HeartLiving Right
บริษัท ซี.พี. อินเตอร์เทรด จำกัด และบริษัทในกลุ่มธุรกิจข้าว ขนส่งและบริการ เครือเจริญโภคภัณฑ์ ตระหนักถึงคุณค่าความสำคัญของความยั่งยืนด้านเศรษฐกิจ โดย ดำเนินธุรกิจภายใต้แนวคิด การเติบโตขององค์กรในมุมมองเศรษฐกิจที่มีเสถียรภาพอย่างต่อเนื่องในระยะยาว มีกระบวนการวางแผน มีเป้าหมายที่ต้องการจะบรรลุที่ชัดเจน กระบวนการทำงานที่มีประสิทธิภาพและรองรับความเสี่ยงที่เกิดขึ้น พัฒนาสินค้านวัตกรรมใหม่ๆ ที่นำไปสู่ความยั่งยืน ได้รับการยอมรับจากลูกค้า ปลูกฝังอยู่ในกิจกรรมของคนในองค์กรสื่อไปถึงตราสินค้าและผลิตภัณฑ์ขององค์กร เพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ในการเป็นบริษัทชั้นนำด้านธุรกิจข้าวครบวงจร และเกษตรอุตสาหกรรม ภายใต้กรอบวิสัยทัศน์ พันธกิจ และนโยบายฯ จึงกำหนดเป้าหมายความยั่งยืนด้านเศรษฐกิจ
สิทธิมนุษยชนและ
การปฏิบัติด้านแรงงาน
ความท้าทาย : บริษัท ซี.พี. อินเตอร์เทรด จำกัด

บริษัท ซี.พี. อินเตอร์เทรด จำกัด และบริษัทฯในกลุ่มธุรกิจข้าว ขนส่งและบริการ เครือเจริญโภคภัณฑ์ มุ่งมั่นที่จะส่งเสริมสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน โดยเคารพกฎหมายท้องถิ่น วัฒนธรรม ประเพณี และค่านิยมในการปฏิบัติต่อพนักงานและผู้ได้รับผลกระทบจากการดำเนินธุรกิจของบริษัท รวมถึงการหลีกเลี่ยงการมีส่วนเกี่ยวข้องในการละเมิดสิทธิมนุษยชน

ความท้าทายประการสำคัญของ บริษัท ซี.พี. อินเตอร์เทรด จำกัดและบริษัทในกลุ่มธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ เครือเจริญโภคภัณฑ์ คือความคาดหวังและข้อกำหนดของลูกค้าและผู้มีส่วนได้เสีย มีในหลากหลายมุมมองและแนวทางปฏิบัติ อีกทั้งประเด็นความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษย์ชนในห่วงโซ่อุปทานในธุรกิจข้าวและอาหารที่จะต้องมีการประเมินอย่างรอบด้าน

สนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
SDG 3
สุขภาพดี และสวัสดิภาพที่ดี
3.6
ลดจำนวนการตายและบาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางถนน
SDG 5
ความเท่าเทียมทางเพศ
5.1
ยุติการเลือกปฏิบัติต่อผู้หญิง
SDG 8
ส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจ และการสร้างงาน
8.5
ส่งเสริมการจ่ายค่าตอบแทนสำหรับงานที่มีคุณค่าเท่าเทียมกัน
8.7
ยุติความเป็นทาสสมัยใหม่ การค้ามนุษย์ และการใช้แรงงานเด็ก
8.8
ปกป้องสิทธิแรงงานและส่งเสริมสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ปลอดภัย ครอบคลุมแรงงานต่างด้าว
SDG 10
ลดความไม่เสมอภาค
10.3
สร้างโอกาสที่เท่าเทียมและไม่มีการแบ่งแยก
10.7
รับผิดชอบและบริหารจัดการนโยบายด้านการอพยพเป็นอย่างดี
ผลการดำเนินงานที่สำคัญปี 2563
ทุกหน่วยงาน
ประเมินผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชน
การปฏิบัติด้านแรงงาน : 1,427 คน
จำนวนพนักงานที่ผ่านการอบรม “จรรยาบรรณธุรกิจ”
ดำเนินการตามนโยบาย
ด้านสิทธิมนุษยชนและ
การปฏิบัติด้านแรงงาน
ในระดับกลุ่มธุรกิจฯ
เป้าหมายปี 2563
ร้อยละ 100 ของบริษัท ซี.พี. อินเตอร์เทรด จำกัด และบริษัทในกลุ่มธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ มีการตรวจสอบการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชน
ผลลัพธ์ปี 2563 เทียบเป้าหมาย
2560
2561
2562
2563
บรรลุตาม
เป้าหมาย 2563
  • จำนวนสายธุรกิจที่มีการประเมิน ความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน
    2
    7
    7
    7
    100%
  • จำนวนบริษัทที่มีการประเมิน ความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน
    2
    7
    7
    7
    100%
การบริหารจัดการด้านสิทธิมนุษยชน
แนวทางการบริหารจัดการ

บริษัท ซี.พี. อินเตอร์เทรด จำกัด และบริษัทในกลุ่มธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ ได้ดำเนินการตามนโยบายได้จัดทำด้านสิทธิมนุษยชน ของเครือเจริญโภคภัณฑ์ซึ่งสะท้อนถึงความมุ่งมั่นขององค์กรในการผลักดันและให้ความสำคัญกับนโยบายด้านสิทธิมนุษชนอย่างจริงจัง โดยมีผลบังคับใช้กับทุกหน่วยงานของบริษัทฯ นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังได้ริเริ่มพัฒนากระบวนการตรวจสอบการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชน ซึ่งประกอบด้วยการประเมินความเสี่ยงทางด้านสิทธิมนุษยชนการกำหนดแผนและ แนวทางการแก้ไขเพื่อลดความเสี่ยงรวมถึงการเฝ้าระวังและติดตามความเสี่ยงดังกล่าวบริษัทฯ ยังมุ่งมั่นผลักดันให้ภาคส่วนต่างๆ เคารพและผดุงไว้ซึ่งสิทธิมนุษยชน โดยสนับสนุนการฝึกอบรมแนวปฏิบัติและมาตรการควบคุมต่างๆ อย่างต่อเนื่อง

เพื่อให้มั่นใจว่าทุกกลุ่มธุรกิจมีการบริหารจัดการความเสี่ยงและผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนที่อยู่ในขอบเขตความรับผิดชอบของตนอย่างเต็มที่ ในขณะเดียวกันยังมุ่งเน้นการดําเนินการเชิงรุกเพื่อป้องกันผลกระทบเชิงลบที่อาจเกิดขึ้นกับการจ้างแรงงาน โดยมีนโยบายชัดเจนที่จะไม่กระทำหรือสนับสนุนให้มีการใช้แรงงานบังคับในทุกรูปแบบ รวมถึงการใช้แรงงานต่างด้าวอย่างผิดกฎหมาย

ผลการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนที่สำคัญ
ความปลอดภัยและอาชีวอนามัย
สนับสนุน SGDs

การดำเนินงาน

  • นโยบายความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อม
  • ในการทำงาน
  • กำหนดเป้าหมาย ความปลอดภัยเป็นศูนย์ (Zero Accident)
  • จัดอบรมให้ผู้บริหารและพนักงานทุกระดับเข้าใจถึงความสำคัญของการกำกับดูแลกิจการที่ดีตลอดห่วงโซ่อุปทาน
  • โครงการตรวจประเมินความปลอดภัย อาชีวอนามัยฯ ระดับกลุ่มธุรกิจและระดับเครือเจริญโภคภัณฑ์การฝึกอบรมขับขี่ปลอดภัยและการทดสอบความปลอดภัยยานยนต์อย่างต่อเนื่อง
ผู้ได้รับผลกระทบ :
พนักงาน ผู้รับเหมา คู่ค้า เกษตรกร

ผลลัพธ์

  • ผู้บริหารและพนักงานทุกระดับตระหนักและให้ความสำคัญในการร่วมมือขับเคลื่อนงานด้านความปลอดภัยฯ
  • ในปี 2563 สถิติการเกิดอุบัติเหตุถึงขั้นหยุดงาน
    • พนักงาน : 0.37 รายต่อ 1,000,000 ชั่วโมงทำงาน (1 ราย)
    • ผู้รับเหมา : 12.76 รายต่อ 1,000,000 ชั่วโมงทำงาน (5 ราย)
แรงงานบังคับ และแรงงานต่างด้าว
สนับสนุน SDGs

การดำเนินงาน

  • นโยบายสิทธิมนุษยชน การจ้างงานและบริหารแรงงาน
  • ดำเนินการตามมาตรฐานแรงงาน เพื่อให้แรงงานได้รับการคุ้มครองอย่างทัดเทียมเสมอภาค
  • การตรวจประเมินการปฏิบัติตามกฎหมายแรงงานได้รับการรับรองมาตรฐานแรงงานไทย
  • นโยบายการจัดการห่วงโซ่อุปทานอย่างรับผิดชอบ และสนับสนุนให้คู่ค้าธุรกิจหลักตรวจประเมินตนเองด้านความยั่งยืน
ผู้ได้รับผลกระทบ :
พนักงาน ผู้รับเหมา คู่ค้า เกษตรกร

ผลลัพธ์

  • พนักงานทุกคน และคู่ค้าธุรกิจหลักมีความรู้ความเข้าใจด้านความยั่งยืน และสนับสนุนให้คู่ค้ามีการตรวจประเมินตนเองด้านความยั่งยืน
  • มีการดำเนินงานดูแลแรงงานต่างด้าว โดยการปรับมาเป็นพนักงานของบริษัท 100% และดูแลสวัสดิการและความเป็นอยู่ให้ดีขึ้น รวมถึงการสร้างเสริมความรู้และความสามารถ
การเลือกปฏิบัติ
สนับสนุน SDGs

การดำเนินงาน

  • จรรยาบรรณธุรกิจ
  • การฝึกอบรมให้ความรู้กับพนักงานเกี่ยวกับเรื่องสิทธิความเท่าเทียมและแนวปฏิบัติในการอยู่ร่วมกัน
ผู้ได้รับผลกระทบ :
พนักงาน

ผลลัพธ์

  • สื่อสารให้พนักงานรับทราบจรรยาบรรณธุรกิจครบถ้วน 100% โดยผ่านระบบ e- Learning และการอบรมในห้องเรียน
  • ดำเนินการว่าจ้างผู้พิการจำนวน 20 ราย
    • บริษัท ซี.พี. อินเตอร์เทรด จำกัด 4 ราย
    • บริษัท ไดนามิคทรานสปอร์ต จำกัด 10 ราย
    • บริษัท ข้าว ซี.พี. จำกัด 6 ราย
ผลกระทบสิ่งแวดล้อม
สนับสนุน SDGs

การดำเนินงาน

  • นโยบายและเป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อม
  • ระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม
  • แผนงานสิ่งแวดล้อม
  • การสร้างความตระหนัก และองค์ความรู้ด้านสิ่งแวดล้อม
  • ติดตามตรวจสอบข้อร้องเรียนด้านสิ่งแวดล้อม
ผู้ได้รับผลกระทบ :
ชุมชนท้องถิ่น

ผลลัพธ์

  • ดำเนินการตามนโยบาย ระบบมาตรฐานและแผนงาน
  • มีแผนการดำเนินงานที่ตอบสนองข้อคิดเห็นของชุมชนได้
  • ไม่พบข้อร้องเรียนด้านสิ่งแวดล้อม
ข้อมูลและการดำเนินงานที่สำคัญด้านการดูแลบุคลากร
การดูแลพนักงาน
แนวทางการบริหารจัดการ
“บุคลากร” นับเป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนธุรกิจบริษัท ซี.พี. อินเตอร์เทรด จำกัด และบริษัทในกลุ่มธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ เครือเจริญโภคภัณฑ์ จึงให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการเรื่อง “คนดี คนเก่ง” ด้วยกระบวนการสรรหา และคัดเลือกที่มีประสิทธิภาพ โดยมีระบบการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง สนับสนุนการเรียนรู้แบบรอบด้าน เพิ่มและยกระดับความรู้ทักษะอยู่ตลอดเวลา ให้เวทีในการแสดงศักยภาพ ให้โอกาสในการเติบโตก้าวหน้าได้อย่างรวดเร็ว และสร้างความผูกพัน (Engagement) กับพนักงานในทุก ๆ ระดับรวมทั้ง การนำเทคโนโลยี IT เข้ามาใช้ในการปฏิบัติงานและพัฒนาประสิทธิภาพการทำงานของพนักงาน โดยเริ่มจากการสำรวจหลักสูตรการอบรมที่สอดคล้องกับตำแหน่งงาน และความต้องการฝึกอบรม จัดทำแผนการอบรม มีระบบบันทึกประวัติการฝึกอบรม นอกจากนี้ยังเปิดโอกาสให้พนักงาน ทุกเพศ ทุกวัย ทุกเชื้อชาติ มีโอกาสเติบโตในสายอาชีพอย่างเท่าเทียมกัน และมีโอกาสในการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
การส่งเสริมโอกาสที่เท่าเทียมความหลากหลาย
ของบุคคลและการเป็นอยู่
บริษัท ซี.พี. อินเตอร์เทรด จำกัด และบริษัทในกลุ่มธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ เครือเจริญโภคภัณฑ์ ให้ความสำคัญกับการเห็นคุณค่าและยอมรับในความแตกต่างของเพื่อนพนักงาน ไม่เลือกปฏิบัติกับพนักงานที่มีวัฒนธรรมและภูมิหลังแตกต่าง เป็นการส่งเสริมพนักงานให้มีความรับผิดชอบในหน้าที่อย่างเต็มที่ มีความพึงพอใจและขวัญกำลังใจเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน นำไปสู่การเติบโตในสายอาชีพ ทั้งหมดนี้จะช่วยขับเคลื่อนให้เกิดนวัตกรรมใหม่ๆ ส่งผลให้การตัดสินใจในองค์กรมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เป็นการเปิดโอกาสให้องค์กรแลพนักงานสามารถเติบโตร่วมกันอย่างยั่งยืน โดยมีแนวทางการปฏิบัติดังนี้
  • ใช้ภาษาหรือสำนวนที่เป็นกลาง ไม่แบ่งแยกทางเพศในการจัดทำเอกสารต่างๆ
  • ใช้กฎระเบียบและวิธีปฏิบัติในสถานที่ทำงานที่ให้ความคุ้มครองพนักงานทุกคนโดยไม่เลือกปฏิบัติ
  • ไม่กีดกันกลุ่มบุคคลที่หลากหลายในการเสนอข้อคิดเห็นในการทำงาน เพื่อให้ได้เห็นมุมมองที่มีความแตกต่างกัน
  • มีช่องทางการสื่อสารที่เปิดให้พนักงานแสดงความคิดเห็นหรือร้องเรียนเมื่อถูกเลือกปฏิบัติ
การอบรมบุคลากร
เพื่อการสร้างบุคลากรให้เป็นคนดี คนเก่ง กลุ่มธุรกิจระหว่างประเทศ เสริมสร้างรูปแบบการเรียนรู้แห่งอนาคตภายในองค์กรผ่านระบบ e-Learning สร้างวัฒนธรรม การเรียนรู้ไม่รู้จบให้พนักงานทุกคนมีโอกาสในการพัฒนาองค์ความรู้ในแง่มุมต่างๆ อย่างต่อเนื่อง รวมถึงการฝึกอบรมในรูปแบบการเรียนรู้ทั้งในห้องเรียน การศึกษาดูงานนอกสถานที่และการฝึกปฏิบัติในสถานที่จริง

ค่าใช้จ่ายฝึกอบรมพนักงาน

ค่าเฉลี่ยชั่วโมงการฝึกอบรมของพนักงาน
(ชม./คน/ปี)

2561
2562
2563
  • ชาย
    7.35
    8.24
    8.76
  • หญิง
    14.21
    7.74
    7.33
  • ทั้งหมด
    10.78
    7.99
    8.11

ค่าเฉลี่ยชั่วโมงการฝึกอบรมของพนักงาน
(แยกตามระดับพนักงาน)

ข้อมูลและการดำเนินงานที่สำคัญด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัย
การบริหารจัดการความปลอดภัย อาชีวอนามัย
และสภาพแวดล้อมในการทำงาน
แนวทางการบริหารจัดการ

บริษัท ซี.พี. อินเตอร์เทรด จำกัด และบริษัทในกลุ่มธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ เครือเจริญโภคภัณฑ์ มุ่งเน้นและให้ความสำคัญกับความปลอดภัยในการทำงาน โดยยึดมั่นต่อการดูแลใส่ใจพนักงาน ผู้รับเหมา ผู้มาติดต่อ ตลอดจนผู้มีส่วนได้เสียในการดำเนินธุรกิจตลอดจนห่วงโซ่อุปทาน จึงกำหนดนโยบายความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน เพื่อให้เป็นแนวปฏิบัติและยกระดับการดำเนินงานด้านความปลอดภัยขององค์กร โดยมีแนวทางการปฏิบัติดังนี้

  1. ปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ทั้งในระดับประเทศ ระดับท้องถิ่น ข้อกำหนดลูกค้า และหน่วยงานต่างๆ และสอดคล้องตามมาตรฐานสากล
  2. ให้ความสำคัญกับการป้องกันการบาดเจ็บ และการเจ็บป่วยจากการทำงาน ประเมินความเสี่ยงอันตรายจากการทำงาน และดำเนินการเพื่อให้มั่นใจว่าระบบการป้องกัน และแก้ไขความเสี่ยงถูกนำไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพ
  3. ให้คำปรึกษาและเน้นการมีส่วนร่วมของพนักงาน และผู้เกี่ยวข้องด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พร้อมทั้งพัฒนาให้มีความรู้ สร้างจิตสำนึก อันจะนำไปสู่การปฏิบัติจนเป็นวัฒนธรรมความปลอดภัย
  4. สนับสนุนทรัพยากรที่เกี่ยวข้องในการดำเนินระบบด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานอย่างเพียงพอและเหมาะสม
  5. ติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการดำเนินงานตามนโยบาย และแผนงานด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ปรับปรุงพัฒนาให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน
กลยุทธ์การดำเนินงานอุบัติเหตุเป็นศูนย์
ศูนย์ฝึกอบรมด้านความปลอดภัย
อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน
แนวทางการบริหารจัดการ

สิ่งที่ต้องคำนึงถึงเสมอในการปฏิบัติงานในโรงงานคือความปลอดภัย โดยเฉพาะการผลิตในภาคอุตสาหกรรม ซึ่งมีความเสี่ยงที่จะได้รับ อันตรายจากการทำงาน หากการป้องกันไม่รัดกุมเพียงพออาจก่อให้เกิดความเสียหายทั้งผู้ปฏิบัติงาน วัตถุดิบและเครื่องจักรในการผลิต อุบัติเหตุส่วนใหญ่เกิดขึ้นจากการใช้เครื่องจักรโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ และความประมาทของผู้ปฏิบัติงานเอง นอกจากนี้แล้วสภาพแวดล้อม ในการทำงาน เช่น การวางผังโรงงาน อากาศ แสงสว่าง หรือเสียงก็อาจก่อให้เกิดอันตรายได้ หากสิ่งเหล่านั้นมีความบกพร่องและผิดจาก มาตรฐานที่กำหนดไว้ ดังนั้นความปลอดภัยในการทำงานจึงเป็นหัวใจสำคัญของการทำงาน เมื่อมีความรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องแล้วนั้น โอกาสที่จะประสบอันตรายในขณะทำงานย่อมลดน้อยลง
ความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน คือ สภาพที่ปลอดภัยจากอุบัติภัยต่าง ๆ อันจะเกิดแก่ร่างกาย ชีวิต หรือทรัพย์สินในขณะที่ปฏิบัติงาน ซึ่งก็คือ สภาพการทำงานที่ถูกต้องโดยปราศจาก “อุบัติเหตุ” ในการทำงานนั่นเอง ศูนย์ฝึกอบรมนี้จึงได้ถูกออกแบบให้สร้างจิตสำนึกให้กับผู้เข้าอบรม เพื่อให้อุบัติเหตุในการปฏิบัติงานเป็นศูนย์ และลดเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างไม่คาดหมาย เพื่อลดผลกระทบ กระเทือนต่อการทำงาน ที่จะทำให้ทรัพย์สินเสียหายหรือ บุคคลได้รับบาดเจ็บ จากการเกิดอุบัติเหตุ นอกจากนี้ยังมุ่งเน้นการฝึกอบรมด้านความปลอดภัยที่เป็นไปตามกฎหมาย โดยครอบคลุมหลักสูตรประมาณ 26 หลักสูตร

กลุ่มเป้าหมาย
  • ผู้บริหาร
  • พนักงาน
  • ผู้บริหาร และพนักงานนอกกลุ่มธุรกิจ
รูปแบบการฝึกอบรม
  • การบรรยาย 40 %
  • กิจกรรมกลุ่ม / ฝึกปฏิบัติ Workshop และ
    การนำเสนอผลงานกลุ่ม 40%
  • กรณีศึกษา 20 %
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
  • ผู้เข้าอบรมสามารถเรียนรู้และเข้าใจหลักการของการทำงานที่ปลอดภัยอย่างถูกต้อง
  • ผู้เข้าอบรมสามารถนำหลักการของการทำงานอย่างปลอดภัยไปประยุกต์ ใช้กับงานของตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • ผู้เข้าอบรมสามารถเรียนรู้การทำงานร่วมกับผู้อื่น อย่างปลอดภัย
  • ผู้เข้าอบรมมีจิตสำนึกเรื่องความปลอดภัยและทำงานไม่ให้เกิดอุบัติเหตุ
  • ผู้เข้าอบรมมีสำนึกการรักองค์กรมากขึ้น
ความท้าทาย : บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โปรดิ๊วส จำกัด

บริษัท ซี.พี. อินเตอร์เทรด จำกัด และบริษัทฯในกลุ่มธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ เครือเจริญโภคภัณฑ์ มุ่งมั่นที่จะส่งเสริมสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน โดยเคารพกฎหมายท้องถิ่น วัฒนธรรม ประเพณี และค่านิยมในการปฏิบัติต่อพนักงานและผู้ได้รับผลกระทบจากการดำเนินธุรกิจของบริษัท รวมถึงการหลีกเลี่ยงการมีส่วนเกี่ยวข้องในการละเมิดสิทธิมนุษยชน

ความท้าทายประการสำคัญของ บริษัท ซี.พี. อินเตอร์เทรด จำกัดและบริษัทในกลุ่มธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ เครือเจริญโภคภัณฑ์ คือความคาดหวังและข้อกำหนดของลูกค้าและผู้มีส่วนได้เสีย มีในหลากหลายมุมมองและแนวทางปฏิบัติ อีกทั้งประเด็นความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษย์ชนในห่วงโซ่อุปทานในธุรกิจข้าวและอาหารที่จะต้องมีการประเมินอย่างรอบด้าน

สนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
SDG 3
สุขภาพดี และสวัสดิภาพที่ดี
3.6
ลดจำนวนการตายและบาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางถนน
SDG 5
ความเท่าเทียมทางเพศ
5.1
ยุติการเลือกปฏิบัติต่อผู้หญิง
SDG 8
ส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจ และการสร้างงาน
8.5
ส่งเสริมการจ่ายค่าตอบแทนสำหรับงานที่มีคุณค่าเท่าเทียมกัน
8.7
ยุติความเป็นทาสสมัยใหม่ การค้ามนุษย์ และการใช้แรงงานเด็ก
8.8
ปกป้องสิทธิแรงงานและส่งเสริมสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ปลอดภัย ครอบคลุมแรงงานต่างด้าว
SDG 10
ลดความไม่เสมอภาค
10.3
สร้างโอกาสที่เท่าเทียมและไม่มีการแบ่งแยก
10.7
รับผิดชอบและบริหารจัดการนโยบายด้านการอพยพเป็นอย่างดี
ผลการดำเนินงานที่สำคัญปี 2563
ทุกหน่วยงาน
ประเมินผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชน
การปฏิบัติด้านแรงงาน : 1,427 คน
จำนวนพนักงานที่ผ่านการอบรม “จรรยาบรรณธุรกิจ”
ดำเนินการตามนโยบาย
ด้านสิทธิมนุษยชนและ
การปฏิบัติด้านแรงงาน
ในระดับกลุ่มธุรกิจฯ
เป้าหมายปี 2563
ร้อยละ 100 ของบริษัท ซี.พี. อินเตอร์เทรด จำกัด และบริษัทในกลุ่มธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ มีการตรวจสอบการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชน
ผลลัพธ์ปี 2563 เทียบเป้าหมาย
2560
2561
2562
2563
บรรลุตาม
เป้าหมาย 2563
  • จำนวนสายธุรกิจที่มีการประเมิน ความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน
    2
    7
    7
    7
    100%
  • จำนวนบริษัทที่มีการประเมิน ความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน
    2
    7
    7
    7
    100%
การบริหารจัดการด้านสิทธิมนุษยชน
แนวทางการบริหารจัดการ

บริษัท ซี.พี. อินเตอร์เทรด จำกัด และบริษัทในกลุ่มธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ ได้ดำเนินการตามนโยบายได้จัดทำด้านสิทธิมนุษยชน ของเครือเจริญโภคภัณฑ์ซึ่งสะท้อนถึงความมุ่งมั่นขององค์กรในการผลักดันและให้ความสำคัญกับนโยบายด้านสิทธิมนุษชนอย่างจริงจัง โดยมีผลบังคับใช้กับทุกหน่วยงานของบริษัทฯ นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังได้ริเริ่มพัฒนากระบวนการตรวจสอบการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชน ซึ่งประกอบด้วยการประเมินความเสี่ยงทางด้านสิทธิมนุษยชนการกำหนดแผนและ แนวทางการแก้ไขเพื่อลดความเสี่ยงรวมถึงการเฝ้าระวังและติดตามความเสี่ยงดังกล่าวบริษัทฯ ยังมุ่งมั่นผลักดันให้ภาคส่วนต่างๆ เคารพและผดุงไว้ซึ่งสิทธิมนุษยชน โดยสนับสนุนการฝึกอบรมแนวปฏิบัติและมาตรการควบคุมต่างๆ อย่างต่อเนื่อง

เพื่อให้มั่นใจว่าทุกกลุ่มธุรกิจมีการบริหารจัดการความเสี่ยงและผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนที่อยู่ในขอบเขตความรับผิดชอบของตนอย่างเต็มที่ ในขณะเดียวกันยังมุ่งเน้นการดําเนินการเชิงรุกเพื่อป้องกันผลกระทบเชิงลบที่อาจเกิดขึ้นกับการจ้างแรงงาน โดยมีนโยบายชัดเจนที่จะไม่กระทำหรือสนับสนุนให้มีการใช้แรงงานบังคับในทุกรูปแบบ รวมถึงการใช้แรงงานต่างด้าวอย่างผิดกฎหมาย

ผลการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนที่สำคัญ
ความปลอดภัยและอาชีวอนามัย
สนับสนุน SGDs

การดำเนินงาน

  • นโยบายความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อม
  • ในการทำงาน
  • กำหนดเป้าหมาย ความปลอดภัยเป็นศูนย์ (Zero Accident)
  • จัดอบรมให้ผู้บริหารและพนักงานทุกระดับเข้าใจถึงความสำคัญของการกำกับดูแลกิจการที่ดีตลอดห่วงโซ่อุปทาน
  • โครงการตรวจประเมินความปลอดภัย อาชีวอนามัยฯ ระดับกลุ่มธุรกิจและระดับเครือเจริญโภคภัณฑ์การฝึกอบรมขับขี่ปลอดภัยและการทดสอบความปลอดภัยยานยนต์อย่างต่อเนื่อง
ผู้ได้รับผลกระทบ :
พนักงาน ผู้รับเหมา คู่ค้า เกษตรกร

ผลลัพธ์

  • ผู้บริหารและพนักงานทุกระดับตระหนักและให้ความสำคัญในการร่วมมือขับเคลื่อนงานด้านความปลอดภัยฯ
  • ในปี 2563 สถิติการเกิดอุบัติเหตุถึงขั้นหยุดงาน
    • พนักงาน : 0.37 รายต่อ 1,000,000 ชั่วโมงทำงาน (1 ราย)
    • ผู้รับเหมา : 12.76 รายต่อ 1,000,000 ชั่วโมงทำงาน (5 ราย)
แรงงานบังคับ และแรงงานต่างด้าว
สนับสนุน SDGs

การดำเนินงาน

  • นโยบายสิทธิมนุษยชน การจ้างงานและบริหารแรงงาน
  • ดำเนินการตามมาตรฐานแรงงาน เพื่อให้แรงงานได้รับการคุ้มครองอย่างทัดเทียมเสมอภาค
  • การตรวจประเมินการปฏิบัติตามกฎหมายแรงงานได้รับการรับรองมาตรฐานแรงงานไทย
  • นโยบายการจัดการห่วงโซ่อุปทานอย่างรับผิดชอบ และสนับสนุนให้คู่ค้าธุรกิจหลักตรวจประเมินตนเองด้านความยั่งยืน
ผู้ได้รับผลกระทบ :
พนักงาน ผู้รับเหมา คู่ค้า เกษตรกร

ผลลัพธ์

  • พนักงานทุกคน และคู่ค้าธุรกิจหลักมีความรู้ความเข้าใจด้านความยั่งยืน และสนับสนุนให้คู่ค้ามีการตรวจประเมินตนเองด้านความยั่งยืน
  • มีการดำเนินงานดูแลแรงงานต่างด้าว โดยการปรับมาเป็นพนักงานของบริษัท 100% และดูแลสวัสดิการและความเป็นอยู่ให้ดีขึ้น รวมถึงการสร้างเสริมความรู้และความสามารถ
การเลือกปฏิบัติ
สนับสนุน SDGs

การดำเนินงาน

  • จรรยาบรรณธุรกิจ
  • การฝึกอบรมให้ความรู้กับพนักงานเกี่ยวกับเรื่องสิทธิความเท่าเทียมและแนวปฏิบัติในการอยู่ร่วมกัน
ผู้ได้รับผลกระทบ :
พนักงาน

ผลลัพธ์

  • สื่อสารให้พนักงานรับทราบจรรยาบรรณธุรกิจครบถ้วน 100% โดยผ่านระบบ e- Learning และการอบรมในห้องเรียน
  • ดำเนินการว่าจ้างผู้พิการจำนวน 20 ราย
    • บริษัท ซี.พี. อินเตอร์เทรด จำกัด 4 ราย
    • บริษัท ไดนามิคทรานสปอร์ต จำกัด 10 ราย
    • บริษัท ข้าว ซี.พี. จำกัด 6 ราย
ผลกระทบสิ่งแวดล้อม
สนับสนุน SDGs

การดำเนินงาน

  • นโยบายและเป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อม
  • ระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม
  • แผนงานสิ่งแวดล้อม
  • การสร้างความตระหนัก และองค์ความรู้ด้านสิ่งแวดล้อม
  • ติดตามตรวจสอบข้อร้องเรียนด้านสิ่งแวดล้อม
ผู้ได้รับผลกระทบ :
ชุมชนท้องถิ่น

ผลลัพธ์

  • ดำเนินการตามนโยบาย ระบบมาตรฐานและแผนงาน
  • มีแผนการดำเนินงานที่ตอบสนองข้อคิดเห็นของชุมชนได้
  • ไม่พบข้อร้องเรียนด้านสิ่งแวดล้อม
ข้อมูลและการดำเนินงานที่สำคัญด้านการดูแลบุคลากร
การดูแลพนักงาน
แนวทางการบริหารจัดการ
“บุคลากร” นับเป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนธุรกิจบริษัท ซี.พี. อินเตอร์เทรด จำกัด และบริษัทในกลุ่มธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ เครือเจริญโภคภัณฑ์ จึงให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการเรื่อง “คนดี คนเก่ง” ด้วยกระบวนการสรรหา และคัดเลือกที่มีประสิทธิภาพ โดยมีระบบการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง สนับสนุนการเรียนรู้แบบรอบด้าน เพิ่มและยกระดับความรู้ทักษะอยู่ตลอดเวลา ให้เวทีในการแสดงศักยภาพ ให้โอกาสในการเติบโตก้าวหน้าได้อย่างรวดเร็ว และสร้างความผูกพัน (Engagement) กับพนักงานในทุก ๆ ระดับรวมทั้ง การนำเทคโนโลยี IT เข้ามาใช้ในการปฏิบัติงานและพัฒนาประสิทธิภาพการทำงานของพนักงาน โดยเริ่มจากการสำรวจหลักสูตรการอบรมที่สอดคล้องกับตำแหน่งงาน และความต้องการฝึกอบรม จัดทำแผนการอบรม มีระบบบันทึกประวัติการฝึกอบรม นอกจากนี้ยังเปิดโอกาสให้พนักงาน ทุกเพศ ทุกวัย ทุกเชื้อชาติ มีโอกาสเติบโตในสายอาชีพอย่างเท่าเทียมกัน และมีโอกาสในการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
การส่งเสริมโอกาสที่เท่าเทียมความหลากหลาย
ของบุคคลและการเป็นอยู่
บริษัท ซี.พี. อินเตอร์เทรด จำกัด และบริษัทในกลุ่มธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ เครือเจริญโภคภัณฑ์ ให้ความสำคัญกับการเห็นคุณค่าและยอมรับในความแตกต่างของเพื่อนพนักงาน ไม่เลือกปฏิบัติกับพนักงานที่มีวัฒนธรรมและภูมิหลังแตกต่าง เป็นการส่งเสริมพนักงานให้มีความรับผิดชอบในหน้าที่อย่างเต็มที่ มีความพึงพอใจและขวัญกำลังใจเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน นำไปสู่การเติบโตในสายอาชีพ ทั้งหมดนี้จะช่วยขับเคลื่อนให้เกิดนวัตกรรมใหม่ๆ ส่งผลให้การตัดสินใจในองค์กรมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เป็นการเปิดโอกาสให้องค์กรแลพนักงานสามารถเติบโตร่วมกันอย่างยั่งยืน โดยมีแนวทางการปฏิบัติดังนี้
  • ใช้ภาษาหรือสำนวนที่เป็นกลาง ไม่แบ่งแยกทางเพศในการจัดทำเอกสารต่างๆ
  • ใช้กฎระเบียบและวิธีปฏิบัติในสถานที่ทำงานที่ให้ความคุ้มครองพนักงานทุกคนโดยไม่เลือกปฏิบัติ
  • ไม่กีดกันกลุ่มบุคคลที่หลากหลายในการเสนอข้อคิดเห็นในการทำงาน เพื่อให้ได้เห็นมุมมองที่มีความแตกต่างกัน
  • มีช่องทางการสื่อสารที่เปิดให้พนักงานแสดงความคิดเห็นหรือร้องเรียนเมื่อถูกเลือกปฏิบัติ
การอบรมบุคลากร
เพื่อการสร้างบุคลากรให้เป็นคนดี คนเก่ง กลุ่มธุรกิจระหว่างประเทศ เสริมสร้างรูปแบบการเรียนรู้แห่งอนาคตภายในองค์กรผ่านระบบ e-Learning สร้างวัฒนธรรม การเรียนรู้ไม่รู้จบให้พนักงานทุกคนมีโอกาสในการพัฒนาองค์ความรู้ในแง่มุมต่างๆ อย่างต่อเนื่อง รวมถึงการฝึกอบรมในรูปแบบการเรียนรู้ทั้งในห้องเรียน การศึกษาดูงานนอกสถานที่และการฝึกปฏิบัติในสถานที่จริง

ค่าใช้จ่ายฝึกอบรมพนักงาน

ค่าเฉลี่ยชั่วโมงการฝึกอบรมของพนักงาน
(ชม./คน/ปี)

2561
2562
2563
  • ชาย
    7.35
    8.24
    8.76
  • หญิง
    14.21
    7.74
    7.33
  • ทั้งหมด
    10.78
    7.99
    8.11

ค่าเฉลี่ยชั่วโมงการฝึกอบรมของพนักงาน
(แยกตามระดับพนักงาน)

ข้อมูลและการดำเนินงานที่สำคัญด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัย
การบริหารจัดการความปลอดภัย อาชีวอนามัย
และสภาพแวดล้อมในการทำงาน
แนวทางการบริหารจัดการ

บริษัท ซี.พี. อินเตอร์เทรด จำกัด และบริษัทในกลุ่มธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ เครือเจริญโภคภัณฑ์ มุ่งเน้นและให้ความสำคัญกับความปลอดภัยในการทำงาน โดยยึดมั่นต่อการดูแลใส่ใจพนักงาน ผู้รับเหมา ผู้มาติดต่อ ตลอดจนผู้มีส่วนได้เสียในการดำเนินธุรกิจตลอดจนห่วงโซ่อุปทาน จึงกำหนดนโยบายความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน เพื่อให้เป็นแนวปฏิบัติและยกระดับการดำเนินงานด้านความปลอดภัยขององค์กร โดยมีแนวทางการปฏิบัติดังนี้

  1. ปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ทั้งในระดับประเทศ ระดับท้องถิ่น ข้อกำหนดลูกค้า และหน่วยงานต่างๆ และสอดคล้องตามมาตรฐานสากล
  2. ให้ความสำคัญกับการป้องกันการบาดเจ็บ และการเจ็บป่วยจากการทำงาน ประเมินความเสี่ยงอันตรายจากการทำงาน และดำเนินการเพื่อให้มั่นใจว่าระบบการป้องกัน และแก้ไขความเสี่ยงถูกนำไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพ
  3. ให้คำปรึกษาและเน้นการมีส่วนร่วมของพนักงาน และผู้เกี่ยวข้องด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พร้อมทั้งพัฒนาให้มีความรู้ สร้างจิตสำนึก อันจะนำไปสู่การปฏิบัติจนเป็นวัฒนธรรมความปลอดภัย
  4. สนับสนุนทรัพยากรที่เกี่ยวข้องในการดำเนินระบบด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานอย่างเพียงพอและเหมาะสม
  5. ติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการดำเนินงานตามนโยบาย และแผนงานด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ปรับปรุงพัฒนาให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน
กลยุทธ์การดำเนินงานอุบัติเหตุเป็นศูนย์
ศูนย์ฝึกอบรมด้านความปลอดภัย
อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน
แนวทางการบริหารจัดการ

สิ่งที่ต้องคำนึงถึงเสมอในการปฏิบัติงานในโรงงานคือความปลอดภัย โดยเฉพาะการผลิตในภาคอุตสาหกรรม ซึ่งมีความเสี่ยงที่จะได้รับ อันตรายจากการทำงาน หากการป้องกันไม่รัดกุมเพียงพออาจก่อให้เกิดความเสียหายทั้งผู้ปฏิบัติงาน วัตถุดิบและเครื่องจักรในการผลิต อุบัติเหตุส่วนใหญ่เกิดขึ้นจากการใช้เครื่องจักรโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ และความประมาทของผู้ปฏิบัติงานเอง นอกจากนี้แล้วสภาพแวดล้อม ในการทำงาน เช่น การวางผังโรงงาน อากาศ แสงสว่าง หรือเสียงก็อาจก่อให้เกิดอันตรายได้ หากสิ่งเหล่านั้นมีความบกพร่องและผิดจาก มาตรฐานที่กำหนดไว้ ดังนั้นความปลอดภัยในการทำงานจึงเป็นหัวใจสำคัญของการทำงาน เมื่อมีความรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องแล้วนั้น โอกาสที่จะประสบอันตรายในขณะทำงานย่อมลดน้อยลง
ความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน คือ สภาพที่ปลอดภัยจากอุบัติภัยต่าง ๆ อันจะเกิดแก่ร่างกาย ชีวิต หรือทรัพย์สินในขณะที่ปฏิบัติงาน ซึ่งก็คือ สภาพการทำงานที่ถูกต้องโดยปราศจาก “อุบัติเหตุ” ในการทำงานนั่นเอง ศูนย์ฝึกอบรมนี้จึงได้ถูกออกแบบให้สร้างจิตสำนึกให้กับผู้เข้าอบรม เพื่อให้อุบัติเหตุในการปฏิบัติงานเป็นศูนย์ และลดเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างไม่คาดหมาย เพื่อลดผลกระทบ กระเทือนต่อการทำงาน ที่จะทำให้ทรัพย์สินเสียหายหรือ บุคคลได้รับบาดเจ็บ จากการเกิดอุบัติเหตุ นอกจากนี้ยังมุ่งเน้นการฝึกอบรมด้านความปลอดภัยที่เป็นไปตามกฎหมาย โดยครอบคลุมหลักสูตรประมาณ 26 หลักสูตร

กลุ่มเป้าหมาย
  • ผู้บริหาร
  • พนักงาน
  • ผู้บริหาร และพนักงานนอกกลุ่มธุรกิจ
รูปแบบการฝึกอบรม
  • การบรรยาย 40 %
  • กิจกรรมกลุ่ม / ฝึกปฏิบัติ Workshop และ
    การนำเสนอผลงานกลุ่ม 40%
  • กรณีศึกษา 20 %
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
  • ผู้เข้าอบรมสามารถเรียนรู้และเข้าใจหลักการของการทำงานที่ปลอดภัยอย่างถูกต้อง
  • ผู้เข้าอบรมสามารถนำหลักการของการทำงานอย่างปลอดภัยไปประยุกต์ ใช้กับงานของตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • ผู้เข้าอบรมสามารถเรียนรู้การทำงานร่วมกับผู้อื่น อย่างปลอดภัย
  • ผู้เข้าอบรมมีจิตสำนึกเรื่องความปลอดภัยและทำงานไม่ให้เกิดอุบัติเหตุ
  • ผู้เข้าอบรมมีสำนึกการรักองค์กรมากขึ้น
กลับไป
ด้านบน
อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ

HEART : LIVING RIGHT
สิทธิมนุษยชนและ
การปฏิบัติด้านแรงงาน