HeartLiving Right
บริษัท ซี.พี. อินเตอร์เทรด จำกัด และบริษัทในกลุ่มธุรกิจข้าว ขนส่งและบริการ เครือเจริญโภคภัณฑ์ ตระหนักถึงคุณค่าความสำคัญของความยั่งยืนด้านเศรษฐกิจ โดย ดำเนินธุรกิจภายใต้แนวคิด การเติบโตขององค์กรในมุมมองเศรษฐกิจที่มีเสถียรภาพอย่างต่อเนื่องในระยะยาว มีกระบวนการวางแผน มีเป้าหมายที่ต้องการจะบรรลุที่ชัดเจน กระบวนการทำงานที่มีประสิทธิภาพและรองรับความเสี่ยงที่เกิดขึ้น พัฒนาสินค้านวัตกรรมใหม่ๆ ที่นำไปสู่ความยั่งยืน ได้รับการยอมรับจากลูกค้า ปลูกฝังอยู่ในกิจกรรมของคนในองค์กรสื่อไปถึงตราสินค้าและผลิตภัณฑ์ขององค์กร เพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ในการเป็นบริษัทชั้นนำด้านธุรกิจข้าวครบวงจร และเกษตรอุตสาหกรรม ภายใต้กรอบวิสัยทัศน์ พันธกิจ และนโยบายฯ จึงกำหนดเป้าหมายความยั่งยืนด้านเศรษฐกิจ
การกำกับดูแลกิจการ
ความท้าทาย : บริษัท ซี.พี. อินเตอร์เทรด จำกัด

บริษัทฯ มีความเชื่อมั่นว่าการกำกับดูแลกิจการที่ดี เป็นปัจจัยสำคัญต่อ บริษัท ซี.พี. อินเตอร์เทรด จำกัด และบริษัทในกลุ่มธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ เครือเจริญโภคภัณฑ์ ในการยกระดับความสามารถในการแข่งขันและนำบริษัทฯ ไปสู่ความเจริญเติบโตอย่างยั่งยืน นอกจากนั้นยังเป็นการเพิ่มมูลค่าให้แก่คู่ค้าและผู้มีส่วนได้เสียในระยะยาว การกำกับดูแลกิจการที่ดีนั้น แสดงให้เห็นถึงการมีระบบ การบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพโปร่งใส ตรวจสอบได้ ซึ่งช่วยสร้างความไว้วางใจให้กับผู้มีส่วนได้เสียในห่วงโซ่คุณค่า ทั้งหมดนี้ต้องอาศัยความมุ่งมั่นและความร่วมมือ จากพนักงานทุกระดับโดยมีคณะกรรมการและผู้บริหารระดับสูงให้การส่งเสริมสนับสนุนเพื่อให้ การกำกับดูแลกิจการเกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม

สนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
SDG 12
การบริโภค และการผลิตอย่างมีความรับผิดชอบ
12.6
สนับสนุนให้บริษัทรับแนวปฏิบัติที่ยั่งยืนไปใช้ และผนวกข้อมูลด้านความยั่งยืนลงในวงจรการรายงาน
SDG 16
ความสงบสุข ความยุติธรรม และสถาบันที่เข้มแข็ง
16.5
ลดการทุจริตในตำแหน่งหน้าที่และการรับสินบนทุกรูปแบบ
16.7
สร้างหลักประกันว่าจะมีกระบวนการตัดสินใจที่มีความรับผิดชอบ
ครอบคลุม มีส่วนร่วม และมีความเป็นตัวแทนที่ดี ในทุกระดับการตัดสินใจ
16.B
ส่งเสริมและบังคับใช้กฎหมายและนโยบายที่ไม่เลือกปฏิบัติเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
ผลการดำเนินงานที่สำคัญปี 2565
การกำกับดูแลกิจการ
ในกลุ่มธุรกิจฯ มีการเปิดเผย
ผลการดำเนินงานด้านธรรมาภิบาล
และ ความยั่งยืนผ่านการรายงานของ
เครือเจริญโภคภัณฑ์
การปฏิบัติตามกฎระเบียบข้อบังคับ
ต่อต้านทุจริตและคอร์รัปชัน
ทุกบริษัทในกลุ่มธุรกิจ
เป้าหมายปี 2573
ร้อยละ 100 ของบริษัท ซี.พี. อินเตอร์เทรด จำกัด และบริษัทในกลุ่มธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ มีการเปิดเผยผลการดำเนินงานด้านธรรมาภิบาลและความยั่งยืนผ่านรายงานของเครือฯ
ผลลัพธ์ปี 2565 เทียบเป้าหมาย
2560
2561
2562
2563
2564
2565
บรรลุตาม
เป้าหมาย 2565
  • จำนวนสายธุรกิจ
    2
    7
    7
    7
    7
    7
    100%
  • จำนวนบริษัท
    2
    7
    7
    7
    7
    7
    100%
การกำกับดูแลกิจการ
บริษัท ซี.พี. อินเตอร์เทรด จำกัด และบริษัทในกลุ่มธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ เครือเจริญโภคภัณฑ์ มีความเชื่อมั่นว่าการกำกับดูแลกิจการที่ดี การบริหารความเสี่ยง และการปฏิบัติตามข้อบังคับและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง (Governance, Risk Management and Compliance – GRC) เป็นรากฐานสำคัญที่จะนำพาให้องค์กรประสบความสำเร็จได้อย่างยั่งยืน และสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริหารและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยมีการจัดโครงสร้างการกำกับดูแลองค์กร การสื่อสารนโยบายสู่การปฏิบัติ การติดตามรายงานผลการดำเนินงาน และประเด็นความเสี่ยงที่มีประสิทธิผล มีการเชื่อมโยงข้อมูลของทั้งองค์กรอย่างเป็นระบบ โดยผู้บริหารและคณะกรรมการเป็นผู้ขับเคลื่อนที่สำคัญที่ทำให้เกิดการกำกับองค์กรที่ดี และเป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่พนักงาน ซึ่งแนวทางการปฏิบัติจะสอดคล้องกับค่านิยมองค์กรในเรื่องคุณธรรมและความซื่อสัตย์ ทางบริษัทฯจึงได้มีการประกาศใช้นโยบายและแนวปฏิบัติเพื่อสร้างความตระหนักให้แก่ ทุกคนในองค์กรยึดถือเป็นแนวปฏิบัติเดียวกันเพื่อให้เกิดเป็นวัฒนธรรมองค์กร โดยมีโมเดลการกำกับดูแลโดยใช้การบริการจัดการ
แบบ GRC
จรรยาบรรณทางธุรกิจ
แนวทางการบริหารจัดการ

จรรยาบรรณธุรกิจ คือ มาตรฐานการประพฤติปฏิบัติที่ดี กำหนดขึ้นเพื่อให้ทุกท่าน ซึ่งรวมถึงกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานยึดถือปฏิบัติที่จะป้องกัน การประพฤติปฏิบัติในทางที่ผิดหรือทำให้เสื่อมเสียและสะท้อนให้เห็นถึงความต้องการของบริษัท ซี.พี. อินเตอร์เทรด จำกัด และบริษัทในกลุ่มธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ เครือเจริญโภคภัณฑ์ที่ต้องการให้กรรมการและบุคลากรปฏิบัติตามกฎหมายและกฎข้อบังคับตามนโยบาย

หน่วยงานธรรมาภิบาล ของกลุ่มธุรกิจฯ มีหน้าที่รับผิดชอบผลของการส่งเสริม บังคับใช้ พร้อมทั้งติดตาม ดูแล และทบทวนจรรยาบรรณธุรกิจให้ทันต่อเหตุการณ์ อย่างไรก็ตามเป็นความรับผิดชอบของกรรมการ และบุคลากรทุกคนที่จะร่วมกันทำ ให้จรรยาบรรณธุรกิจไม่เป็นเพียงเอกสารฉบับหนึ่งเท่านั้น แต่ต้องมีการนำไปปฏิบัติกับการทำงานในชีวิตประจำวัน

ในปี 2561 ได้มีการประกาศใช้จรรยาบรรณธุรกิจ ซึ่งครอบคลุมนโยบายและแนวปฏิบัติที่สำคัญ 4 ด้าน ได้แก่ คุณธรรม คุณภาพ บุคลากร สินทรัพย์ ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงมาตรฐานในการปฏิบัติให้เป็นไปตามค่านิยมองค์กรเรื่องคุณธรรมและความซื่อสัตย์ นอกจากนี้จรรยาบรรณธุรกิจยังสร้างความตะหนักรู้ให้กับพนักงานทุกคนในองค์กรเข้าใจถึงค่านิยมที่ดี นำไปสู่การปฏิบัติที่โปร่งใสทั่วทั้งบริษัทฯ

นโยบายและแนวปฏิบัติตามจรรยาบรรณธุรกิจ
การบริหารจัดการความเสี่ยง
แนวทางการบริหารจัดการ

กลุ่มธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ ยึดถือพันธกิจที่จะปฏิบัติตามหลักบรรษัทภิบาล และส่วนหนึ่งของหลักบรรษัทภิบาล คือ การนำวิธีการบริหารจัดการความเสี่ยงองค์กร มาใช้ในกลุ่มธุรกิจ การค้าระหว่างประเทศ ทั้งนี้เพื่อ :

  1. ให้กลุ่มธุรกิจการค้าระหว่างประเทศบรรลุเป้าหมาย ที่ตั้งไว้
  2. เพิ่มความตระหนักถึงความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจ
  3. ให้มั่นใจว่าคณะกรรมการบริหารของบริษัทมีหน้าที่วางแผนยุทธศาสตร์ของบริษัทพร้อมทั้งสร้างคุณค่าและควบคุมดูแลผลประกอบการขององค์กร
  4. ส่งเสริมความรับผิดชอบขององค์กรต่อสังคม
  5. ปกป้องผลประโยชน์ของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
  6. ปกป้องภาพลักษณ์และชื่อเสี่ยงกลุ่มธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ
  7. ให้มั่นใจว่ากระบวนการและควบคุมการจัดการมีความเหมาะสมและเพียงพอ
  8. พัฒนาและปกป้ององค์กรอย่างต่อเนื่องจากสิ่งคุกคามที่อาจเกิดขึ้น
แนวทางการบริหารจัดการ

คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง มีการรวบรวมประเด็นความเสี่ยงจากแต่ละหน่วยงานในกลุ่มธุรกิจ และจากผู้บริหาร จากนั้นดำเนินการจัดทำมาตรการจัดการบรรเทาความเสี่ยง และควบคุมความเสี่ยง รายงานและเฝ้าติดตามผลการบริหารความเสี่ยงจากทุกหน่วยงาน ตลอดจนสื่อสารถึงกระบวนการในทุกขั้นตอนแก่ผู้บริหารและพนักงานรับทราบ และทบทวนความเสี่ยงปีละ 2 ครั้ง รวมถึงมีการอบรมเพื่อสร้างวัฒนธรรมในการบริหารความเสี่ยงองค์กรให้กับพนักงานอย่างต่อเนื่อง

นอกจากนี้กลุ่มธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ ได้วางแผนเชิงรุกสำหรับสภาวะวิกฤตอันอาจเกิดขึ้นได้และป้องกัน
ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการหยุดชะงักทางธุรกิจ ผ่านการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ (Business Continuity Plan: BCP) ซึ่งสอดคล้องต่อนโยบายความต่อเนื่องทางธุรกิจ

ตารางแสดงภาพรวมความเสี่ยงองค์กรของปี 2565
Risk Level
Critical
High
Moderate*
Low*
*Acceptable level
  1. กระแสเงินสด
  2. การควบคุมฝุ่น
  3. มูลค่าวัตถุดิบ
  4. การปฏิบัติตามกฎหมาย
  5. ระบบมาตรฐานด้านสังคม
  6. ลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก
  7. แรงงาน
  8. การจัดการสารเคมีตกค้าง
  9. ไฟไหม้โรงงาน
  10. การโจมตีทางไซเบอร์
  11. การไม่ปฏิบัติตามข้อผูกพันในสัญญา
  12. การละเมิดสิทธิมนุษยชน
  13. ความเสียหายต่อแบรนด์
การกำกับการปฏิบัติตามกฏเกณฑ์
แนวทางการบริหารจัดการ
ปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ทั้งในด้านสังคม เศรษฐกิจ เทคโนโลยี สิ่งแวดล้อม และพฤติกรรมผู้บริโภค ส่งผลให้บริษัท ซี.พี. อินเตอร์เทรด จำกัด และบริษัทในกลุ่มธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ ต้องปรับแนวทางในการดำเนินธุรกิจ เพื่อสร้างโอกาสและการขยายธุรกิจให้เติบโตสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว อย่างเหมาะสม บริษัทฯ มุ่งมั่นให้มีการดำเนินการตามกรอบนโยบายและแนวทางปฏิบัติที่กำหนดไว้ได้อย่างมีประสิทธิผล ทั้งนี้มีการดำเนินการตามเครือฯ โดยทำการประเมินองค์กรตามกรอบของ UN Global Compact ผ่านช่องทางออนไลน์ อีกทั้งบริษัทฯ ได้จัดตั้งหน่วยงานตรวจสอบการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ (Compliance Audit) เพื่อดำเนินการตรวจสอบแบบข้ามสายงาน (Cross Functional Audit) รวมทั้งได้ร่วมมือกับ เครือเจริญโภคภัณฑ์จัดอบรมให้กับระดับผู้บริหาร ซึ่งเป็นการแสดงถึงการสร้างความตระหนักรู้ ในการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ด้านต่างๆ อาทิ ด้านสิทธิมนุษยชน การปฏิบัติด้านแรงงาน การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการต่อต้านคอร์รัปชัน รวมถึงจรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจอย่างมีคุณธรรมและโปร่งใส
บริษัท ซี.พี. อินเตอร์เทรด จำกัด ได้กำหนดเป้าหมายเรื่องการกำกับการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ที่จะขับเคลื่อนบริษัทให้มีการบริหาร จัดการและการดำเนินธุรกิจตามนโยบายเครือเจริญโภคภัณฑ์ เป็นไปตามกฎหมาย กฎระเบียบ กฎเกณฑ์ทั้งภายในและภายนอกองค์กร รวมไปถึงจรรยาบรรณธุรกิจของเครือฯ กฎระเบียบภายใน เงื่อนไขใบอนุญาตประกอบธุรกิจ สัญญา มาตรฐานและแนวปฏิบัติที่ดี ซึ่งเครือฯ ยอมรับปฏิบัติตาม (รวมเรียกว่า‘กฎเกณฑ์’) อันจะส่งผลให้บริษัทฯ ประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้ ได้รับความเชื่อถือและความไว้วางใจจากผู้มีส่วนได้เสียต่างๆ โดยมีแนวปฏิบัติตามนโยบายที่กรรมการผู้บริหาร พนักงาน และผู้ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องทุกคนของเครือฯ ต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด
รูปแบบกฎเกณฑ์ประเภทต่างๆ
การต่อต้านคอร์รัปชัน
แนวทางการบริหารจัดการ
บริษัท ซี.พี. อินเตอร์เทรด จำกัด และบริษัทในกลุ่มธุรกิจข้าว ขนส่งและบริการ มีความมุ่งมั่นในการดำเนินธุรกิจอย่างโปร่งใสและต่อต้านการทุจริตทุกรูปแบบในการทำงาน ปฏิบัติตามจรรยาบรรณธุรกิจ ทั้งนี้กรรมการบริษัท ผู้บริหารและพนักงาน จะไม่กระทำหรือยอมรับการคอร์รัปชันทุกรูปแบบไม่ว่ากรณีใดๆ โดยบริษัทฯ ได้กำหนดแนวปฏิบัติ มาตรการดำเนินการ และบทบาทหน้าที่ผู้รับผิดชอบ ตลอดจนจัดให้มีการทวนสอบ และทบทวนการปฏิบัติตามนโยบายการต่อต้านคอร์รัปชันนี้อย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจ ระเบียบ ข้อบังคับ และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นหนึ่งในค่านิยมองค์กรของบริษัท นอกจากนี้เพื่อเป็นการป้องกันการทุจริตอย่างครบถ้วน บริษัทได้มีการประกาศใช้จรรยาบรรณสำหรับคู่ค้าทางธุรกิจ ซึ่งรวมถึงคู่ค้า พันธมิตร บริษัทจัดซื้อจัดจ้าง ผู้จัดจำหน่ายและผู้รับเหมาช่วง ให้มีการปฏิบัติตามแนวทางปฏิบัติการต่อต้านทุจริตคอร์รัปชันอย่างเคร่งครัดและกำหนดให้มีการสื่อสารและระบุเป็นเงื่อนไขของสัญญาธุรกิจ
การดำเนินการ
1
การดำเนินการตามนโยบายนี้ให้ใช้แนวปฏิบัติ ตามที่บริษัทฯ ได้กำหนดไว้ในคู่มือการกำกับดูแลกิจการและจรรยาบรรณรวมทั้งระเบียบข้อบังคับ และคู่มือการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องของบริษัทฯ
2
ในการดำเนินการในเรื่องที่มีความเสี่ยงสูงกับการเกิดคอร์รัปชัน บริษัทฯ กำหนดให้กรรมการบริษัท ผู้บริหารและพนักงาน
จะต้องปฏิบัติหน้าที่ในเรื่องต่อไปนี้ด้วยความระมัดระวัง ได้แก่
• ความเป็นกลางและการช่วยเหลือทางการเมือง
• การบริจาคเพื่อการกุศล และเงินสนับสนุน
• การให้ของขวัญ การเลี้ยงรับรองและค่าใช้จ่ายอื่น
ในปี 2565 บริษัท ซี.พี. อินเตอร์เทรด จำกัด และบริษัทในกลุ่มธุรกิจข้าว ขนส่งและบริการ ได้เข้าร่วมการประกาศจุดยืนในการดำเนินธุรกิจ ภายใต้ความโปร่งใสและต่อต้านการทุจริตทุกรูปแบบ ในวันต่อต้านคอร์รัปชันแห่งชาติ ซึ่งจัดโดยองค์กร ต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) ร่วมกับภาคีเครือข่ายของภาครัฐและเอกชน ภาคประชาสังคม และสื่อมวลชนภายใต้แนวคิด รวมพลังอาสาสู้โกงนอกจากนั้น บริษัทในเครือฯ ได้จัดกิจกรรมให้ผู้บริหารระดับสูงเน้นย้ำถึงความสำคัญของการปฏิบัติตามนโยบายการต่อต้านคอร์รัปชัน เผยแพร่คลิปวิดีโอประชาสัมพันธ์แนวทางการปฏิบัติที่ดีและกรณีศึกษา มีการประชาสัมพันธ์ ติดป้ายประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับนโยบายและจรรยาบรรณธุรกิจ
กระบวนการแจ้งเบาะแส และรับเรื่องร้องเรียน

บริษัท ซี.พี. อินเตอร์เทรด จำกัด และกลุ่มธุรกิจข้าว ขนส่งและบริการ เห็นความสำคัญของการจัดให้มีช่องทางการแจ้งเบาะแสและการรับเรื่องร้องเรียนที่มีประสิทธิภาพ เพื่อรับฟังความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ หรือข้อร้องเรียนต่าง ๆ จากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่ม อันได้แก่ บุคลากรของกลุ่มธุรกิจฯ เช่น ผู้บริหาร พนักงานทุกระดับ และบุคคลภายนอก เช่น
คู่ค้าธุรกิจ พันธมิตรทางธุรกิจ ที่ได้รับผลกระทบหรือมีความเสี่ยงที่จะได้รับผลกระทบจากการดำเนินธุรกิจของกลุ่มธุรกิจฯ หรือจากการกระทำผิดกฎหมายหรือจรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจ รวมถึงพฤติกรรมที่เข้าข่ายการกระทำผิด การทุจริต การคอร์รัปชัน รวมถึงการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบของบุคลากรของกลุ่มธุรกิจฯ และเพื่อเป็นการป้องกันความเสี่ยงและความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ตลอดจนเป็นเครื่องมือในการเฝ้าระวัง ติดตามการดำเนินธุรกิจ และเป็นฐานข้อมูลสำหรับใช้ปรับปรุงการบริหารงานและการให้บริการของกลุ่มธุรกิจฯ ให้มีความรัดกุมและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

บริษัทฯ จึงกำหนดให้มีช่องทางการแจ้งเบาะแสและกระบวนการรับเรื่องร้องเรียนที่ชัดเจน สุจริต โปร่งใส และเป็นไปตามมาตรฐานสากล จึงได้ออกนโยบายและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการแจ้งเบาะแสและการรับเรื่องร้องเรียน (Whistle Blowing Policy and Guideline) โดยมีรายละเอียดดังนี้ขอบเขตของการแจ้งเบาะแส

ขอบเขตของการแจ้งเบาะแส
ระบบการรับข้อร้องเรียน และแจ้งเบาะแส

ข้อมูลเกี่ยวกับนโยบายและแนวปฏิบัติ หรือขั้นตอนการแจ้งเบาะแสและการร้องเรียน สามารถหาข้อมูลได้จากจรรยาบรรณธุรกิจของกลุ่มธุรกิจฯ ใน Intranet หรือระบบ e-Learning ของกลุ่มธุรกิจฯ หรือ Application “CPTGCROP Connect”

ข้อร้องเรียนด้านจริยธรรม
และการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์
ความท้าทาย : บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โปรดิ๊วสจำกัด

บริษัทฯ มีความเชื่อมั่นว่าการกำกับดูแลกิจการที่ดี เป็นปัจจัยสำคัญต่อ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โปรดิ๊วสจำกัด และบริษัทในกลุ่มธุรกิจพืชครบวงจร เครือเจริญโภคภัณฑ์ ในการยกระดับความสามารถในการแข่งขันและนำบริษัทฯ ไปสู่ความเจริญเติบโตอย่างยั่งยืน นอกจากนั้นยังเป็นการเพิ่มมูลค่าให้แก่คู่ค้าและผู้มีส่วนได้เสียในระยะยาว การกำกับดูแลกิจการที่ดีนั้น แสดงให้เห็นถึงการมีระบบ การบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพโปร่งใส ตรวจสอบได้ ซึ่งช่วยสร้างความไว้วางใจให้กับผู้มีส่วนได้เสียในห่วงโซ่คุณค่า ทั้งหมดนี้ต้องอาศัยความมุ่งมั่นและความร่วมมือ จากพนักงานทุกระดับโดยมีคณะกรรมการและผู้บริหารระดับสูงให้การส่งเสริมสนับสนุนเพื่อให้ การกำกับดูแลกิจการเกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม

สนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
SDG 12
การบริโภค และการผลิตอย่างมีความรับผิดชอบ
12.6
สนับสนุนให้บริษัทรับแนวปฏิบัติที่ยั่งยืนไปใช้ และผนวกข้อมูลด้านความยั่งยืนลงในวงจรการรายงาน
SDG 16
ความสงบสุข ความยุติธรรม และสถาบันที่เข้มแข็ง
16.5
ลดการทุจริตในตำแหน่งหน้าที่และการรับสินบนทุกรูปแบบ
16.7
สร้างหลักประกันว่าจะมีกระบวนการตัดสินใจที่มีความรับผิดชอบ
ครอบคลุม มีส่วนร่วม และมีความเป็นตัวแทนที่ดี ในทุกระดับการตัดสินใจ
16.B
ส่งเสริมและบังคับใช้กฎหมายและนโยบายที่ไม่เลือกปฏิบัติเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
ผลการดำเนินงานที่สำคัญปี 2565
การกำกับดูแลกิจการ
ในกลุ่มธุรกิจฯ มีการเปิดเผย
ผลการดำเนินงานด้านธรรมาภิบาล
และ ความยั่งยืนผ่านการรายงานของ
เครือเจริญโภคภัณฑ์
การปฏิบัติตามกฎระเบียบข้อบังคับ
ต่อต้านทุจริตและคอร์รัปชัน
ทุกบริษัทในกลุ่มธุรกิจ
เป้าหมายปี 2573
ร้อยละ 100 ของบริษัท เจริญโภคภัณฑ์โปรดิ๊วสจำกัด และบริษัทในกลุ่มธุรกิจพืชครบวงจร มีการเปิดเผยผลการดำเนินงานด้านธรรมาภิบาลและความยั่งยืนผ่านรายงานของเครือฯ
ผลลัพธ์ปี 2565 เทียบเป้าหมาย
2560
2561
2562
2563
บรรลุตาม
เป้าหมาย 2563
  • จำนวนสายธุรกิจ
    2
    7
    7
    7
    100%
  • จำนวนบริษัท
    2
    7
    7
    7
    100%
การกำกับดูแลกิจการ
บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โปรดิ๊วสจำกัด และบริษัทในกลุ่มธุรกิจพืชครบวงจร เครือเจริญโภคภัณฑ์ มีความเชื่อมั่นว่าการกำกับดูแลกิจการที่ดี การบริหารความเสี่ยง และการปฏิบัติตามข้อบังคับและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง (Governance, Risk Management and Compliance – GRC) เป็นรากฐานสำคัญที่จะนำพาให้องค์กรประสบความสำเร็จได้อย่างยั่งยืน และสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริหารและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยมีการจัดโครงสร้างการกำกับดูแลองค์กร การสื่อสารนโยบายสู่การปฏิบัติ การติดตามรายงานผลการดำเนินงาน และประเด็นความเสี่ยงที่มีประสิทธิผล มีการเชื่อมโยงข้อมูลของทั้งองค์กรอย่างเป็นระบบ โดยผู้บริหารและคณะกรรมการเป็นผู้ขับเคลื่อนที่สำคัญที่ทำให้เกิดการกำกับองค์กรที่ดี และเป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่พนักงาน ซึ่งแนวทางการปฏิบัติจะสอดคล้องกับค่านิยมองค์กรในเรื่องคุณธรรมและความซื่อสัตย์ ทางบริษัทฯจึงได้มีการประกาศใช้นโยบายและแนวปฏิบัติเพื่อสร้างความตระหนักให้แก่ ทุกคนในองค์กรยึดถือเป็นแนวปฏิบัติเดียวกันเพื่อให้เกิดเป็นวัฒนธรรมองค์กร โดยมีโมเดลการกำกับดูแลโดยใช้การบริการจัดการ
แบบ GRC
จรรยาบรรณทางธุรกิจ
แนวทางการบริหารจัดการ

จรรยาบรรณธุรกิจ คือ มาตรฐานการประพฤติปฏิบัติที่ดี กำหนดขึ้นเพื่อให้ทุกท่าน ซึ่งรวมถึงกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานยึดถือปฏิบัติที่จะป้องกัน การประพฤติปฏิบัติในทางที่ผิดหรือทำให้เสื่อมเสียและสะท้อนให้เห็นถึงความต้องการของบริษัท ซี.พี. อินเตอร์เทรด จำกัด และบริษัทในกลุ่มธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ เครือเจริญโภคภัณฑ์ที่ต้องการให้กรรมการและบุคลากรปฏิบัติตามกฎหมายและกฎข้อบังคับตามนโยบาย

หน่วยงานธรรมาภิบาล ของกลุ่มธุรกิจฯ มีหน้าที่รับผิดชอบผลของการส่งเสริม บังคับใช้ พร้อมทั้งติดตาม ดูแล และทบทวนจรรยาบรรณธุรกิจให้ทันต่อเหตุการณ์ อย่างไรก็ตามเป็นความรับผิดชอบของกรรมการ และบุคลากรทุกคนที่จะร่วมกันทำ ให้จรรยาบรรณธุรกิจไม่เป็นเพียงเอกสารฉบับหนึ่งเท่านั้น แต่ต้องมีการนำไปปฏิบัติกับการทำงานในชีวิตประจำวัน

ในปี 2561 ได้มีการประกาศใช้จรรยาบรรณธุรกิจ ซึ่งครอบคลุมนโยบายและแนวปฏิบัติที่สำคัญ 4 ด้าน ได้แก่ คุณธรรม คุณภาพ บุคลากร สินทรัพย์ ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงมาตรฐานในการปฏิบัติให้เป็นไปตามค่านิยมองค์กรเรื่องคุณธรรมและความซื่อสัตย์ นอกจากนี้จรรยาบรรณธุรกิจยังสร้างความตะหนักรู้ให้กับพนักงานทุกคนในองค์กรเข้าใจถึงค่านิยมที่ดี นำไปสู่การปฏิบัติที่โปร่งใสทั่วทั้งบริษัทฯ

นโยบายและแนวปฏิบัติตามจรรยาบรรณธุรกิจ
การบริหารจัดการความเสี่ยง
แนวทางการบริหารจัดการ

กลุ่มธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ ยึดถือพันธกิจที่จะปฏิบัติตามหลักบรรษัทภิบาล และส่วนหนึ่งของหลักบรรษัทภิบาล คือ การนำวิธีการบริหารจัดการความเสี่ยงองค์กร มาใช้ในกลุ่มธุรกิจ การค้าระหว่างประเทศ ทั้งนี้เพื่อ :

  1. ให้กลุ่มธุรกิจการค้าระหว่างประเทศบรรลุเป้าหมาย ที่ตั้งไว้
  2. เพิ่มความตระหนักถึงความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจ
  3. ให้มั่นใจว่าคณะกรรมการบริหารของบริษัทมีหน้าที่วางแผนยุทธศาสตร์ของบริษัทพร้อมทั้งสร้างคุณค่าและควบคุมดูแลผลประกอบการขององค์กร
  4. ส่งเสริมความรับผิดชอบขององค์กรต่อสังคม
  5. ปกป้องผลประโยชน์ของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
  6. ปกป้องภาพลักษณ์และชื่อเสี่ยงกลุ่มธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ
  7. ให้มั่นใจว่ากระบวนการและควบคุมการจัดการมีความเหมาะสมและเพียงพอ
  8. พัฒนาและปกป้ององค์กรอย่างต่อเนื่องจากสิ่งคุกคามที่อาจเกิดขึ้น
แนวทางการบริหารจัดการ

คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง มีการรวบรวมประเด็นความเสี่ยงจากแต่ละหน่วยงานในกลุ่มธุรกิจ และจากผู้บริหาร จากนั้นดำเนินการจัดทำมาตรการจัดการบรรเทาความเสี่ยง และควบคุมความเสี่ยง รายงานและเฝ้าติดตามผลการบริหารความเสี่ยงจากทุกหน่วยงาน ตลอดจนสื่อสารถึงกระบวนการในทุกขั้นตอนแก่ผู้บริหารและพนักงานรับทราบ และทบทวนความเสี่ยงปีละ 2 ครั้ง รวมถึงมีการอบรมเพื่อสร้างวัฒนธรรมในการบริหารความเสี่ยงองค์กรให้กับพนักงานอย่างต่อเนื่อง

นอกจากนี้กลุ่มธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ ได้วางแผนเชิงรุกสำหรับสภาวะวิกฤตอันอาจเกิดขึ้นได้และป้องกัน
ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการหยุดชะงักทางธุรกิจ ผ่านการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ (Business Continuity Plan: BCP) ซึ่งสอดคล้องต่อนโยบายความต่อเนื่องทางธุรกิจ

ตารางแสดงภาพรวมความเสี่ยงองค์กรของปี 2563
Risk Level
Critical
High
Moderate*
Low*
*Acceptable level
  1. กระแสเงินสด
  2. การควบคุมฝุ่น
  3. มูลค่าวัตถุดิบ
  4. การปฏิบัติตามกฎหมาย
  5. ระบบมาตรฐานด้านสังคม
  6. ลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก
  7. แรงงาน
  8. การจัดการสารเคมีตกค้าง
  9. ไฟไหม้โรงงาน
  10. การโจมตีทางไซเบอร์
  11. การไม่ปฏิบัติตามข้อผูกพันในสัญญา
  12. การละเมิดสิทธิมนุษยชน
  13. ความเสียหายต่อแบรนด์
การกำกับการปฏิบัติตามกฏเกณฑ์
แนวทางการบริหารจัดการ
ปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ทั้งในด้านสังคม เศรษฐกิจ เทคโนโลยี สิ่งแวดล้อม และพฤติกรรมผู้บริโภค ส่งผลให้บริษัท ซี.พี. อินเตอร์เทรด จำกัด และบริษัทในกลุ่มธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ ต้องปรับแนวทางในการดำเนินธุรกิจ เพื่อสร้างโอกาสและการขยายธุรกิจให้เติบโตสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว อย่างเหมาะสม บริษัทฯ มุ่งมั่นให้มีการดำเนินการตามกรอบนโยบายและแนวทางปฏิบัติที่กำหนดไว้ได้อย่างมีประสิทธิผล ทั้งนี้มีการดำเนินการตามเครือฯ โดยทำการประเมินองค์กรตามกรอบของ UN Global Compact ผ่านช่องทางออนไลน์ อีกทั้งบริษัทฯ ได้จัดตั้งหน่วยงานตรวจสอบการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ (Compliance Audit) เพื่อดำเนินการตรวจสอบแบบข้ามสายงาน (Cross Functional Audit) รวมทั้งได้ร่วมมือกับ เครือเจริญโภคภัณฑ์จัดอบรมให้กับระดับผู้บริหาร ซึ่งเป็นการแสดงถึงการสร้างความตระหนักรู้ ในการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ด้านต่างๆ อาทิ ด้านสิทธิมนุษยชน การปฏิบัติด้านแรงงาน การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการต่อต้านคอร์รัปชัน รวมถึงจรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจอย่างมีคุณธรรมและโปร่งใส
บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โปรดิ๊วสจำกัด ได้กำหนดเป้าหมายเรื่องการกำกับการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ที่จะขับเคลื่อนบริษัทให้มีการบริหาร จัดการและการดำเนินธุรกิจตามนโยบายเครือเจริญโภคภัณฑ์ เป็นไปตามกฎหมาย กฎระเบียบ กฎเกณฑ์ทั้งภายในและภายนอกองค์กร รวมไปถึงจรรยาบรรณธุรกิจของเครือฯ กฎระเบียบภายใน เงื่อนไขใบอนุญาตประกอบธุรกิจ สัญญา มาตรฐานและแนวปฏิบัติที่ดี ซึ่งเครือฯ ยอมรับปฏิบัติตาม (รวมเรียกว่า‘กฎเกณฑ์’) อันจะส่งผลให้บริษัทฯ ประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้ ได้รับความเชื่อถือและความไว้วางใจจากผู้มีส่วนได้เสียต่างๆ โดยมีแนวปฏิบัติตามนโยบายที่กรรมการผู้บริหาร พนักงาน และผู้ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องทุกคนของเครือฯ ต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด
รูปแบบกฎเกณฑ์ประเภทต่างๆ
การต่อต้านคอร์รัปชัน
แนวทางการบริหารจัดการ
บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โปรดิ๊วสจำกัด และบริษัทในกลุ่มธุรกิจพืชครบวงจร มีความมุ่งมั่นในการดำเนินธุรกิจอย่างโปร่งใสและต่อต้านการทุจริตทุกรูปแบบในการทำงาน ปฏิบัติตามจรรยาบรรณธุรกิจ ทั้งนี้กรรมการบริษัท ผู้บริหารและพนักงาน จะไม่กระทำหรือยอมรับการคอร์รัปชันทุกรูปแบบไม่ว่ากรณีใดๆ โดยบริษัทฯ ได้กำหนดแนวปฏิบัติ มาตรการดำเนินการ และบทบาทหน้าที่ผู้รับผิดชอบ ตลอดจนจัดให้มีการทวนสอบ และทบทวนการปฏิบัติตามนโยบายการต่อต้านคอร์รัปชันนี้อย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจ ระเบียบ ข้อบังคับ และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นหนึ่งในค่านิยมองค์กรของบริษัท นอกจากนี้เพื่อเป็นการป้องกันการทุจริตอย่างครบถ้วน บริษัทได้มีการประกาศใช้จรรยาบรรณสำหรับคู่ค้าทางธุรกิจ ซึ่งรวมถึงคู่ค้า พันธมิตร บริษัทจัดซื้อจัดจ้าง ผู้จัดจำหน่ายและผู้รับเหมาช่วง ให้มีการปฏิบัติตามแนวทางปฏิบัติการต่อต้านทุจริตคอร์รัปชันอย่างเคร่งครัดและกำหนดให้มีการสื่อสารและระบุเป็นเงื่อนไขของสัญญาธุรกิจ
การดำเนินการ
1
การดำเนินการตามนโยบายนี้ให้ใช้แนวปฏิบัติ ตามที่บริษัทฯ ได้กำหนดไว้ในคู่มือการกำกับดูแลกิจการและจรรยาบรรณรวมทั้งระเบียบข้อบังคับ และคู่มือการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องของบริษัทฯ
2
ในการดำเนินการในเรื่องที่มีความเสี่ยงสูงกับการเกิดคอร์รัปชัน บริษัทฯ กำหนดให้กรรมการบริษัท ผู้บริหารและพนักงาน
จะต้องปฏิบัติหน้าที่ในเรื่องต่อไปนี้ด้วยความระมัดระวัง ได้แก่
• ความเป็นกลางและการช่วยเหลือทางการเมือง
• การบริจาคเพื่อการกุศล และเงินสนับสนุน
• การให้ของขวัญ การเลี้ยงรับรองและค่าใช้จ่ายอื่น
ในปี 2565 บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โปรดิ๊วสจำกัด และบริษัทในกลุ่มธุรกิจพืชครบวงจร ได้เข้าร่วมการประกาศจุดยืนในการดำเนินธุรกิจ ภายใต้ความโปร่งใสและต่อต้าการทุจริตทุกรูปแบบ ในวันต่อต้านคอร์รัปชันแห่งชาติ ซึ่งจัดโดยองค์กร ต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) ร่วมกับภาคีเครือข่ายของภาครัฐและเอกชน ภาคประชาสังคม และสื่อมวลชนภายใต้แนวคิด รวมพลังอาสาสู้โกงนอกจากนั้น บริษัทในเครือฯ ได้จัดกิจกรรมให้ผู้บริหารระดับสูงเน้นย้ำถึงความสำคัญของการปฏิบัติตามนโยบายการต่อต้านคอร์รัปชัน เผยแพร่คลิปวิดีโอประชาสัมพันธ์แนวทางการปฏิบัติที่ดีและกรณีศึกษา มีการประชาสัมพันธ์ ติดป้ายประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับนโยบายและจรรยาบรรณธุรกิจ
กระบวนการแจ้งเบาะแส และรับเรื่องร้องเรียน

บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โปรดิ๊วสจำกัด และบริษัทในกลุ่มธุรกิจพืชครบวงจร เห็นความสำคัญของการจัดให้มีช่องทางการแจ้งเบาะแสและการรับเรื่องร้องเรียนที่มีประสิทธิภาพ เพื่อรับฟังความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ หรือข้อร้องเรียนต่าง ๆ จากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่ม อันได้แก่ บุคลากรของกลุ่มธุรกิจฯ เช่น ผู้บริหาร พนักงานทุกระดับ และบุคคลภายนอก เช่น
คู่ค้าธุรกิจ พันธมิตรทางธุรกิจ ที่ได้รับผลกระทบหรือมีความเสี่ยงที่จะได้รับผลกระทบจากการดำเนินธุรกิจของกลุ่มธุรกิจฯ หรือจากการกระทำผิดกฎหมายหรือจรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจ รวมถึงพฤติกรรมที่เข้าข่ายการกระทำผิด การทุจริต การคอร์รัปชัน รวมถึงการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบของบุคลากรของกลุ่มธุรกิจฯ และเพื่อเป็นการป้องกันความเสี่ยงและความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ตลอดจนเป็นเครื่องมือในการเฝ้าระวัง ติดตามการดำเนินธุรกิจ และเป็นฐานข้อมูลสำหรับใช้ปรับปรุงการบริหารงานและการให้บริการของกลุ่มธุรกิจฯ ให้มีความรัดกุมและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

บริษัทฯ จึงกำหนดให้มีช่องทางการแจ้งเบาะแสและกระบวนการรับเรื่องร้องเรียนที่ชัดเจน สุจริต โปร่งใส และเป็นไปตามมาตรฐานสากล จึงได้ออกนโยบายและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการแจ้งเบาะแสและการรับเรื่องร้องเรียน (Whistle Blowing Policy and Guideline) โดยมีรายละเอียดดังนี้ขอบเขตของการแจ้งเบาะแส

ขอบเขตของการแจ้งเบาะแส
ระบบการรับข้อร้องเรียน และแจ้งเบาะแส

ข้อมูลเกี่ยวกับนโยบายและแนวปฏิบัติ หรือขั้นตอนการแจ้งเบาะแสและการร้องเรียน สามารถหาข้อมูลได้จากจรรยาบรรณธุรกิจของกลุ่มธุรกิจฯ ใน Intranet หรือระบบ e-Learning ของกลุ่มธุรกิจฯ หรือ Application “CPTGCROP Connect”

ข้อร้องเรียนด้านจริยธรรม
และการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์
กลับไป
ด้านบน
อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ

HEART : LIVING RIGHT
การกำกับดูแลกิจการ