HomeLiving Together
บริษัท ซี.พี. อินเตอร์เทรด จำกัด และบริษัทในกลุ่มธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ เครือเจริญโภคภัณฑ์ ตระหนักถึงคุณค่าความสำคัญของความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม โดย ดำเนินธุรกิจภายใต้แนวคิดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติให้เกิดประโยชน์ อย่างสูงสุดควบคู่ไปกับหลักการดำเนินธุรกิจขององค์กรภายใต้แนวคิด “Green Culture” ปลูกฝังอยู่ในกิจกรรมของคนในองค์กรสื่อไปถึงตราสินค้าและผลิตภัณฑ์ขององค์กร เพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ในการเป็นบริษัทชั้นนำด้านธุรกิจข้าวครบวงจร และเกษตรอุตสาหกรรม ภายใต้กรอบวิสัยทัศน์ พันธกิจ และนโยบายความปลอดภัย อาชีวอนามัยสิ่งแวดล้อม พลังงานและประสิทธิภาพ จึงกำหนดเป้าหมายความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม
การดูแลรักษาทรัพยากรน้ำ
ความท้าทาย

ประชาชนครึ่งหนึ่งของโลก จะประสบกับภาวะขาดแคลนน้ำ หากยังคงมีการใช้น้ำที่ฟุ่มเฟื่อย ยิ่งไปกว่านั้นสภาเศรษฐกิจโลก (World Economic Forum) ระบุว่าประเด็นด้านทรัพยากรน้ำเป็นประเด็นทางสิ่งแวดล้อมที่สำคัญที่สุดประเด็นหนึ่งในปี 2560 การรักษาความมั่นคงของทรัพยากรธรรมชาติ (Natural Resource Security) โดยเฉพาะอย่างยิ่ง น้ำสะอาด เป็นประเด็นที่ภาคเอกชนจำเป็นต้องให้ความสำคัญ บริษัท ซี.พี. อินเตอร์เทรดจำกัด และบริษัทในกลุ่มธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ ให้ความสำคัญและใส่ใจกับการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ซึ่งเป็นปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญต่อการดำเนินธุรกิจ ทั้งยังเป็นการสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน เป้าหมายที่ 6 ตระหนักดีถึงความท้าทายและความสำคัญในการดูแลรักษาทรัพยากรน้ำตลอดห่วงโซ่อุปทาน โดยมุ่งมั่นบริหารจัดการทรัพยากรน้ำครอบคลุมตลอดห่วงโซ่คุณค่า ซึ่งมีความจำเป็นที่จะต้อง พัฒนากระบวนการ เทคโนโลยี นวัตกรรม และโครงสร้างพื้นฐานอย่างต่อเนื่องเพื่อตอบสนองต่อความเปลี่ยนแปลงนี้ เพื่อผลักดันให้การบริหารจัดการน้ำเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

สนับสนุนเป้าหมาย การพัฒนาที่ยั่งยืน
SDG 6
น้ำสะอาดและการสุขาภิบาล
6.3
ปรับปรุงคุณภาพน้ำ การบำบัดน้ำเสียและการใช้ซ้ำที่ปลอดภัย
6.4
เพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำและสร้างหลักประกันว่าจะมีการจัดหาน้ำ
6.5
ดำเนินการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำแบบองค์รวม
6.B
สนับสนุนการมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่นในการพัฒนาการจัดการน้ำและ
สุขอนามัย
SDG 12
การบริโภคและการผลิตอย่างมีความรับผิดชอบ
12.2
การจัดการที่ยั่งยืนและการใช้ทรัพยากรทางธรรมชาติ
SDG 14
สิ่งมีชีวิตในท้องทะเล
14.1
การลดมลพิษทางทะเล
ผลการดำเนินงานที่สำคัญปี 2563
ลดปริมาณการนำน้ำมาใช้ต่อรายได้
36.25 %
ของปริมาณการนำน้ำมาใช้ต่อรายได้ของปีฐาน 2558
ประเมินความเสี่ยงด้านน้ำ
86 %
ของพื้นที่ที่มีความเสี่ยงเรื่องน้ำสูง
เป้าหมายปี 2563
ลดปริมาณการนำน้ำมาใช้ต่อหน่วยรายได้ลงร้อยละ 10 เทียบกับปีฐาน 2558
ผลลัพธ์ปี 2563 เทียบเป้าหมาย
2560
2561
2562
2563
บรรลุตาม
เป้าหมาย2563
  • ร้อยละการลดปริมาณการนำน้ำมาใช้ต่อรายได้
    23.79
    24.66
    36.25
    100%
ข้อมูลเพื่อการจัดการทรัพยากรน้ำ
ผลการดำเนินงานปี 2563
การดูแลรักษาทรัพยากรน้ำ
แนวทางการบริหารจัดการ
กลุ่มธุรกิจการค้าระหว่างประเทศดำเนินงานด้านการดูแลรักษาทรัพยากรน้ำภายใต้ UN Global Compact และนโยบายการดูแลรักษาทรัพยากรน้ำภายใต้นโยบายความยั่งยืน ด้านสิ่งแวดล้อมเครือเจริญโภคภัณฑ์ รวมถึงตามกรอบการดำเนินงาน ด้านการดูแลทรัพยากรน้ำ เพื่อเป็นแนวทางให้บรรลุตามเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ ครอบคลุมการประเมินความเสี่ยงจากการขาดแคลนน้ำ พร้อมทั้งวางแผนการบริหารจัดการความเสี่ยงด้านน้ำทั้งขององค์กรและคู่ค้ารายสำคัญการส่งเสริมการดำเนินงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ
การดำเนินงานด้านการจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
การประเมินความเสี่ยงด้านน้ำแบบบูรณาการ
เพื่อการวางแผนบริหารจัดการน้ำตลอดห่วงโซ่อุปทาน
การดำเนินการ
บริษัท ซี.พี. อินเตอร์เทรด จำกัด และบริษัทในกลุ่มธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ ได้พัฒนากรอบการดำเนินงานเกี่ยวกับการประเมินความเสี่ยงด้านทรัพยากรน้ำเพื่อนำไปใช้กับทุกหน่วยงานในทุกกลุ่มธุรกิจฯ การจัดทำการประเมินจะคำนึงถึงปัจจัยความเสี่ยงในหลายๆ ด้าน ทั้งด้านปริมาณน้ำที่นำมาใช้ของแต่ละหน่วยงานและด้านความเครียดน้ำ (Baseline water stress) โดยใช้เครื่องมือ Aqueduct Water Risk Atlas ของ World Resources Institute (WRI) ที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล จากนั้นจะนำผลการประเมินมาจัดระดับตามความเสี่ยงในการขาดแคลนน้ำ 3 ระดับ เพื่อจัดทำแผนบริหารจัดการด้านน้ำต่อไป
กรอบการดําเนินงานในการประเมินความเสี่ยงด้านนํ้า
ความเครียด
(Baseline Water Stress)
ปริมาณน้ำที่นำมาใช้
(Water Withdrawal)
ระดับต่ำ – ปานกลาง
ปริมาณน้อย – ปานกลางปริมาณมาก
ระดับต่ำ – ปานกลาง
ปริมาณน้อยปริมาณปานกลางปริมาณมาก
จากการประเมินความเสี่ยงพบว่า 86% ของหน่วยงานทั้งหมดในกลุ่มธุรกิจการค้าระหว่างประเทศอยู่ในระดับพื้นที่ที่เสี่ยงต่อการขาดแคลนน้ำไปจนถึงระดับขาดแคลนน้ำสูงมาก
แผนบริหารจัดการด้านน้ำ
ระดับ 1: ความเสี่ยงตํ่า
  • ติดตามปริมาณนํ้า ที่นำมาใช้ผ่านระบบการรายงานผลอย่างต่อเนื่อง
ระดับ 2: ความเสี่ยงปานกลาง
  • ประเมินความเสี่ยงระดับพื้นที่โดยใช้
    Local Water Tool
  • เพิ่มประสิทธิภาพการใช้นํ้าตาม
    หลักการ 5Rs
ระดับ 3: ความเสี่ยงสูง
  • ประเมินความเสี่ยงระดับพื้นที่โดยใช้
    Local Water Tool
  • เพิ่มประสิทธิภาพการใช้นํ้าตาม
    หลักการ 5Rs
  • ติดตามปริมาณนํ้าที่นำมาใช้ผ่านระบบการรายงานผลอย่างต่อเนื่อง
  • ประเมินความเสี่ยงด้านนํ้าให้กับคู่ค้า รายสําคัญ

บริษัทในกลุ่มธุรกิจแบ่งตามระดับ
การประเมินความเสี่ยงด้านน้ำ

ตัวอย่างแผนการจัดการด้านน้ำ
  • โครงการลดการใช้น้ำและการส่งเสริมการดำเนินงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำแก่เกษตรกร
  • โครงการรักษ์น้ำรักสิ่งแวดล้อม
  • การส่งเสริมการเข้าถึงแหล่งน้ำของชุมชน
  • การเสริมสร้างจิตสำนึกอนุรักษ์การใช้น้ำให้แก่พนักงาน
  • การสนับสนุนการประเมินการใช้น้ำตลอดวัฏจักรชีวิตผลิตภัณฑ์
ส่งเสริมภาคการเกษตร
สร้างความร่วมมือกับพนักงาน
ความท้าทาย

ประชาชนครึ่งหนึ่งของโลก จะประสบกับภาวะขาดแคลนน้ำ หากยังคงมีการใช้น้ำที่ฟุ่มเฟื่อย ยิ่งไปกว่านั้นสภาเศรษฐกิจโลก (World Economic Forum) ระบุว่าประเด็นด้านทรัพยากรน้ำเป็นประเด็นทางสิ่งแวดล้อมที่สำคัญที่สุดประเด็นหนึ่งในปี 2560 การรักษาความมั่นคงของทรัพยากรธรรมชาติ (Natural Resource Security) โดยเฉพาะอย่างยิ่ง น้ำสะอาด เป็นประเด็นที่ภาคเอกชนจำเป็นต้องให้ความสำคัญ บริษัท ซี.พี. อินเตอร์เทรดจำกัด และบริษัทในกลุ่มธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ ให้ความสำคัญและใส่ใจกับการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ซึ่งเป็นปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญต่อการดำเนินธุรกิจ ทั้งยังเป็นการสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน เป้าหมายที่ 6 ตระหนักดีถึงความท้าทายและความสำคัญในการดูแลรักษาทรัพยากรน้ำตลอดห่วงโซ่อุปทาน โดยมุ่งมั่นบริหารจัดการทรัพยากรน้ำครอบคลุมตลอดห่วงโซ่คุณค่า ซึ่งมีความจำเป็นที่จะต้อง พัฒนากระบวนการ เทคโนโลยี นวัตกรรม และโครงสร้างพื้นฐานอย่างต่อเนื่องเพื่อตอบสนองต่อความเปลี่ยนแปลงนี้ เพื่อผลักดันให้การบริหารจัดการน้ำเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

สนับสนุนเป้าหมาย การพัฒนาที่ยั่งยืน
SDG 6
น้ำสะอาดและการสุขาภิบาล
6.3
ปรับปรุงคุณภาพน้ำ การบำบัดน้ำเสียและการใช้ซ้ำที่ปลอดภัย
6.4
เพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำและสร้างหลักประกันว่าจะมีการจัดหาน้ำ
6.5
ดำเนินการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำแบบองค์รวม
6.B
สนับสนุนการมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่นในการพัฒนาการจัดการน้ำและ
สุขอนามัย
SDG 12
การบริโภคและการผลิตอย่างมีความรับผิดชอบ
12.2
การจัดการที่ยั่งยืนและการใช้ทรัพยากรทางธรรมชาติ
SDG 14
สิ่งมีชีวิตในท้องทะเล
14.1
การลดมลพิษทางทะเล
ผลการดำเนินงานที่สำคัญปี 2563
ลดปริมาณการนำน้ำมาใช้ต่อรายได้
36.25 %
ของปริมาณการนำน้ำมาใช้ต่อรายได้ของปีฐาน 2558
ประเมินความเสี่ยงด้านน้ำ
86 %
ของพื้นที่ที่มีความเสี่ยงเรื่องน้ำสูง
เป้าหมายปี 2563
ลดปริมาณการนำน้ำมาใช้ต่อหน่วยรายได้ลงร้อยละ 10 เทียบกับปีฐาน 2558
ผลลัพธ์ปี 2563 เทียบเป้าหมาย
2560
2561
2562
2563
บรรลุตาม
เป้าหมาย2563
  • ร้อยละการลดปริมาณการนำน้ำมาใช้ต่อรายได้
    23.79
    24.66
    36.25
    100%
ข้อมูลเพื่อการจัดการทรัพยากรน้ำ
ผลการดำเนินงานปี 2563
การดูแลรักษาทรัพยากรน้ำ
แนวทางการบริหารจัดการ
กลุ่มธุรกิจการค้าระหว่างประเทศดำเนินงานด้านการดูแลรักษาทรัพยากรน้ำภายใต้ UN Global Compact และนโยบายการดูแลรักษาทรัพยากรน้ำภายใต้นโยบายความยั่งยืน ด้านสิ่งแวดล้อมเครือเจริญโภคภัณฑ์ รวมถึงตามกรอบการดำเนินงาน ด้านการดูแลทรัพยากรน้ำ เพื่อเป็นแนวทางให้บรรลุตามเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ ครอบคลุมการประเมินความเสี่ยงจากการขาดแคลนน้ำ พร้อมทั้งวางแผนการบริหารจัดการความเสี่ยงด้านน้ำทั้งขององค์กรและคู่ค้ารายสำคัญการส่งเสริมการดำเนินงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ
การดำเนินงานด้านการจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
การประเมินความเสี่ยงด้านน้ำแบบบูรณาการ
เพื่อการวางแผนบริหารจัดการน้ำตลอดห่วงโซ่อุปทาน
การดำเนินการ
บริษัท ซี.พี. อินเตอร์เทรด จำกัด และบริษัทในกลุ่มธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ ได้พัฒนากรอบการดำเนินงานเกี่ยวกับการประเมินความเสี่ยงด้านทรัพยากรน้ำเพื่อนำไปใช้กับทุกหน่วยงานในทุกกลุ่มธุรกิจฯ การจัดทำการประเมินจะคำนึงถึงปัจจัยความเสี่ยงในหลายๆ ด้าน ทั้งด้านปริมาณน้ำที่นำมาใช้ของแต่ละหน่วยงานและด้านความเครียดน้ำ (Baseline water stress) โดยใช้เครื่องมือ Aqueduct Water Risk Atlas ของ World Resources Institute (WRI) ที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล จากนั้นจะนำผลการประเมินมาจัดระดับตามความเสี่ยงในการขาดแคลนน้ำ 3 ระดับ เพื่อจัดทำแผนบริหารจัดการด้านน้ำต่อไป
กรอบการดําเนินงานในการประเมินความเสี่ยงด้านนํ้า
ความเครียด
(Baseline Water Stress)
ปริมาณน้ำที่นำมาใช้
(Water Withdrawal)
ระดับต่ำ – ปานกลาง
ปริมาณน้อย – ปานกลางปริมาณมาก
ระดับต่ำ – ปานกลาง
ปริมาณน้อยปริมาณปานกลางปริมาณมาก
จากการประเมินความเสี่ยงพบว่า 86% ของหน่วยงานทั้งหมดในกลุ่มธุรกิจการค้าระหว่างประเทศอยู่ในระดับพื้นที่ที่เสี่ยงต่อการขาดแคลนน้ำไปจนถึงระดับขาดแคลนน้ำสูงมาก
แผนบริหารจัดการด้านน้ำ
ระดับ 1: ความเสี่ยงตํ่า
  • ติดตามปริมาณนํ้า ที่นำมาใช้ผ่านระบบการรายงานผลอย่างต่อเนื่อง
ระดับ 2: ความเสี่ยงปานกลาง
  • ประเมินความเสี่ยงระดับพื้นที่โดยใช้
    Local Water Tool
  • เพิ่มประสิทธิภาพการใช้นํ้าตาม
    หลักการ 5Rs
ระดับ 3: ความเสี่ยงสูง
  • ประเมินความเสี่ยงระดับพื้นที่โดยใช้
    Local Water Tool
  • เพิ่มประสิทธิภาพการใช้นํ้าตาม
    หลักการ 5Rs
  • ติดตามปริมาณนํ้าที่นำมาใช้ผ่านระบบการรายงานผลอย่างต่อเนื่อง
  • ประเมินความเสี่ยงด้านนํ้าให้กับคู่ค้า รายสําคัญ

บริษัทในกลุ่มธุรกิจแบ่งตามระดับ
การประเมินความเสี่ยงด้านน้ำ

ตัวอย่างแผนการจัดการด้านน้ำ
  • โครงการลดการใช้น้ำและการส่งเสริมการดำเนินงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำแก่เกษตรกร
  • โครงการรักษ์น้ำรักสิ่งแวดล้อม
  • การส่งเสริมการเข้าถึงแหล่งน้ำของชุมชน
  • การเสริมสร้างจิตสำนึกอนุรักษ์การใช้น้ำให้แก่พนักงาน
  • การสนับสนุนการประเมินการใช้น้ำตลอดวัฏจักรชีวิตผลิตภัณฑ์
ส่งเสริมภาคการเกษตร
สร้างความร่วมมือกับพนักงาน
กลับไป
ด้านบน
อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ

HOME : LIVING TOGETHER
การดูแลรักษา
ทรัพยากรน้ำ