โครงสร้างคณะกรรมการ
ขับเคลื่อนนโยบาย
ความยั่งยืน
เพื่อสนับสนุนและไปให้ถึงเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ทั้ง
15 ข้อ ให้ได้ภายในปี 2030
โดยจะครอบคลุมทั้งด้าน เศรษฐกิจ สังคม และ สิ่งแวดล้อม ทั้งนี้บริษัทได้บูรณาการแนวคิดเรื่องการพัฒนาอย่างยั่งยืนไปในโครงสร้างการบริหารการจัดการดังต่อไปนี้
โดยจะครอบคลุมทั้งด้าน เศรษฐกิจ สังคม และ สิ่งแวดล้อม ทั้งนี้บริษัทได้บูรณาการแนวคิดเรื่องการพัฒนาอย่างยั่งยืนไปในโครงสร้างการบริหารการจัดการดังต่อไปนี้

คณะกรรมการ บริหารธรรมาภิบาล
ความเสี่ยง
และการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์
บทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบ
– พิจารณากลั่นกรองนโยบายและแนวทางการบริหาร ธรรมาภิบาล ความเสี่ยง
และการปฏิบัติตามกฏเกณฑ์ โดยรวมของกลุ่มธุรกิจ
– กำหนดยุทธศาสตร์และแนวทางในการบริหารธรรมาภิบาล ความเสี่ยง
และการปฏิบัติตามกฏเกณฑ์ของกลุ่มธุรกิจ โดยสามารถประเมิน ติดตาม
และควบคุมความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม
– สนับสนุนคณะทำงานฯ ด้านบุคลากร งบประมาณ
ทรัพยากรที่จำเป็นให้สอดคล้องกับความรับผิดชอบ
– รายงานต่อคณะกรรมการบริหารธรรมาภิบาล ความเสี่ยง และการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์
ของเครือเจริญโภคภัณฑ์อย่างสม่ำเสมอ เกี่ยวกับการบริหารความเสี่ยงของกลุ่มธุรกิจ
รวมถึงสิ่งที่ต้องดำเนินการปรับปรุงแก้ไข
เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายและกลยุทธ์ที่กำหนด
คณะกรรมการ
ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ความยั่งยืน
บทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบ
– ร่วมกำหนดทิศทาง ตัดสินใจ ให้ข้อมูล ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะ
และประสานงานกับผู้ที่เกี่ยวข้องในกลุ่มธุรกิจ
ในกระบวนการจัดทำยุทธศาสตร์ความยั่งยืนเครือเจริญโภคภัณฑ์
– ร่วมกับสำนักบริหารความยั่งยืน ธรรมาภิบาล และสื่อสารองค์กร เครือเจริญโภคภัณฑ์
ในการนำยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติ ติดตาม วัดผลการดำเนินงาน
และจัดทำรายงานความยั่งยืนประจำปีของเครือเจริญโภคภัณฑ์
– ร่วมรายงานความก้าวหน้า แนวทางการดำเนินงาน
และผลการดำเนินงานขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ความยั่งยืนของเครือฯ
ต่อคณะกรรมการบริหารงานด้านความยั่งยืน ธรรมาภิบาล และสื่อสารองค์กร
เครือเจริญโภคภัณฑ์
นโยบายเพื่อพัฒนา
สู่ความยั่งยืน
นโยบายและแนวปฏิบัติกลุ่มธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ
และพืชครบวงจร (ข้าวโพด) เครือเจริญโภคภัณฑ์
กำหนดวัตถุประสงค์ หน้าที่ความรับผิดชอบ
และวิธีการปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎระเบียบและกฎหมาย ให้กับกรรมการและบุคลากร
โดยใช้ควบคู่กับจรรยาบรรณธุรกิจ
นโยบายอื่นๆ
จรรยาบรรณธุรกิจ
เพื่อให้พนักงานทุกคนประกอบธุรกิจอย่างมีจริยธรรม
เคารพสิทธิและมีความรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้เสีย พัฒนาหรือลดผลกระทบด้านลบต่อสิ่งแวดล้อม
โดยมีความเป็นอันหนึ่งเดียวกันมีค่านิยมเดียวกันคือคุณธรรมและความซื่อสัตย์


จรรยาบรรณธุรกิจสำหรับคู่ค้าธุรกิจ
เพื่อให้การบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานเกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม
และธุรกิจเติบโตอย่างยั่งยืน
ซึ่งเป็นการแสดงออกถึงความรับผิดชอบต่อชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อม
คู่ค้าธุรกิจของบริษัทต้องปฏิบัติตามจรรยาบรรณสำหรับคู่ค้าธุรกิจ.

