HeartLiving Right
บริษัท ซี.พี. อินเตอร์เทรด จำกัด และบริษัทในกลุ่มธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ เครือเจริญโภคภัณฑ์ ตระหนักถึงคุณค่าความสำคัญของความยั่งยืนด้านเศรษฐกิจ โดย ดำเนินธุรกิจภายใต้แนวคิด การเติบโตขององค์กรในมุมมองเศรษฐกิจที่มีเสถียรภาพอย่างต่อเนื่องในระยะยาว มีกระบวนการวางแผน มีเป้าหมายที่ต้องการจะบรรลุที่ชัดเจน กระบวนการทำงานที่มีประสิทธิภาพและรองรับความเสี่ยงที่เกิดขึ้น พัฒนาสินค้านวัตกรรมใหม่ๆ ที่นำไปสู่ความยั่งยืน ได้รับการยอมรับจากลูกค้า ปลูกฝังอยู่ในกิจกรรมของคนในองค์กรสื่อไปถึงตราสินค้าและผลิตภัณฑ์ขององค์กร เพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ในการเป็นบริษัทชั้นนำด้านธุรกิจข้าวครบวงจร และเกษตรอุตสาหกรรม ภายใต้กรอบวิสัยทัศน์ พันธกิจ และนโยบายฯ จึงกำหนดเป้าหมายความยั่งยืนด้านเศรษฐกิจ
การศึกษาและการลดความเหลื่อมล้ำ
ความท้าทาย : บริษัท ซี.พี. อินเตอร์เทรด จำกัด

บริษัท ซี.พี. อินเตอร์เทรด จำกัด และบริษัทในกลุ่มธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ เน้นนวัตกรรมเทคโนโลยีกลายเป็นพื้นฐานสำคัญของการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการศึกษา รวมถึงการยกระดับทักษะที่มีความจำเป็นเพื่อการทำงานในยุคปัจจุบันเป็นอย่างมาก โดยเน้นการเป็นองค์กรตัวอย่าง การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของนวัตกรรมเทคโนโลยีส่งผลให้เกิดความเหลื่อมล้ำหลายด้านทั่วโลก เช่น ด้านการศึกษาและด้านความมั่นคงในอาชีพ เป็นต้น ดังนั้นการส่งเสริมและพัฒนาโครงสร้างการศึกษาขั้นพื้นฐาน (Quality Basic Education) การยกระดับรูปแบบการเรียนรู้ที่สามารถเกิดขึ้ได้อย่างต่อเนื่องในทุกช่วงอายุ (Lifelong Learning Pathways) การใช้นวัตกรรมเพื่อการศึกษา (Education Innovation)

สนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
SDG 4
คุณภาพการศึกษา
4.5
ทุกคนเข้าถึงการศึกษาวิชาเทคนิค อาชีวศึกษา อุดมศึกษา รวมถึงมหาวิทยาลัยที่มีคุณภาพ ในราคาที่เข้าถึงได้
4.B
ขยายจำนวนทุนการศึกษาสำหรับการศึกษาทุกรูปแบบสำหรับประเทศกำลังพัฒนา
SDG 8
งานที่เหมาะสม และการเติบโตทางเศรษฐกิจ
8.6
ส่งเสริมเยาวชนให้มีงานทำ, มีการศึกษา และได้รับการฝึกอบรม
SDG 9
อุตสาหกรรม นวัตกรรมและโครงสร้างพื้นฐานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
9.C
เพิ่มการเข้าถึงเทคโนโลยีด้านข้อมูลการสื่อสารโดยถ้วนหน้า
ผลการดำเนินงานที่สำคัญปี 2563
20,469 คน
เด็ก เยาวชนและผู้ใหญ่
ได้รับการส่งเสริมการเข้าถึงการศึกษาและพัฒนาทักษะที่จำเป็น
107 ทุน
จำนวนทุนการศึกษาที่สนับสนุนโดยบริษัทในกลุ่มธุรกิจฯ
52 โรงเรียน
ได้รับการส่งเสริมการศึกษา และสนับสนุนความยั่งยืน
เป้าหมายปี 2563
สนับสนุนเด็ก เยาวชน และผู้ใหญ่ 30,000 คน ให้มีโอกาสเข้าถึงการศึกษา และการพัฒนาทักษะที่จำเป็น
ผลลัพธ์ปี 2563 เทียบเป้าหมาย
2560
2561
2562
2563
บรรลุตาม
เป้าหมาย 2563
  • จำนวนเด็ก เยาวชน และผู้ใหญ ่ที่ได้รับการสนับสนุน
    23,187
    15,255
    20,469
    100%
  • จำนวนโรงเรียนที่ได้รับการสนับสนุน
    41
    41
    52
    100%
การบริหารจัดการด้านการศึกษา
แนวทางการบริหารจัดการ

บริษัท ซี.พี. อินเตอร์เทรด จำกัด และบริษัทในกลุ่มธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ เชื่อมั่นในการสร้างวัฒนธรรมการมีส่วนร่วมด้านการศึกษา และการสร้างโอกาสการเข้าถึงองค์ความรู้ คือการพัฒนาศักยภาพของเยาวชนและผู้ใหญ่ทุกวัย สร้างความพร้อมเพื่อรับมือกับความท้าทายด้านต่างๆ ลดความเหลื่อมล้ำ และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทย

บริษัทฯ สร้างและสนับสนุนการศึกษาผ่านโครงการที่สำคัญในระดับประเทศ ทั้งการสนับสนุนโอลิมปิกวิชาการมาอย่างต่อเนื่องตลอด 18 ปี โครงการพัฒนาเยาวชนสู่ความยั่งยืน ซึ่งเป้าหมายคือการเป็นองค์กรต้นแบบให้เยาวชนได้มีโอกาสเรียนรู้ และพัฒนา ตลอดจนการให้ความสำคัญกับการบริหารห่วงโซ่อุปทาน โดยการมุ่งเน้นและให้ความสำคัญในการพัฒนาองค์ความรู้ และพัฒนาคุณภาพชีวิตให้แก่เกษตรกร ผู้ซึ่งเป็นผู้ผลิตวัตถุที่มีคุณภาพให้กับกลุ่มธุรกิจ อีกทั้งการให้ความสำคัญกับพนักงาน ผู้ซึ่งเป็นฟันเฟืองสำคัญ ในการทำให้ธุรกิจดำเนินการอย่างต่อเนื่อง และยั่งยืน โดยการสร้างองค์ความรู้ที่จำเป็นให้กับพนักงานทุกระดับ เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอย่างยั่งยืนของทุกฝ่าย

การพัฒนาประเทศหรือองค์กรไปสู่ความก้าวหน้า หัวใจสำคัญ คือ การพัฒนาคนให้มีคุณภาพ และมีความสามารถในการเรียนรู้ บนพื้นฐานการมีสุขภาพที่แข็งแรงสมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจ กลุ่มธุรกิจจึงมุ่งมั่นส่งเสริมความรู้ พัฒนาความสามารถ เสริมสร้างศักยภาพ ด้วยการเข้าไป มีส่วนร่วมจัดการด้านการศึกษาสำหรับเด็กไทยทุกช่วงวัยและส่งเสริมการเข้าถึงความรู้แก่คนในสังคม โดยมีแนวทางการบริหารจัดการ ผ่าน 3 แนวทาง คือ การพัฒนาและถ่ายทอดองค์ความรู้และทักษะ การสร้างความพร้อมเข้าสู่ยุคดิจิทัล และการสร้างโอกาสการเข้าถึงองค์ความรู้ โดยบูรณาการร่วมกันเป็น เครือข่าย ที่เอื้อให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต
สร้างองค์ความรู้แก่เกษตรกร ตามหลัก GAP Plus
ในฐานะผู้ผลิตและจัดจำหน่ายข้าวตราฉัตร บริษัทฯ ต้องการที่จะมีแหล่งผลิตข้าวที่มั่นใจในคุณภาพวัตถุดิบ เพราะบริษัทฯ ต้องรักษามาตรฐานของข้าวตราฉัตร ขณะเดียวกันก็ตระหนักถึงปัญหาด้านการตลาดของ เกษตรกรไทย จึงเกิดเป็นแนวคิดที่จะรวมเอาจุดเด่นของเกษตรกร ‘ผู้เชี่ยวชาญเรื่องการเพาะปลูกข้าว’ และบริษัทฯ ที่มี ‘ความชำนาญเรื่องตลาด’ เข้าด้วยกัน นับเป็นการทำธุรกิจที่เกื้อกูลกัน โดยมีเป้าหมาย เพื่อสร้างความยั่งยืนให้กับเกษตรกรของไทย จึงเกิดเป็น “โครงการพัฒนาระบบการปลูกข้าวเพื่อความยั่งยืนชนิดต่างๆ” ขึ้นมา
ทีมงานพัฒนาวัตถุดิบต้นน้ำ และทีมงาน Seed (เมล็ดพันธุ์)
ร่วมจัดกิจกรรม “อบรมเรื่องการผลิตพันธุ์ข้าวให้ได้มาตรฐาน”

ทีมงานพัฒนาวัตถุดิบต้นน้ำ และทีมงาน Seed (เมล็ดพันธุ์) ร่วมจัดกิจกรรม “อบรมเรื่องการผลิตพันธุ์ข้าวให้ได้มาตรฐาน” แก่เกษตรกรที่หมู่ 9 ณ ศาลาประชาคมประจำหมู่ 9 ต.คือเวียง อ.ดอกคำใต้ จ.พะเยา ซึ่งเป็นกิจกรรมภายใต้โครงการพัฒนาระบบการปลูกข้าวเพื่อความยั่งยืน

โดยมีอบรมสมาชิกเกษตรกรในโครงการเเปลงผลิตเมล็ดพันธุ์เกษตรสมาชิกผู้ปลูกพันธุ์หอมมะลิ 105 ตรา ผู้ใหญ่ลี “อบรมเรื่องการผลิต พันธุ์ข้าวให้ได้มาตรฐาน” ได้รับเกียรติอาจารย์สุรเดช ปาละวิสุทธิ์ ที่ปรึกษาเเละผู้เชี่ยวชาญเรื่องข้าว เข้ามาอบรมและมีการ Workshop ลงแปลงนาเกษตรกร เเปลงเมล็ดพันธุ์ ข้าวมะลิ 105 ทำให้เกษตรกรในพื้นที่ได้รับความรู้ข้อมูลใหม่ๆ จากการอบรมในครั้งนี้ มาปรับใช้ในแปลงนาข้าวของตัวเอง เพื่อทำให้ผลผลิตดีขึ้น ข้าวดี รายได้ก็ดี แถมได้ส่งต่อข้าวคุณภาพดีให้ผู้บริโภคทานด้วย

สนับสนุนการศีกษาเยาวชนโอลิมปิกวิชาการ
ภายใต้โครงการ “ข้าวไทย เด็กไทย”

ก้าวสู่ปีที่ 17 สสวท. จับมือ ข้าวตราฉัตร กับภารกิจปั้นอัจฉริยะเด็กไทย สู่เวทีวิชาการระดับโลก ภายใต้ “โอลิมปิกวิชาการ” ข้าวตราฉัตร จัดกิจกรรมมอบทุนการศึกษาคณะผู้แทนประเทศไทย โอลิมปิกวิชาการระหว่างประเทศ ประจำปี พ.ศ.2563 ให้กับผู้แทนประเทศไทย ทั้งหมด 23 คน เพื่อมอบเป็นขวัญและกำลังใจ ให้กับผู้แทนประเทศไทยที่คว้าชัยชนะ และสร้างชื่อเสียงกลับมาสู่ประเทศไทย

ภายในงานได้รับเกียรติจากนายฐิติ ลุจินตานนท์ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ ธุรกิจข้าวและอาหารในประเทศและต่างประเทศ มอบทุนการศึกษา และ ดร.พรชัย อินทร์ฉาย รองผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ร่วมให้โอวาทแก่คณะผู้แทนประเทศไทย

ปี 2563 นี้ มีผู้แทนประเทศไทยคว้าเหรียญรางวัล ได้ทั้งหมด 23 เหรียญ ได้แก่ 3 เหรียญทอง 8 เหรียญเงิน และ 12 เหรียญทองแดง

การพัฒนาแรงงานต่างชาติ องค์ความรู้ด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน

เนื่องจากนโยบายและแนวปฏิบัติในการจ้างงานแรงงานต่างด้าวของเครือเจริญโภคภัณฑ์ มีนโยบายชัดเจนที่จะไม่กระทำหรือสนับสนุนให้มีการใช้แรงงานบังคับในทุกรูปแบบ รวมถึงการใช้ แรงงานต่างด้าวอย่างผิดกฎหมาย ทางบริษัทฯ ได้เล็งเห็นความสำคัญถึงปัญหาสิทธิมนุษยชนและการใช้แรงงานบังคับตามนโยบายของเครือฯ บริษัทจึงประสงค์จ้างแรงงานต่างด้าวของบริษัทรับมาเป็นลูกจ้างของบริษัทโดยตรง และมุ่งเน้นการสร้างองค์ความรู้ให้เทียบเท่ากับพนักงานคนไทย ทั้งนี้ในเรื่องของความปลอดภัย เป็นพื้นฐานสำคัญสำหรับการทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม ทางบริษัทฯ จึงได้มีการพัฒนาหลักสูตรเรื่องความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน โดยมีการใช้ภาษาที่กัมพูชา และมีล่ามในการสื่อสารกับพนักงาน โดยมีหลักสูตรหลักๆดังนี้

  1. การดับเพลิงขั้นต้น
  2. การซ้อมอพยพหนีไฟทั้งในโรงงาน และที่หอพัก
  3. การปฐมพยาบาลเบื้องต้น

ทั้งนี้การดำเนินการพัฒนาองค์ความรู้แรงงานต่างชาติยังเป็นการส่งเสริมการปฏิบัติตามปฎิญญาสากลที่ว่าด้วยสิทธิมนุษยชน หลักการชี้แนะสหประชาชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชนหลักการสากลของ UN Global Compact และตามข้อตกลงของสหประชาชาติอื่นๆที่เกี่ยวข้อง โดยการบริหารจัดการเพื่อให้มั่นใจว่าการดำเนินธุรกิจจะไม่ละเมิดสิทธิมนุษยชน

ซ้อมอพยพหนีไฟ หอพักแรงงานต่างชาติ
ความท้าทาย : บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โปรดิ๊วส จำกัด

บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โปรดิ๊วส จำกัด และบริษัทในกลุ่มธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ เน้นนวัตกรรมเทคโนโลยีกลายเป็นพื้นฐานสำคัญของการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการศึกษา รวมถึงการยกระดับทักษะที่มีความจำเป็นเพื่อการทำงานในยุคปัจจุบันเป็นอย่างมาก โดยเน้นการเป็นองค์กรตัวอย่าง การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของนวัตกรรมเทคโนโลยีส่งผลให้เกิดความเหลื่อมล้ำหลายด้านทั่วโลก เช่น ด้านการศึกษาและด้านความมั่นคงในอาชีพ เป็นต้น ดังนั้นการส่งเสริมและพัฒนาโครงสร้างการศึกษาขั้นพื้นฐาน (Quality Basic Education) การยกระดับรูปแบบการเรียนรู้ที่สามารถเกิดขึ้ได้อย่างต่อเนื่องในทุกช่วงอายุ (Lifelong Learning Pathways) การใช้นวัตกรรมเพื่อการศึกษา (Education Innovation)

สนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
SDG 4
คุณภาพการศึกษา
4.5
ทุกคนเข้าถึงการศึกษาวิชาเทคนิค อาชีวศึกษา อุดมศึกษา รวมถึงมหาวิทยาลัยที่มีคุณภาพ ในราคาที่เข้าถึงได้
4.B
ขยายจำนวนทุนการศึกษาสำหรับการศึกษาทุกรูปแบบสำหรับประเทศกำลังพัฒนา
SDG 8
งานที่เหมาะสม และการเติบโตทางเศรษฐกิจ
8.6
ส่งเสริมเยาวชนให้มีงานทำ, มีการศึกษา และได้รับการฝึกอบรม
SDG 9
อุตสาหกรรม นวัตกรรมและโครงสร้างพื้นฐานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
9.C
เพิ่มการเข้าถึงเทคโนโลยีด้านข้อมูลการสื่อสารโดยถ้วนหน้า
ผลการดำเนินงานที่สำคัญปี 2563
20,469 คน
เด็ก เยาวชนและผู้ใหญ่
ได้รับการส่งเสริมการเข้าถึงการศึกษาและพัฒนาทักษะที่จำเป็น
107 ทุน
จำนวนทุนการศึกษาที่สนับสนุนโดยบริษัทในกลุ่มธุรกิจฯ
52 โรงเรียน
ได้รับการส่งเสริมการศึกษา และสนับสนุนความยั่งยืน
เป้าหมายปี 2563
สนับสนุนเด็ก เยาวชน และผู้ใหญ่ 30,000 คน ให้มีโอกาสเข้าถึงการศึกษา และการพัฒนาทักษะที่จำเป็น
ผลลัพธ์ปี 2563 เทียบเป้าหมาย
2560
2561
2562
2563
บรรลุตาม
เป้าหมาย 2563
  • จำนวนเด็ก เยาวชน และผู้ใหญ ่ที่ได้รับการสนับสนุน
    23,187
    15,255
    20,469
    100%
  • จำนวนโรงเรียนที่ได้รับการสนับสนุน
    41
    41
    52
    100%
การบริหารจัดการด้านการศึกษา
แนวทางการบริหารจัดการ

บริษัท ซี.พี. อินเตอร์เทรด จำกัด และบริษัทในกลุ่มธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ เชื่อมั่นในการสร้างวัฒนธรรมการมีส่วนร่วมด้านการศึกษา และการสร้างโอกาสการเข้าถึงองค์ความรู้ คือการพัฒนาศักยภาพของเยาวชนและผู้ใหญ่ทุกวัย สร้างความพร้อมเพื่อรับมือกับความท้าทายด้านต่างๆ ลดความเหลื่อมล้ำ และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทย

บริษัทฯ สร้างและสนับสนุนการศึกษาผ่านโครงการที่สำคัญในระดับประเทศ ทั้งการสนับสนุนโอลิมปิกวิชาการมาอย่างต่อเนื่องตลอด 18 ปี โครงการพัฒนาเยาวชนสู่ความยั่งยืน ซึ่งเป้าหมายคือการเป็นองค์กรต้นแบบให้เยาวชนได้มีโอกาสเรียนรู้ และพัฒนา ตลอดจนการให้ความสำคัญกับการบริหารห่วงโซ่อุปทาน โดยการมุ่งเน้นและให้ความสำคัญในการพัฒนาองค์ความรู้ และพัฒนาคุณภาพชีวิตให้แก่เกษตรกร ผู้ซึ่งเป็นผู้ผลิตวัตถุที่มีคุณภาพให้กับกลุ่มธุรกิจ อีกทั้งการให้ความสำคัญกับพนักงาน ผู้ซึ่งเป็นฟันเฟืองสำคัญ ในการทำให้ธุรกิจดำเนินการอย่างต่อเนื่อง และยั่งยืน โดยการสร้างองค์ความรู้ที่จำเป็นให้กับพนักงานทุกระดับ เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอย่างยั่งยืนของทุกฝ่าย

การพัฒนาประเทศหรือองค์กรไปสู่ความก้าวหน้า หัวใจสำคัญ คือ การพัฒนาคนให้มีคุณภาพ และมีความสามารถในการเรียนรู้ บนพื้นฐานการมีสุขภาพที่แข็งแรงสมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจ กลุ่มธุรกิจจึงมุ่งมั่นส่งเสริมความรู้ พัฒนาความสามารถ เสริมสร้างศักยภาพ ด้วยการเข้าไป มีส่วนร่วมจัดการด้านการศึกษาสำหรับเด็กไทยทุกช่วงวัยและส่งเสริมการเข้าถึงความรู้แก่คนในสังคม โดยมีแนวทางการบริหารจัดการ ผ่าน 3 แนวทาง คือ การพัฒนาและถ่ายทอดองค์ความรู้และทักษะ การสร้างความพร้อมเข้าสู่ยุคดิจิทัล และการสร้างโอกาสการเข้าถึงองค์ความรู้ โดยบูรณาการร่วมกันเป็น เครือข่าย ที่เอื้อให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต
สร้างองค์ความรู้แก่เกษตรกร ตามหลัก GAP Plus
ในฐานะผู้ผลิตและจัดจำหน่ายข้าวตราฉัตร บริษัทฯ ต้องการที่จะมีแหล่งผลิตข้าวที่มั่นใจในคุณภาพวัตถุดิบ เพราะบริษัทฯ ต้องรักษามาตรฐานของข้าวตราฉัตร ขณะเดียวกันก็ตระหนักถึงปัญหาด้านการตลาดของ เกษตรกรไทย จึงเกิดเป็นแนวคิดที่จะรวมเอาจุดเด่นของเกษตรกร ‘ผู้เชี่ยวชาญเรื่องการเพาะปลูกข้าว’ และบริษัทฯ ที่มี ‘ความชำนาญเรื่องตลาด’ เข้าด้วยกัน นับเป็นการทำธุรกิจที่เกื้อกูลกัน โดยมีเป้าหมาย เพื่อสร้างความยั่งยืนให้กับเกษตรกรของไทย จึงเกิดเป็น “โครงการพัฒนาระบบการปลูกข้าวเพื่อความยั่งยืนชนิดต่างๆ” ขึ้นมา
ทีมงานพัฒนาวัตถุดิบต้นน้ำ และทีมงาน Seed (เมล็ดพันธุ์)
ร่วมจัดกิจกรรม “อบรมเรื่องการผลิตพันธุ์ข้าวให้ได้มาตรฐาน”

ทีมงานพัฒนาวัตถุดิบต้นน้ำ และทีมงาน Seed (เมล็ดพันธุ์) ร่วมจัดกิจกรรม “อบรมเรื่องการผลิตพันธุ์ข้าวให้ได้มาตรฐาน” แก่เกษตรกรที่หมู่ 9 ณ ศาลาประชาคมประจำหมู่ 9 ต.คือเวียง อ.ดอกคำใต้ จ.พะเยา ซึ่งเป็นกิจกรรมภายใต้โครงการพัฒนาระบบการปลูกข้าวเพื่อความยั่งยืน

โดยมีอบรมสมาชิกเกษตรกรในโครงการเเปลงผลิตเมล็ดพันธุ์เกษตรสมาชิกผู้ปลูกพันธุ์หอมมะลิ 105 ตรา ผู้ใหญ่ลี “อบรมเรื่องการผลิต พันธุ์ข้าวให้ได้มาตรฐาน” ได้รับเกียรติอาจารย์สุรเดช ปาละวิสุทธิ์ ที่ปรึกษาเเละผู้เชี่ยวชาญเรื่องข้าว เข้ามาอบรมและมีการ Workshop ลงแปลงนาเกษตรกร เเปลงเมล็ดพันธุ์ ข้าวมะลิ 105 ทำให้เกษตรกรในพื้นที่ได้รับความรู้ข้อมูลใหม่ๆ จากการอบรมในครั้งนี้ มาปรับใช้ในแปลงนาข้าวของตัวเอง เพื่อทำให้ผลผลิตดีขึ้น ข้าวดี รายได้ก็ดี แถมได้ส่งต่อข้าวคุณภาพดีให้ผู้บริโภคทานด้วย

สนับสนุนการศีกษาเยาวชนโอลิมปิกวิชาการ
ภายใต้โครงการ “ข้าวไทย เด็กไทย”

ก้าวสู่ปีที่ 17 สสวท. จับมือ ข้าวตราฉัตร กับภารกิจปั้นอัจฉริยะเด็กไทย สู่เวทีวิชาการระดับโลก ภายใต้ “โอลิมปิกวิชาการ” ข้าวตราฉัตร จัดกิจกรรมมอบทุนการศึกษาคณะผู้แทนประเทศไทย โอลิมปิกวิชาการระหว่างประเทศ ประจำปี พ.ศ.2563 ให้กับผู้แทนประเทศไทย ทั้งหมด 23 คน เพื่อมอบเป็นขวัญและกำลังใจ ให้กับผู้แทนประเทศไทยที่คว้าชัยชนะ และสร้างชื่อเสียงกลับมาสู่ประเทศไทย

ภายในงานได้รับเกียรติจากนายฐิติ ลุจินตานนท์ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ ธุรกิจข้าวและอาหารในประเทศและต่างประเทศ มอบทุนการศึกษา และ ดร.พรชัย อินทร์ฉาย รองผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ร่วมให้โอวาทแก่คณะผู้แทนประเทศไทย

ปี 2563 นี้ มีผู้แทนประเทศไทยคว้าเหรียญรางวัล ได้ทั้งหมด 23 เหรียญ ได้แก่ 3 เหรียญทอง 8 เหรียญเงิน และ 12 เหรียญทองแดง

การพัฒนาแรงงานต่างชาติ องค์ความรู้ด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน

เนื่องจากนโยบายและแนวปฏิบัติในการจ้างงานแรงงานต่างด้าวของเครือเจริญโภคภัณฑ์ มีนโยบายชัดเจนที่จะไม่กระทำหรือสนับสนุนให้มีการใช้แรงงานบังคับในทุกรูปแบบ รวมถึงการใช้ แรงงานต่างด้าวอย่างผิดกฎหมาย ทางบริษัทฯ ได้เล็งเห็นความสำคัญถึงปัญหาสิทธิมนุษยชนและการใช้แรงงานบังคับตามนโยบายของเครือฯ บริษัทจึงประสงค์จ้างแรงงานต่างด้าวของบริษัทรับมาเป็นลูกจ้างของบริษัทโดยตรง และมุ่งเน้นการสร้างองค์ความรู้ให้เทียบเท่ากับพนักงานคนไทย ทั้งนี้ในเรื่องของความปลอดภัย เป็นพื้นฐานสำคัญสำหรับการทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม ทางบริษัทฯ จึงได้มีการพัฒนาหลักสูตรเรื่องความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน โดยมีการใช้ภาษาที่กัมพูชา และมีล่ามในการสื่อสารกับพนักงาน โดยมีหลักสูตรหลักๆดังนี้

  1. การดับเพลิงขั้นต้น
  2. การซ้อมอพยพหนีไฟทั้งในโรงงาน และที่หอพัก
  3. การปฐมพยาบาลเบื้องต้น

ทั้งนี้การดำเนินการพัฒนาองค์ความรู้แรงงานต่างชาติยังเป็นการส่งเสริมการปฏิบัติตามปฎิญญาสากลที่ว่าด้วยสิทธิมนุษยชน หลักการชี้แนะสหประชาชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชนหลักการสากลของ UN Global Compact และตามข้อตกลงของสหประชาชาติอื่นๆที่เกี่ยวข้อง โดยการบริหารจัดการเพื่อให้มั่นใจว่าการดำเนินธุรกิจจะไม่ละเมิดสิทธิมนุษยชน

ซ้อมอพยพหนีไฟ หอพักแรงงานต่างชาติ
กลับไป
ด้านบน
อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ

HEART : LIVING RIGHT
การศึกษาและการลดความเหลื่อมล้ำ