HealthLiving Well
บริษัท ซี.พี. อินเตอร์เทรด จำกัด และบริษัทในกลุ่มธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ เครือเจริญโภคภัณฑ์ ตระหนักถึงคุณค่าความสำคัญของความยั่งยืนด้านสังคม โดย ดำเนินธุรกิจภายใต้แนวคิดการพัฒนาพนักงานและสังคมให้เชื่องโยงกับมิติทางเศรษฐกิจขององค์กร โดยให้สิทธิและโอกาสที่จะได้รับการดูแลและผลประโยชน์ที่เป็นธรรม กระตุ้นให้พนักงานเห็นคุณค่าของการทำงานและเกิดความซื่อสัตย์ต่อองค์กร มีช่องทางการสื่อสารกับผู้มีส่วนได้เสีย มีความโปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ มีระบบการจัดการมีสร้างการมีส่วนร่วมจากทุกฝ่าย สร้างสังคมรอบข้างให้เป็นสังคมที่มีคุณภาพ ได้รับการยอมรับจากสังคมและชุมชนในการประกอบการ ปลูกฝังอยู่ในกิจกรรมของคนในองค์กรสื่อไปถึงตราสินค้าและผลิตภัณฑ์ขององค์กร
คุณค่าและการสร้างประโยชน์
ทางเศรษฐกิจให้แก่สังคม
ความท้าทาย

ปัญหาความเหลื่อมล้ำเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดสภาวะการแบ่งแยกของผู้คนในสังคม (Social polarization) และการขาดความไว้เนื้อเชื่อใจในสังคม (Lack of social trust) ปัจจุบันสภาพแวดล้อมของสังคมมีความไว้เนื้อเชื่อใจต่ำ ทำให้ธุรกิจมีความเสี่ยงด้านชื่อเสียง และด้านการกำกับดูแลจากหน่วยงานทางการเพิ่มมากขึ้น ตลอดจนอาจส่งผลกระทบต่อผลประกอบการของการดำเนินธุรกิจในระยะยาว ดังนั้นปัญหาความเลื่อมล้ำจึงไม่ได้เป็นเพียงปัญหาสังคมที่อยู่ใกล้ตัวอีกต่อไป แต่กลายเป็นความเสี่ยงต่อภาคธุรกิจได้เช่นเดียวกัน ในขณะเดียวกันธุรกิจต้องมีการสร้างความเชื่อมโยงระหว่างธุรกิจ และสังคม โดยนำความต้องการหรือความคาดหวังของคนในสังคมมาบูรณาการเป็นส่วนหนึ่งของเป้าหมายขององค์กร

สนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
SDG 1
ยุติความยากจน
1.2
ลดความยากจนอย่างน้อย 50%
1.4
สิทธิเท่าเทียมกันในการเป็นเจ้าของ, บริการขั้นพื้นฐาน เทคโนโลยีและทรัพยากรทางเศรษฐกิจ
SDG 4
คุณภาพการศึกษา
4.4
เพิ่มจำนวนประชาชนที่มีทักษะที่จำเป็นด้านการเงิน
SDG 8
งานที่เหมาะสม และการเติบโตทางเศรษฐกิจ
8.6
งานที่เหมาะสม และการเติบโตทางเศรษฐกิจ
SDG 10
ลดความไม่เสมอภาค
10.1
ลดความไม่เท่าเทียมกันของรายได้
ผลการดำเนินงานที่สำคัญปี 2563
เกษตรกร 9,509 ราย
ที่ได้รับการส่งเสริมอาชีพและรายได้
กลุ่มผู้เปราะบาง 603 ราย
ที่ได้รับการส่งเสริมอาชีพและคุณภาพชีวิต
เป้าหมายปี 2563
เกษตรกร และกลุ่มผู้เปราะบาง 10,000 คน รับการส่งเสริมอาชีพและคุณภาพชีวิต
ผลลัพธ์ปี 2563 เทียบเป้าหมาย
2560
2561
2562
2563
บรรลุตาม
เป้าหมาย 2563
  • จำนวนเกษตรกรที่ได้รับ
    การส่งเสริมอาชีพและรายได้
    1,247
    6,279
    10,104
    9,509
    100%
  • จำนวนกลุ่มผู้เปราะบาง
    ที่ได้รับการส่งเสริมอาชีพ
    และ คุณภาพชีวิต
    375
    2,438
    3,041
    100%
คุณค่าและการสร้างประโยชน์ทางเศรษฐกิจให้แก่สังคม
แนวทางการบริหารจัดการ
บริษัท ซี.พี. อินเตอร์เทรด จำกัดและบริษัทในกลุ่มธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ มีความตระหนักและให้ความสำคัญในการดำเนินธุรกิจที่อาจได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจและบทบาททางสังคม โดยการสนับสนุนเกษตรกร และกลุ่มเปราะบาง ให้เป็นส่วนหนึ่งของธุรกิจ สนับสนุนทางการเงิน ส่งเสริมการมีส่วนร่วมและสร้างสรรค์คุณค่า การสร้างรายได้ ซึ่งเครือฯ ได้ให้ความสำคัญและมีการดำเนินงานมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สามารถแก้ไขปัญหาและช่วยส่งเสริมคุณภาพชีวิตให้กับชุมชน ตลอดจนกลุ่มเปราะบางให้สามารถดำรงชีวิตตามปัจจัยขั้นพื้นฐานในสังคมได้อย่างยั่งยืน
นอกจากนี้บริษัทฯ ยังมีแนวทางและแผนการดำเนินงานในการขับเคลื่อนผ่าน ‘โครงการซีพีเพื่อความยั่งยืน’ กำหนดกลยุทธ์การดำเนินโครงการผ่านตัวแทนจากแต่ละกลุ่มธุรกิจ เพื่อให้การดำเนินงานมีความสอดคล้องและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน พร้อมกันนี้บริษัทฯ มีความมุ่งมั่นในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชนผ่านแนวทางการดำเนินงาน
บริษัทฯ อาทิ การพัฒนาชุมชน (Community Development) การขจัดความยากจน (Poverty Reduction) และการเกษตรกรรม (Agriculture) อีกทั้งมีการเชิดชูโครงการที่โดดเด่นเพื่อยกย่องให้เป็นแบบอย่างที่ดีของบริษัทฯ
สร้างสรรค์คุณค่า
  • การส่งเสริมองค์ความรู้และทักษะ
  • การฝึกอบรม
  • การให้คำปรึกษา
  • การถ่ายทอดเทคโนโลยี
  • การพัฒนาโครงสร้าง
  • พื้นฐานเพื่อการเรียนรู้
ส่งเสริมการมีส่วนร่วม
  • การเข้าถึงแหล่งเงินทุน
  • การแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์
  • การสร้างสรรค์คุณค่าสู่นวัตกรรม
ส่วนหนึ่งของธุรกิจ
  • การจ้างงานสร้างรายได้
  • การตลาดและการเข้าถึงลูกค้า
สนับสนุนการเงิน
  • การลงทุนในชุมชน
  • การบริจาค
การลงทุนทางสังคม
แนวทางการบริหารจัดการ

บริษัท ซี.พี. อินเตอร์เทรด จำกัดและบริษัทในกลุ่มธุรกิจการค้าระหว่างประเทศให้ความสำคัญกับภาคเกษตรซึ่งในระบบเศรษฐกิจสังคมไทย และทั่วโลก เพราะเกี่ยวข้องกับชีวิตความเป็นอยู่คนจำนวนมาก และ เกษตรกรส่วนใหญ่ยังคงมีความยากจน เนื่องจาก เกษตรกรขาด 4 เรื่อง คือขาดเงินทุน ขาดความรู้ ขาดเทคโนโลยี และขาดตลาด ในขณะที่กลุ่มธุรกิจฯ มีทรัพยากรและสามารถสร้างความร่วมมือจากผู้ที่เกี่ยวข้อง ในการที่จะยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกร โดยเฉพาะการขจัด ความยากจน ซึ่งจะสนับสนุนเป้าหมายที่ยั่งยืน (SDGs) เป้าหมายที่ 1

กลุ่มธุรกิจฯ ดำเนินงานโครงการส่งเสริมเกษตรกรรายย่อย ในโครงการส่งเสริมของบริษัทฯ ด้วยความมุ่งหวังที่จะส่งเสริมอาชีพและรายได้แก่เกษตรกรไทย โดย ไม่การผูกมัดเป็นสัญญา แต่ให้โอกาสกับเกษตรในการที่จะขายสินค้าไปยังผู้ซื้อที่ให้ราคาที่เหมาะสมที่สุด เป็นการทำธุรกิจที่เกษตรกรมีตลาดรองรับผลผลิตที่แน่นอน และบริหารจัดการนาข้าวภายใต้มาตรฐานเดียวกับบริษัท ซึ่งเทียบเท่ามาตรฐานสากลเพื่อประโยชน์โดยตรงต่อเกษตรกรในด้านการมีรายได้ที่แน่นอน และเพื่อผู้บริโภคที่จะได้บริโภคอาหารคุณภาพและปลอดภัย

  • การส่งเสริมการตลาดและช่องทางจำหน่ายให้แก่เกษตรกร
  • การส่งเสริมเกษตรกรในระบบสมาชิก
  • โครงการ 4 ประสาน เพื่อนวัตกรรมการเกษตรทันสมัย และยั่งยืน
  • การส่งเสริมความรู้ เทคโนโลยีและทักษะ
    และการจ้างงานเกษตรกรท้องถิ่น
  • การส่งเสริมการเข้าถึงแหล่งเงินทุนให้แก่เกษตรกร
  • การพัฒนาธุรกิจเพื่อสังคมการจัดซื้อวัตถุดิบ
    ทางการเกษตรโดยตรงจากเกษตรกรผู้ผลิต
  • การจัดซื้อวัตถุดิบทางการเกษตรโดยตรงจากเกษตรกรผู้ผลิต
ส่งเสริมคุณภาพชีวิตเกษตรกร
“ข้าวชาวนาไทย ปี 3”

ตราฉัตร ร่วมกับบริษัทพันธมิตรภายใต้เครือเจริญโภคภัณฑ์ ผสานโครงการ “ข้าวชาวนาไทย ปี 3” ช่วยชาวนา รับมือพิษโควิดและราคาข้าวหอมมะลิตกต่ำ ชวนคนไทยหันมากินข้าวหอมมะลิจากชาวนาไทย ผ่านช่องทางจำหน่ายร้านสะดวกซื้อและห้างค้าใกล้บ้านภายใต้เครือเจริญโภคภัณฑ์ อาทิ 7-Eleven, แมคโคร และซีพี เฟรชมาร์ท

นายฐิติ ลุจินตานนท์ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ ธุรกิจการค้าข้าวและอาหารในประเทศและต่างประเทศ เปิดเผยว่า “อุตสาหกรรมข้าวไทย ปี 2563 มีแนวโน้มตกต่ำ ทั้งในเชิงปริมาณและมูลค่าการส่งออก ซึ่งในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ประเทศผู้นำเข้าข้าวรายใหญ่และเป็นผู้ผลิตข้าวที่สำคัญของโลก อาทิ จีน อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ มีนโยบายลดการพึ่งพา ชะลอการซื้อ เน้นเพิ่มผลผลิตข้าวภายในประเทศ ประกอบกับหลังเกิดการแพร่กระจายเชื้อไวรัสโควิด-19 เป็นผลให้ตั้งแต่เดือนมีนาคม การส่งออกหยุดชะงัก ทำให้สินค้าเกษตรส่งออกหลายชนิด รวมถึงข้าวหอมมะลิได้รับผลกระทบไปด้วย ไม่สามารถส่งออกตลาดต่างประเทศได้ ทำให้การส่งออกชะลอตัว กลุ่มผู้บริโภคทั้งตลาดไทยและต่างประเทศมีกำลังการซื้อที่หดตัวลง หันไปซื้อข้าวคุณภาพใกล้เคียงหอมมะลิที่มีราคาถูกกว่า ประกอบกับปีนี้ปริมาณภาวะน้ำฝนค่อนข้างอุดมสมบูรณ์ มีปริมาณมากกว่าปีก่อน ซึ่งปัจจัยต่างๆ นี้ ส่งผลทำให้เกษตรกรผู้ปลูกต้องเผชิญวิกฤติราคาข้าวตกต่ำ

บริษัท ซี.พี. อินเตอร์เทรด จำกัด ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายข้าวสารบรรจุถุงแบรนด์ “ข้าวตราฉัตร” จากที่เห็นถึงปัญหาที่เกิดขึ้นในขณะนี้ ทางบริษัทฯ จึงขอเป็นส่วนหนึ่งในการแสดงความห่วงใยต่อพี่น้องเกษตรกรชาวนาไทย จัดโครงการ “ข้าวชาวนาไทย ปี 3” ขึ้น โดยเปิดจุดรับซื้อข้าวเกี่ยวสดตรงจากเกษตรกรชาวนา ผ่านโรงสีท่าข้าวสหกรณ์ สกก. รวมทั้ง สกต.เพิ่ม รวมทั้งหมด 46 จุด ทั่วประเทศ อาทิ จังหวัดเชียงราย พะเยา ยโสธร สุรินทร์ มหาสารคาม บุรีรัมย์ ร้อยเอ็ด ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี เป็นต้น ภายใต้พื้นที่โครงการพัฒนาระบบการปลูกข้าวเพื่อความยั่งยืน ของบริษัทฯ รวม 190,198 ไร่

ตราฉัตร ร่วมกับบริษัทพันธมิตรภายใต้เครือเจริญโภคภัณฑ์ ผสานโครงการ “ข้าวชาวนาไทย ปี 3” ช่วยชาวนา รับมือพิษโควิดและราคาข้าวหอมมะลิตกต่ำ ชวนคนไทยหันมากินข้าวหอมมะลิจากชาวนาไทย ผ่านช่องทางจำหน่ายร้านสะดวกซื้อและห้างค้าใกล้บ้านภายใต้เครือเจริญโภคภัณฑ์ อาทิ 7-Eleven, แมคโคร และซีพี เฟรชมาร์ท

นายฐิติ ลุจินตานนท์ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ ธุรกิจการค้าข้าวและอาหารในประเทศและต่างประเทศ เปิดเผยว่า “อุตสาหกรรมข้าวไทย ปี 2563 มีแนวโน้มตกต่ำ ทั้งในเชิงปริมาณและมูลค่าการส่งออก ซึ่งในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ประเทศผู้นำเข้าข้าวรายใหญ่และเป็นผู้ผลิตข้าวที่สำคัญของโลก อาทิ จีน อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ มีนโยบายลดการพึ่งพา ชะลอการซื้อ เน้นเพิ่มผลผลิตข้าวภายในประเทศ ประกอบกับหลังเกิดการแพร่กระจายเชื้อไวรัสโควิด-19 เป็นผลให้ตั้งแต่เดือนมีนาคม การส่งออกหยุดชะงัก ทำให้สินค้าเกษตรส่งออกหลายชนิด รวมถึงข้าวหอมมะลิได้รับผลกระทบไปด้วย ไม่สามารถส่งออกตลาดต่างประเทศได้ ทำให้การส่งออกชะลอตัว กลุ่มผู้บริโภคทั้งตลาดไทยและต่างประเทศมีกำลังการซื้อที่หดตัวลง หันไปซื้อข้าวคุณภาพใกล้เคียงหอมมะลิที่มีราคาถูกกว่า ประกอบกับปีนี้ปริมาณภาวะน้ำฝนค่อนข้างอุดมสมบูรณ์ มีปริมาณมากกว่าปีก่อน ซึ่งปัจจัยต่างๆ นี้ ส่งผลทำให้เกษตรกรผู้ปลูกต้องเผชิญวิกฤติราคาข้าวตกต่ำ

บริษัท ซี.พี. อินเตอร์เทรด จำกัด ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายข้าวสารบรรจุถุงแบรนด์ “ข้าวตราฉัตร” จากที่เห็นถึงปัญหาที่เกิดขึ้นในขณะนี้ ทางบริษัทฯ จึงขอเป็นส่วนหนึ่งในการแสดงความห่วงใยต่อพี่น้องเกษตรกรชาวนาไทย จัดโครงการ “ข้าวชาวนาไทย ปี 3” ขึ้น โดยเปิดจุดรับซื้อข้าวเกี่ยวสดตรงจากเกษตรกรชาวนา ผ่านโรงสีท่าข้าวสหกรณ์ สกก. รวมทั้ง สกต.เพิ่ม รวมทั้งหมด 46 จุด ทั่วประเทศ อาทิ จังหวัดเชียงราย พะเยา ยโสธร สุรินทร์ มหาสารคาม บุรีรัมย์ ร้อยเอ็ด ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี เป็นต้น ภายใต้พื้นที่โครงการพัฒนาระบบการปลูกข้าวเพื่อความยั่งยืน ของบริษัทฯ รวม 190,198 ไร่

อีกทั้งมีเกษตรกรสมาชิกโครงการฯ ผู้ปลูกข้าวหอมมะลิ ทั้งหมด 9,509 ราย บริษัทจะรับซื้อในราคานำตลาด ให้ราคารับซื้อบวกเพิ่มกับเกษตรกรชาวนาจากราคาทั่วไปอีก ตันละ 300 บาท (ความชื้นไม่เกิน 30%) ข้าวที่มีการรับซื้อทั้งหมดจะนำมาเข้ากระบวนการผลิตปรับปรุงคุณภาพและบรรจุถุงภายใต้แบรนด์ “ข้าวชาวนาไทย” พร้อมช่วยเกษตรกรชาวนาไทย ผลักดันสินค้าสู่ตลาดผู้บริโภคในราคาพิเศษ”

นายฐิติ กล่าวต่อว่า ““ข้าวชาวนาไทย” เป็นข้าวหอมมะลิแท้ 100% (อายุข้าว 1-3 เดือน) มีจุดขายพิเศษคือ ขาวใส หอม นุ่มเหนียว อร่อย เป็นข้าวหอมมะลิแรกเกี่ยวคุณภาพดีสดใหม่จากนา รับซื้อโดยตรงจากชาวนาไทย ผ่านกระบวนการผลิตจากโรงงานขนาดใหญ่ และทันสมัย ได้มาตรฐานสากล ซึ่งจะเปิดจำหน่ายล็อตแรก ขนาด 5 กก. ราคาเพียง 165 บาทเท่านั้น ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2563 ถึง31 มกราคม 2564 สามารถหาซื้อได้ผ่านช่องทางต่างๆ ภายใต้เครือเจริญโภคภัณฑ์ เท่านั้น”

การสนับสนุนกลุ่มเปราะบาง
แนวทางการบริหารจัดการ

ความท้าทายที่ส่งผลไปทั่วโลกในปัจจุบันคือจำนวนประชากรโลก ที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง การส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิต ให้ประชากรกลุ่มเปราะบางได้รับความเท่าเทียมในสังคมจึงเป็น สิ่งที่ควรให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เพื่อลดความเหลื่อมล้ำทาง สังคมที่เกิดขึ้น ภายใต้แนวคิดที่ว่า ‘การสร้างรากฐานทางธุรกิจ ให้แข็งแรง ต้องดำเนินควบคู่ไปพร้อมกับการสร้างรากฐาน คุณภาพชีวิตของคนในสังคม’ จึงทำให้กลุ่มธุรกิจฯ มีแนวคิดและตระหนักถึงการสนับสนุนแก่คนในสังคมอย่างต่อเนื่อง

บริษัทเชื่อมั่นว่าธุรกิจจะเติบโตอย่างยั่งยืนได้ ชุมชนและสังคมจะต้องพัฒนาไปพร้อมๆ กัน เราจึงเล็งเห็นถึงความสำคัญในการสนับสนุนกิจกรรมเพื่อสังคมและชุมชน และด้วยตระหนักถึงบทบาทหน้าที่ของพลเมืองที่ดีและหลักปรัชญา 3 ประโยชน์สู่ความยั่งยืนของบริษัท(ต่อประเทศ ประชาชน และบริษัท) เราจึงมุ่งส่งเสริมกิจกรรมต่างๆที่เอื้อประโยชน์แก่ประชากรกลุ่มเปราะบาง อาทิ ผู้พิการ ผู้สูงวัย เด็กผู้ด้อยโอกาส ทางสังคม โดยเฉพาะรอบพื้นที่ที่บริษัทดำเนินกิจการอยู่ โดยใช้ความรู้และความเชี่ยวชาญที่มีในการสร้างผลกระทบ เชิงบวกให้กับสังคมผ่านรูปแบบการสนับสนุนที่หลากหลายได้แก่ การสนับสนุนเงินการมอบสิ่งของ การทำจิตอาสา รวมถึงการถ่ายทอดองค์ความรู้ในรูปแบบต่างๆ โดยเฉพาะเรื่องการเข้าถึงอาหารที่ถูกหลักโภชนาการและการศึกษาอย่างทั่วถึง เพื่อร่วมสร้างสังคมให้มั่นคงและเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาในภาพรวมของประเทศ

โครงการ
เพื่อผู้พิการ
โครงการ
ส่งเสริมเด็กและ
ผู้ด้อยโอกาส
โครงการ
เพื่อผู้สูงอายุ
กิจกรรมเพื่อสังคม เพื่อตอบสนองกลุ่มเปราะบาง
ความท้าทาย : CPP

ปัญหาความเหลื่อมล้ำเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดสภาวะการแบ่งแยกของผู้คนในสังคม (Social polarization) และการขาดความไว้เนื้อเชื่อใจในสังคม (Lack of social trust) ปัจจุบันสภาพแวดล้อมของสังคมมีความไว้เนื้อเชื่อใจต่ำ ทำให้ธุรกิจมีความเสี่ยงด้านชื่อเสียง และด้านการกำกับดูแลจากหน่วยงานทางการเพิ่มมากขึ้น ตลอดจนอาจส่งผลกระทบต่อผลประกอบการของการดำเนินธุรกิจในระยะยาว ดังนั้นปัญหาความเลื่อมล้ำจึงไม่ได้เป็นเพียงปัญหาสังคมที่อยู่ใกล้ตัวอีกต่อไป แต่กลายเป็นความเสี่ยงต่อภาคธุรกิจได้เช่นเดียวกัน ในขณะเดียวกันธุรกิจต้องมีการสร้างความเชื่อมโยงระหว่างธุรกิจ และสังคม โดยนำความต้องการหรือความคาดหวังของคนในสังคมมาบูรณาการเป็นส่วนหนึ่งของเป้าหมายขององค์กร

สนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
SDG 1
ยุติความยากจน
1.2
ลดความยากจนอย่างน้อย 50%
1.4
สิทธิเท่าเทียมกันในการเป็นเจ้าของ, บริการขั้นพื้นฐาน เทคโนโลยีและทรัพยากรทางเศรษฐกิจ
SDG 4
คุณภาพการศึกษา
4.4
เพิ่มจำนวนประชาชนที่มีทักษะที่จำเป็นด้านการเงิน
SDG 8
งานที่เหมาะสม และการเติบโตทางเศรษฐกิจ
8.6
งานที่เหมาะสม และการเติบโตทางเศรษฐกิจ
SDG 10
ลดความไม่เสมอภาค
10.1
ลดความไม่เท่าเทียมกันของรายได้
ผลการดำเนินงานที่สำคัญปี 2563
เกษตรกร 9,509 ราย
ที่ได้รับการส่งเสริมอาชีพและรายได้
กลุ่มผู้เปราะบาง 603 ราย
ที่ได้รับการส่งเสริมอาชีพและคุณภาพชีวิต
เป้าหมายปี 2563
เกษตรกร และกลุ่มผู้เปราะบาง 10,000 คน รับการส่งเสริมอาชีพและคุณภาพชีวิต
ผลลัพธ์ปี 2563 เทียบเป้าหมาย
2560
2561
2562
2563
บรรลุตาม
เป้าหมาย 2563
  • จำนวนเกษตรกรที่ได้รับ
    การส่งเสริมอาชีพและรายได้
    1,247
    6,279
    10,104
    9,509
    100%
  • จำนวนกลุ่มผู้เปราะบาง
    ที่ได้รับการส่งเสริมอาชีพ
    และ คุณภาพชีวิต
    375
    2,438
    3,041
    100%
คุณค่าและการสร้างประโยชน์ทางเศรษฐกิจให้แก่สังคม
แนวทางการบริหารจัดการ
บริษัท ซี.พี. อินเตอร์เทรด จำกัดและบริษัทในกลุ่มธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ มีความตระหนักและให้ความสำคัญในการดำเนินธุรกิจที่อาจได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจและบทบาททางสังคม โดยการสนับสนุนเกษตรกร และกลุ่มเปราะบาง ให้เป็นส่วนหนึ่งของธุรกิจ สนับสนุนทางการเงิน ส่งเสริมการมีส่วนร่วมและสร้างสรรค์คุณค่า การสร้างรายได้ ซึ่งเครือฯ ได้ให้ความสำคัญและมีการดำเนินงานมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สามารถแก้ไขปัญหาและช่วยส่งเสริมคุณภาพชีวิตให้กับชุมชน ตลอดจนกลุ่มเปราะบางให้สามารถดำรงชีวิตตามปัจจัยขั้นพื้นฐานในสังคมได้อย่างยั่งยืน
นอกจากนี้บริษัทฯ ยังมีแนวทางและแผนการดำเนินงานในการขับเคลื่อนผ่าน ‘โครงการซีพีเพื่อความยั่งยืน’ กำหนดกลยุทธ์การดำเนินโครงการผ่านตัวแทนจากแต่ละกลุ่มธุรกิจ เพื่อให้การดำเนินงานมีความสอดคล้องและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน พร้อมกันนี้บริษัทฯ มีความมุ่งมั่นในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชนผ่านแนวทางการดำเนินงาน
บริษัทฯ อาทิ การพัฒนาชุมชน (Community Development) การขจัดความยากจน (Poverty Reduction) และการเกษตรกรรม (Agriculture) อีกทั้งมีการเชิดชูโครงการที่โดดเด่นเพื่อยกย่องให้เป็นแบบอย่างที่ดีของบริษัทฯ
สร้างสรรค์คุณค่า
  • การส่งเสริมองค์ความรู้และทักษะ
  • การฝึกอบรม
  • การให้คำปรึกษา
  • การถ่ายทอดเทคโนโลยี
  • การพัฒนาโครงสร้าง
  • พื้นฐานเพื่อการเรียนรู้
ส่งเสริมการมีส่วนร่วม
  • การเข้าถึงแหล่งเงินทุน
  • การแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์
  • การสร้างสรรค์คุณค่าสู่นวัตกรรม
ส่วนหนึ่งของธุรกิจ
  • การจ้างงานสร้างรายได้
  • การตลาดและการเข้าถึงลูกค้า
สนับสนุนการเงิน
  • การลงทุนในชุมชน
  • การบริจาค
การลงทุนทางสังคม
แนวทางการบริหารจัดการ

บริษัท ซี.พี. อินเตอร์เทรด จำกัดและบริษัทในกลุ่มธุรกิจการค้าระหว่างประเทศให้ความสำคัญกับภาคเกษตรซึ่งในระบบเศรษฐกิจสังคมไทย และทั่วโลก เพราะเกี่ยวข้องกับชีวิตความเป็นอยู่คนจำนวนมาก และ เกษตรกรส่วนใหญ่ยังคงมีความยากจน เนื่องจาก เกษตรกรขาด 4 เรื่อง คือขาดเงินทุน ขาดความรู้ ขาดเทคโนโลยี และขาดตลาด ในขณะที่กลุ่มธุรกิจฯ มีทรัพยากรและสามารถสร้างความร่วมมือจากผู้ที่เกี่ยวข้อง ในการที่จะยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกร โดยเฉพาะการขจัด ความยากจน ซึ่งจะสนับสนุนเป้าหมายที่ยั่งยืน (SDGs) เป้าหมายที่ 1

กลุ่มธุรกิจฯ ดำเนินงานโครงการส่งเสริมเกษตรกรรายย่อย ในโครงการส่งเสริมของบริษัทฯ ด้วยความมุ่งหวังที่จะส่งเสริมอาชีพและรายได้แก่เกษตรกรไทย โดย ไม่การผูกมัดเป็นสัญญา แต่ให้โอกาสกับเกษตรในการที่จะขายสินค้าไปยังผู้ซื้อที่ให้ราคาที่เหมาะสมที่สุด เป็นการทำธุรกิจที่เกษตรกรมีตลาดรองรับผลผลิตที่แน่นอน และบริหารจัดการนาข้าวภายใต้มาตรฐานเดียวกับบริษัท ซึ่งเทียบเท่ามาตรฐานสากลเพื่อประโยชน์โดยตรงต่อเกษตรกรในด้านการมีรายได้ที่แน่นอน และเพื่อผู้บริโภคที่จะได้บริโภคอาหารคุณภาพและปลอดภัย

  • การส่งเสริมการตลาดและช่องทางจำหน่ายให้แก่เกษตรกร
  • การส่งเสริมเกษตรกรในระบบสมาชิก
  • โครงการ 4 ประสาน เพื่อนวัตกรรมการเกษตรทันสมัย และยั่งยืน
  • การส่งเสริมความรู้ เทคโนโลยีและทักษะ
    และการจ้างงานเกษตรกรท้องถิ่น
  • การส่งเสริมการเข้าถึงแหล่งเงินทุนให้แก่เกษตรกร
  • การพัฒนาธุรกิจเพื่อสังคมการจัดซื้อวัตถุดิบ
    ทางการเกษตรโดยตรงจากเกษตรกรผู้ผลิต
  • การจัดซื้อวัตถุดิบทางการเกษตรโดยตรงจากเกษตรกรผู้ผลิต
ส่งเสริมคุณภาพชีวิตเกษตรกร
“ข้าวชาวนาไทย ปี 3”

ตราฉัตร ร่วมกับบริษัทพันธมิตรภายใต้เครือเจริญโภคภัณฑ์ ผสานโครงการ “ข้าวชาวนาไทย ปี 3” ช่วยชาวนา รับมือพิษโควิดและราคาข้าวหอมมะลิตกต่ำ ชวนคนไทยหันมากินข้าวหอมมะลิจากชาวนาไทย ผ่านช่องทางจำหน่ายร้านสะดวกซื้อและห้างค้าใกล้บ้านภายใต้เครือเจริญโภคภัณฑ์ อาทิ 7-Eleven, แมคโคร และซีพี เฟรชมาร์ท

นายฐิติ ลุจินตานนท์ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ ธุรกิจการค้าข้าวและอาหารในประเทศและต่างประเทศ เปิดเผยว่า “อุตสาหกรรมข้าวไทย ปี 2563 มีแนวโน้มตกต่ำ ทั้งในเชิงปริมาณและมูลค่าการส่งออก ซึ่งในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ประเทศผู้นำเข้าข้าวรายใหญ่และเป็นผู้ผลิตข้าวที่สำคัญของโลก อาทิ จีน อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ มีนโยบายลดการพึ่งพา ชะลอการซื้อ เน้นเพิ่มผลผลิตข้าวภายในประเทศ ประกอบกับหลังเกิดการแพร่กระจายเชื้อไวรัสโควิด-19 เป็นผลให้ตั้งแต่เดือนมีนาคม การส่งออกหยุดชะงัก ทำให้สินค้าเกษตรส่งออกหลายชนิด รวมถึงข้าวหอมมะลิได้รับผลกระทบไปด้วย ไม่สามารถส่งออกตลาดต่างประเทศได้ ทำให้การส่งออกชะลอตัว กลุ่มผู้บริโภคทั้งตลาดไทยและต่างประเทศมีกำลังการซื้อที่หดตัวลง หันไปซื้อข้าวคุณภาพใกล้เคียงหอมมะลิที่มีราคาถูกกว่า ประกอบกับปีนี้ปริมาณภาวะน้ำฝนค่อนข้างอุดมสมบูรณ์ มีปริมาณมากกว่าปีก่อน ซึ่งปัจจัยต่างๆ นี้ ส่งผลทำให้เกษตรกรผู้ปลูกต้องเผชิญวิกฤติราคาข้าวตกต่ำ

บริษัท ซี.พี. อินเตอร์เทรด จำกัด ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายข้าวสารบรรจุถุงแบรนด์ “ข้าวตราฉัตร” จากที่เห็นถึงปัญหาที่เกิดขึ้นในขณะนี้ ทางบริษัทฯ จึงขอเป็นส่วนหนึ่งในการแสดงความห่วงใยต่อพี่น้องเกษตรกรชาวนาไทย จัดโครงการ “ข้าวชาวนาไทย ปี 3” ขึ้น โดยเปิดจุดรับซื้อข้าวเกี่ยวสดตรงจากเกษตรกรชาวนา ผ่านโรงสีท่าข้าวสหกรณ์ สกก. รวมทั้ง สกต.เพิ่ม รวมทั้งหมด 46 จุด ทั่วประเทศ อาทิ จังหวัดเชียงราย พะเยา ยโสธร สุรินทร์ มหาสารคาม บุรีรัมย์ ร้อยเอ็ด ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี เป็นต้น ภายใต้พื้นที่โครงการพัฒนาระบบการปลูกข้าวเพื่อความยั่งยืน ของบริษัทฯ รวม 190,198 ไร่

ตราฉัตร ร่วมกับบริษัทพันธมิตรภายใต้เครือเจริญโภคภัณฑ์ ผสานโครงการ “ข้าวชาวนาไทย ปี 3” ช่วยชาวนา รับมือพิษโควิดและราคาข้าวหอมมะลิตกต่ำ ชวนคนไทยหันมากินข้าวหอมมะลิจากชาวนาไทย ผ่านช่องทางจำหน่ายร้านสะดวกซื้อและห้างค้าใกล้บ้านภายใต้เครือเจริญโภคภัณฑ์ อาทิ 7-Eleven, แมคโคร และซีพี เฟรชมาร์ท

นายฐิติ ลุจินตานนท์ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ ธุรกิจการค้าข้าวและอาหารในประเทศและต่างประเทศ เปิดเผยว่า “อุตสาหกรรมข้าวไทย ปี 2563 มีแนวโน้มตกต่ำ ทั้งในเชิงปริมาณและมูลค่าการส่งออก ซึ่งในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ประเทศผู้นำเข้าข้าวรายใหญ่และเป็นผู้ผลิตข้าวที่สำคัญของโลก อาทิ จีน อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ มีนโยบายลดการพึ่งพา ชะลอการซื้อ เน้นเพิ่มผลผลิตข้าวภายในประเทศ ประกอบกับหลังเกิดการแพร่กระจายเชื้อไวรัสโควิด-19 เป็นผลให้ตั้งแต่เดือนมีนาคม การส่งออกหยุดชะงัก ทำให้สินค้าเกษตรส่งออกหลายชนิด รวมถึงข้าวหอมมะลิได้รับผลกระทบไปด้วย ไม่สามารถส่งออกตลาดต่างประเทศได้ ทำให้การส่งออกชะลอตัว กลุ่มผู้บริโภคทั้งตลาดไทยและต่างประเทศมีกำลังการซื้อที่หดตัวลง หันไปซื้อข้าวคุณภาพใกล้เคียงหอมมะลิที่มีราคาถูกกว่า ประกอบกับปีนี้ปริมาณภาวะน้ำฝนค่อนข้างอุดมสมบูรณ์ มีปริมาณมากกว่าปีก่อน ซึ่งปัจจัยต่างๆ นี้ ส่งผลทำให้เกษตรกรผู้ปลูกต้องเผชิญวิกฤติราคาข้าวตกต่ำ

บริษัท ซี.พี. อินเตอร์เทรด จำกัด ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายข้าวสารบรรจุถุงแบรนด์ “ข้าวตราฉัตร” จากที่เห็นถึงปัญหาที่เกิดขึ้นในขณะนี้ ทางบริษัทฯ จึงขอเป็นส่วนหนึ่งในการแสดงความห่วงใยต่อพี่น้องเกษตรกรชาวนาไทย จัดโครงการ “ข้าวชาวนาไทย ปี 3” ขึ้น โดยเปิดจุดรับซื้อข้าวเกี่ยวสดตรงจากเกษตรกรชาวนา ผ่านโรงสีท่าข้าวสหกรณ์ สกก. รวมทั้ง สกต.เพิ่ม รวมทั้งหมด 46 จุด ทั่วประเทศ อาทิ จังหวัดเชียงราย พะเยา ยโสธร สุรินทร์ มหาสารคาม บุรีรัมย์ ร้อยเอ็ด ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี เป็นต้น ภายใต้พื้นที่โครงการพัฒนาระบบการปลูกข้าวเพื่อความยั่งยืน ของบริษัทฯ รวม 190,198 ไร่

อีกทั้งมีเกษตรกรสมาชิกโครงการฯ ผู้ปลูกข้าวหอมมะลิ ทั้งหมด 9,509 ราย บริษัทจะรับซื้อในราคานำตลาด ให้ราคารับซื้อบวกเพิ่มกับเกษตรกรชาวนาจากราคาทั่วไปอีก ตันละ 300 บาท (ความชื้นไม่เกิน 30%) ข้าวที่มีการรับซื้อทั้งหมดจะนำมาเข้ากระบวนการผลิตปรับปรุงคุณภาพและบรรจุถุงภายใต้แบรนด์ “ข้าวชาวนาไทย” พร้อมช่วยเกษตรกรชาวนาไทย ผลักดันสินค้าสู่ตลาดผู้บริโภคในราคาพิเศษ”

นายฐิติ กล่าวต่อว่า ““ข้าวชาวนาไทย” เป็นข้าวหอมมะลิแท้ 100% (อายุข้าว 1-3 เดือน) มีจุดขายพิเศษคือ ขาวใส หอม นุ่มเหนียว อร่อย เป็นข้าวหอมมะลิแรกเกี่ยวคุณภาพดีสดใหม่จากนา รับซื้อโดยตรงจากชาวนาไทย ผ่านกระบวนการผลิตจากโรงงานขนาดใหญ่ และทันสมัย ได้มาตรฐานสากล ซึ่งจะเปิดจำหน่ายล็อตแรก ขนาด 5 กก. ราคาเพียง 165 บาทเท่านั้น ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2563 ถึง31 มกราคม 2564 สามารถหาซื้อได้ผ่านช่องทางต่างๆ ภายใต้เครือเจริญโภคภัณฑ์ เท่านั้น”

การสนับสนุนกลุ่มเปราะบาง
แนวทางการบริหารจัดการ

ความท้าทายที่ส่งผลไปทั่วโลกในปัจจุบันคือจำนวนประชากรโลก ที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง การส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิต ให้ประชากรกลุ่มเปราะบางได้รับความเท่าเทียมในสังคมจึงเป็น สิ่งที่ควรให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เพื่อลดความเหลื่อมล้ำทาง สังคมที่เกิดขึ้น ภายใต้แนวคิดที่ว่า ‘การสร้างรากฐานทางธุรกิจ ให้แข็งแรง ต้องดำเนินควบคู่ไปพร้อมกับการสร้างรากฐาน คุณภาพชีวิตของคนในสังคม’ จึงทำให้กลุ่มธุรกิจฯ มีแนวคิดและตระหนักถึงการสนับสนุนแก่คนในสังคมอย่างต่อเนื่อง

บริษัทเชื่อมั่นว่าธุรกิจจะเติบโตอย่างยั่งยืนได้ ชุมชนและสังคมจะต้องพัฒนาไปพร้อมๆ กัน เราจึงเล็งเห็นถึงความสำคัญในการสนับสนุนกิจกรรมเพื่อสังคมและชุมชน และด้วยตระหนักถึงบทบาทหน้าที่ของพลเมืองที่ดีและหลักปรัชญา 3 ประโยชน์สู่ความยั่งยืนของบริษัท(ต่อประเทศ ประชาชน และบริษัท) เราจึงมุ่งส่งเสริมกิจกรรมต่างๆที่เอื้อประโยชน์แก่ประชากรกลุ่มเปราะบาง อาทิ ผู้พิการ ผู้สูงวัย เด็กผู้ด้อยโอกาส ทางสังคม โดยเฉพาะรอบพื้นที่ที่บริษัทดำเนินกิจการอยู่ โดยใช้ความรู้และความเชี่ยวชาญที่มีในการสร้างผลกระทบ เชิงบวกให้กับสังคมผ่านรูปแบบการสนับสนุนที่หลากหลายได้แก่ การสนับสนุนเงินการมอบสิ่งของ การทำจิตอาสา รวมถึงการถ่ายทอดองค์ความรู้ในรูปแบบต่างๆ โดยเฉพาะเรื่องการเข้าถึงอาหารที่ถูกหลักโภชนาการและการศึกษาอย่างทั่วถึง เพื่อร่วมสร้างสังคมให้มั่นคงและเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาในภาพรวมของประเทศ

โครงการ
เพื่อผู้พิการ
โครงการ
ส่งเสริมเด็กและ
ผู้ด้อยโอกาส
โครงการ
เพื่อผู้สูงอายุ
กิจกรรมเพื่อสังคม เพื่อตอบสนองกลุ่มเปราะบาง
กลับไป
ด้านบน
อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ

HEALTH : LIVING WELL
คุณค่าและการสร้างประโยชน์
ทางเศรษฐกิจให้แก่สังคม