปฏิบัติที่สำคัญ 4 ด้าน ได้แก่ คุณธรรม คุณภาพ บุคลากร สินทรัพย์ ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงมาตรฐานในการปฏิบัติให้เป็นไปตามค่านิยมองค์กรเรื่องคุณธรรมและความซื่อสัตย์ นอกจากนี้จรรยาบรรณธุรกิจยังสร้างความตะหนักรู้ให้กับพนักงานทุกคนในองค์กรเข้าใจถึงค่านิยมที่ดี นำไปสู่การปฏิบัติที่โปร่งใสทั่วทั้งบริษัทฯ

กลุ่มธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ ยึดถือพันธกิจที่จะปฏิบัติตามหลักบรรษัทภิบาล และส่วนหนึ่งของหลักบรรษัทภิบาล คือ การนำวิธีการบริหารจัดการความเสี่ยงองค์กร มาใช้ในกลุ่มธุรกิจ การค้าระหว่างประเทศ ทั้งนี้เพื่อ :
- ให้กลุ่มธุรกิจการค้าระหว่างประเทศบรรลุเป้าหมาย ที่ตั้งไว้
- เพิ่มความตระหนักถึงความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจ
- ให้มั่นใจว่าคณะกรรมการบริหารของบริษัทมีหน้าที่วางแผนยุทธศาสตร์ของบริษัทพร้อมทั้งสร้างคุณค่าและควบคุมดูแลผลประกอบการขององค์กร
- ส่งเสริมความรับผิดชอบขององค์กรต่อสังคม
- ปกป้องผลประโยชน์ของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
- ปกป้องภาพลักษณ์และชื่อเสี่ยงกลุ่มธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ
- ให้มั่นใจว่ากระบวนการและควบคุมการจัดการมีความเหมาะสมและเพียงพอ
- พัฒนาและปกป้ององค์กรอย่างต่อเนื่องจากสิ่งคุกคามที่อาจเกิดขึ้น
คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง มีการรวบรวมประเด็นความเสี่ยงจากแต่ละหน่วยงานในกลุ่มธุรกิจ และจากผู้บริหาร จากนั้นดำเนินการจัดทำมาตรการจัดการบรรเทาความเสี่ยง และควบคุมความเสี่ยง รายงานและเฝ้าติดตามผลการบริหารความเสี่ยงจากทุกหน่วยงาน ตลอดจนสื่อสารถึงกระบวนการในทุกขั้นตอนแก่ผู้บริหารและพนักงานรับทราบ และทบทวนความเสี่ยงปีละ 2 ครั้ง รวมถึงมีการอบรมเพื่อสร้างวัฒนธรรมในการบริหารความเสี่ยงองค์กรให้กับพนักงานอย่างต่อเนื่อง
นอกจากนี้กลุ่มธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ
ได้วางแผนเชิงรุกสำหรับสภาวะวิกฤตอันอาจเกิดขึ้นได้และป้องกัน
ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการหยุดชะงักทางธุรกิจ
ผ่านการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ (Business Continuity Plan: BCP)
ซึ่งสอดคล้องต่อนโยบายความต่อเนื่องทางธุรกิจ

- กระแสเงินสด
- การควบคุมฝุ่น
- มูลค่าวัตถุดิบ
- การปฏิบัติตามกฎหมาย
- ระบบมาตรฐานด้านสังคม
- ลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก
- แรงงาน
- การจัดการสารเคมีตกค้าง
- ไฟไหม้โรงงาน
- การโจมตีทางไซเบอร์
- การไม่ปฏิบัติตามข้อผูกพันในสัญญา
- การละเมิดสิทธิมนุษยชน
- ความเสียหายต่อแบรนด์





จะต้องปฏิบัติหน้าที่ในเรื่องต่อไปนี้ด้วยความระมัดระวัง ได้แก่
• ความเป็นกลางและการช่วยเหลือทางการเมือง
• การบริจาคเพื่อการกุศล และเงินสนับสนุน
• การให้ของขวัญ การเลี้ยงรับรองและค่าใช้จ่ายอื่น
บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โปรดิ๊วสจำกัด
และบริษัทในกลุ่มธุรกิจพืชครบวงจร เห็นความสำคัญของการจัดให้มีช่องทางการแจ้งเบาะแสและการรับเรื่องร้องเรียนที่มีประสิทธิภาพ
เพื่อรับฟังความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ หรือข้อร้องเรียนต่าง ๆ
จากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่ม อันได้แก่ บุคลากรของกลุ่มธุรกิจฯ เช่น ผู้บริหาร
พนักงานทุกระดับ และบุคคลภายนอก เช่น
คู่ค้าธุรกิจ พันธมิตรทางธุรกิจ
ที่ได้รับผลกระทบหรือมีความเสี่ยงที่จะได้รับผลกระทบจากการดำเนินธุรกิจของกลุ่มธุรกิจฯ
หรือจากการกระทำผิดกฎหมายหรือจรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจ
รวมถึงพฤติกรรมที่เข้าข่ายการกระทำผิด การทุจริต การคอร์รัปชัน
รวมถึงการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบของบุคลากรของกลุ่มธุรกิจฯ
และเพื่อเป็นการป้องกันความเสี่ยงและความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
ตลอดจนเป็นเครื่องมือในการเฝ้าระวัง ติดตามการดำเนินธุรกิจ
และเป็นฐานข้อมูลสำหรับใช้ปรับปรุงการบริหารงานและการให้บริการของกลุ่มธุรกิจฯ
ให้มีความรัดกุมและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
บริษัทฯ จึงกำหนดให้มีช่องทางการแจ้งเบาะแสและกระบวนการรับเรื่องร้องเรียนที่ชัดเจน สุจริต โปร่งใส และเป็นไปตามมาตรฐานสากล จึงได้ออกนโยบายและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการแจ้งเบาะแสและการรับเรื่องร้องเรียน (Whistle Blowing Policy and Guideline) โดยมีรายละเอียดดังนี้ขอบเขตของการแจ้งเบาะแส

ข้อมูลเกี่ยวกับนโยบายและแนวปฏิบัติ หรือขั้นตอนการแจ้งเบาะแสและการร้องเรียน สามารถหาข้อมูลได้จากจรรยาบรรณธุรกิจของกลุ่มธุรกิจฯ ใน Intranet หรือระบบ e-Learning ของกลุ่มธุรกิจฯ หรือ Application “CPTGCROP Connect”

และการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์
