ด้านความยั่งยืน
บุคลากรบริษัทฯ อย่างต่อเนื่อง
นอกจากนี้กลุ่มธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ และพืชครบวงจร (ข้าวโพด) เครือเจริญโภคภัณฑ์ ยังมุ่งมั่นที่จะดำเนิน
ธุรกิจอย่างยั่งยืนให้มากกว่าการปฏิบัติตามกฎระเบียบ ข้อบังคับ และมาตรฐานของประเทศที่บริษัทฯ เข้าไปดำเนินธุรกิจ โดยการปฏิบัติตามหลักการสากลด้านความยั่งยืน เช่น ข้อตกลงโลกแห่งสหประชาชาติ (UN Global Compact) หลักปฏิบัติของสหประชาชาติว่าด้วยการดำเนินธุรกิจและสิทธิมนุษยชน (UN Guiding Principles on Business and Human Rights: UNGP) และเป้าหมายการพัฒนาที่อย่างยืนขององค์การสหประชาชาติ (UN Sustainable Development Goals: UN SDGs)
ปี 2559-2563

เศรษฐกิจพอเพียง
สู่ความเป็นเลิศ
17 UN SDGs & UNGP
และมาตรฐานใน
แต่ละประเทศ

-
การกำกับดูแลกิจการ
-
สิทธิมนุษยชนและ
การปฏิบัติด้านแรงงาน -
การศึกษา
-
การพัฒนาผู้นำและ
ทรัพยากรบุคคล

-
สุขภาพและสุขภาวะที่ดี
-
คุณค่าทางสังคม
-
การบริหารจัดการนวัตกรรม
-
การสร้างความผูกพัน
กับผู้มีส่วนได้เสีย

-
การจัดการการเปลี่ยนแปลง
สภาพภูมิอากาศ -
การดูแลรักษาทรัพยากรน้ำ
-
การปกป้องระบบนิเวศ
และความหลากหลายทางชีวภาพ -
การจัดการห่วงโซ่อุปทาน
อย่างรับผิดชอบ
ในปี 2559 กลุ่มธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ และพืชครบวงจร (ข้าวโพด) ได้นำยุทธศาสตร์ด้านความยั่งยืน และเป้าหมายความยั่งยืนของเครือเจริญโภคภัณฑ์ มาเป็นกรอบในการดำเนินงานด้านความยั่งยืน ภายใต้กรอบการทำงาน 3Hs คือ HEART – มุ่งมั่นทำธุรกิจด้วยใจที่ยั่งยืน HEALTH – มุ่งมั่นสร้างสังคมที่ยั่งยืน HOME – มุ่งมั่นเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน โดยยุทธศาสตร์ความยั่งยืนของเครือฯ นั้น ประกอบไปด้วยองค์ประกอบหลัก 4 ประการ ซึ่งอยู่ภายใต้หัวใจสำคัญของการดำเนินธุรกิจและรากฐานความยั่งยืนของเครือฯ คือ ปรัชญา 3 ประโยชน์ ที่มุ่งสร้างสรรค์ประโยชน์แก่ประเทศชาติ สังคม และบริษัท
องค์ประกอบแรก คือ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
โดยสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินธุรกิจได้ตลอดห่วงโซ่อุปทาน โดยมีหลักการว่า
ธุรกิจจะต้องรู้และเข้าใจขีดความสามารถของตนเอง และดำเนินธุรกิจอย่างเพียงพอและพอดี
องค์ประกอบที่สอง คือ แนวทาง ซีพี สู่ความเป็นเลิศ (C.P. Excellence)
หรือหลักการบริหารจัดการคุณภาพโดยรวม
(Total Quality Management: TQM)
เพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับองค์กรจากการผนักกำลังภายในเครือฯ ทั้งด้านธุรกิจ บุคลากร
และจิตใจ องค์ประกอบที่สาม คือ
หลักการสากลที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ได้แก่
ข้อตกลงแห่งสหประชาชาติ (UN Global Compact)
หลักปฏิบัติของสหประชาชาติว่าด้วยการดำเนินธุรกิจและสิทธิมนุษยชน (UN Guiding Principles on
Business and Human Rights: UNGP) และเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ
(UN Sustainable Development Goals: UN SDGs) โดยกลุ่มธุรกิจฯ
มุ่งมั่นดำเนินธุรกิจให้สอดคล้องตามหลักการดังกล่าว
พร้อมทั้งสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนครบทั้ง 17 เป้าหมาย องค์ประกอบสุดท้าย คือ
การปฏิบัติตามกฎระเบียบ ข้อบังคับ และมาตรฐานของประเทศที่กลุ่มธุรกิจฯ เข้าไปดำเนินธุรกิจ
ซึ่งถือเป็นพื้นฐานการดำเนินธุรกิจ
นอกจากนี้กลุ่มธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ และพืชครบวงจร (ข้าวโพด) และบริษัทในกลุ่มธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ ยังให้ความสำคัญกับการดำเนินธุรกิจบนหลักธรรมาภิบาล ความโปร่งใส การตรวจสอบได้ รวมทั้งความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ที่สะท้อนให้เห็นตลอดการดำเนินงานของเครือฯ โดยมีจุดประสงค์เพื่อความยั่งยืนในระยะยาว และเพื่อประโยชน์สูงสุดแก่ผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม
ปี 2564-2573

เศรษฐกิจพอเพียง
สู่ความเป็นเลิศ
17 UN SDGs & UNGP
และมาตรฐานใน
แต่ละประเทศ

-
การกำกับดูแลกิจการ
-
สิทธิมนุษยชนและ
การปฏิบัติด้านแรงงาน -
การศึกษาและ
การลดความเหลื่อมล้ำ -
การพัฒนาผู้นำและ
ทรัพยากรบุคคล -
ความปลอดภัยทางทางไซเบอร์และการปกป้องข้อมูล*

-
สุขภาพและสุขภาวะที่ดี
-
คุณค่าและการสร้างประโยชน์ทางเศรษฐกิจให้แก่สังคม
-
การบริหารจัดการนวัตกรรม
-
การสร้างความผูกพัน
กับผู้มีส่วนได้เสีย -
อาชีวอนามัยและความปลอดภัย*

-
การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลง
สภาพภูมิอากาศ -
ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน*
-
การดูแลรักษาทรัพยากรน้ำ
-
การปกป้องระบบนิเวศและ
ความหลากหลายทางชีวภาพ -
การจัดการห่วงโซ่อุปทาน
อย่างรับผิดชอบ
ประเด็นสำคัญ
ด้านความยั่งยืน
โดยมีกระบวนการและขั้นตอนต่างๆ ในการประเมินประเด็นความยั่งยืนภายใต้หลักสำคัญ 10 ประการของ GRI Standards ซึ่งประกอบด้วยการมีส่วนร่วมของผู้ส่วนได้เสีย ในกระบวนการจัดทำรายงาน (Stakeholder Inclusiveness) การพิจารณาบริบทแห่งความยั่งยืน (Sustainability Context) การประเมินประเด็นด้านความยั่งยืนที่สำคัญ (Materiality) ความครบถ้วนสมบูรณ์ ของข้อมูล (Completeness) พร้อมทั้งทวนสอบคุณภาพของรายงานโดยดำเนินงานตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลที่เปิดเผย (Accuracy) ความสมดุลของผลการดำเนินงาน ทั้งเชิงบวกและเชิงลบ (Balance) ความชัดเจน และเข้าใจง่ายของข้อมูลต่อผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม (Clarity) การมีข้อมูลที่สามารถเปรียบเทียบได้เพื่อแสดงถึงแนวโน้มของการดำเนินงานที่ผ่านมา (Comparability) ความน่าเชื่อถือของข้อมูลและเนื้อหา (Reliability) และขอบเขตของเวลาในการรายงานเพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจของผู้มีส่วนได้เสีย (Timeliness) โดยมีกระบวนการและขั้นตอนการประเมินประเด็นความยั่งยืนที่สำคัญ ดังนี้
ประเด็นสำคัญ

ธุรกิจของเครือฯ ครอบคลุมถึง ทุกกิจการของกลุ่มธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ และพืชครบวงจร (ข้าวโพด) คำนึงถึงความหลากหลายของอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง ขั้นตอนการระบุประเด็นสำคัญประกอบด้วย
- ประเด็นสำคัญมาจากการอบรมเชิงปฏิบัติการด้านความยั่งยืนในปี 2559
ร่วมกันระหว่างผู้บริหาร รวมถึงรวบรวมข้อมูลของคู่ค้ามาร่วมพิจารณา
จากนั้นมีการทบทวนทุกปี ปีละ 1 ครั้ง
ผลการทบทวนประเด็นที่มีนัยสำคัญประจำปี 2563 ของเครือฯ และของกลุ่มธุรกิจ เป็นข้อมูลสำหรับการจัดทำรายงานฉบับนี้ - เทียบเคียงประเด็นความยั่งยืนของบริษัทในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ และพืชครบวงจร (ข้าวโพด) ประกอบไปด้วยเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs), ข้อตกลงโลกแห่งสหประชาชาติ (UN Global Compact), คณะกรรมการนักธุรกิจเพื่อสิ่งเเวดล้อมโลก (World Business Council for Sustainable Development : WBCSD), ดัชนีความยั่งยืนของดาวโจนส์ (Dow Jones Sustainability Index)
- ระบุกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียจากข้อมูลการสำรวจคู่ค้า ข้อมูลกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียของเครือฯ และข้อมูลกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียจากระบบมาตรฐานความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) ได้เป็นทั้งหมด 14 กลุ่ม
- รวบรวมประเด็นที่มีนัยสำคัญของกลุ่มธุรกิจ และจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นกับผู้มีส่วนได้เสียเพิ่มเติมจากการสำรวจแบบสอบถาม
ความสำคัญ

- ประชุมคณะกรรมการบริหารความยั่งยืนเพื่อพิจารณาข้อมูลประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืน แยกตามกลุ่มผู้มีส่วนได้เสีย ซึ่งเป็นข้อมูลจากผลการสำรวจ และประเด็นที่นัยสำคัญของเครือฯ
- สำรวจความคิดเห็นของตัวแทนพนักงาน คณะผู้บริหารของกลุ่มธุรกิจ และตัวแทนผู้มีส่วนได้เสียแบบออนไลน์
- นำประเด็นที่มีนัยสำคัญของการประชุม และการสำรวจมาคิดเห็น
มาจัดลำดับโดยผู้มีส่วนได้เสีย
ตามขั้นตอนดังนี้- กำหนดค่าถ่วงน้ำหนักของกลุ่มธุรกิจ
- กำหนดค่าถ่วงน้ำหนักของแต่ละกลุ่มผู้มีส่วนได้เสีย
- คำนวณคะแนนความสำคัญต่อผู้มีส่วนได้เสีย
- คำนวณคะแนนความสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจ
- จัดทำ Materiality Matrix
ความถูกต้องและ
ความน่าเชื่อถือ

ทวนสอบกระบวนการการจัดทำรายงานความยั่งยืนตามหลักการรายงานประเด็นสำคัญของมาตรฐาน GRI ให้ครบถ้วนทั้ง 4 ประการขั้นตอนการทวนสอบความถูกต้องและความน่าเชื่อถือ ประกอบด้วย
- สัมภาษณ์ผู้มีส่วนได้เสียภายนอกถึงประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืนต่อเครือฯ รวมถึงข้อคิดเห็นอื่นๆ เพื่อนำไปพัฒนารายงานความยั่งยืน
- พิจารณาและอนุมัติประเด็นที่มีนัยสำคัญและลำดับความสำคัญโดยคณะผู้บริหาร
- ทวนสอบและรับรองความถูกต้องของกระบวนการจัดทำรายงานความยั่งยืนโดยหน่วยงานอิสระ
อย่างต่อเนื่อง

กลุ่มธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ และพืชครบวงจร (ข้าวโพด) พร้อมรับฟังความคิดเห็นของทุกท่าน เพื่อนำไปพัฒนารายงานความยั่งยืนในอนาคต ให้สามารถตอบสนองความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสีย จึงได้เปิดช่องทางการติดต่อไว้หลากหลายช่องทาง
ที่มีนัยสำคัญด้านความยั่งยืน

หมายเหตุ :
ผลการทบทวนประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืน ในปี 2563
เมื่อวันที่ประชุม 15 เมษายน 2563 ไม่มีการเปลี่ยนแปลงประเด็นที่มีนัยสำคัญ
ทำให้กระบวนการช่องทางการมีส่วนร่วมของกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียยังคงเดิม
และมีผลทำให้ไม่มีการพิจารณาการเปลี่ยนแปลง

- 1 การกำกับดูแลกิจการ
- 2 สิทธิมนุษยชน และการปฏิบัติด้านแรงงาน
- 3 การพัฒนาผู้นำและ ทรัพยากรบุคคล
- 4 การศึกษา

- 5 คุณค่าทางสังคม
- 6 สุขภาพและสุขภาวะที่ดี
- 7 ความผูกพันกับผู้มีส่วนได้เสีย
- 8 การบริหารจัดการนวัตกรรม

- 9 การจัดการการเปลี่ยนแปลง
สภาพภูมิอากาศ - 10 การดูแลรักษาทรัพยากรน้ำ
- 11 การปกป้องระบบนิเวศและ
ความหลากหลายทางชีวภาพ - 12 การจัดการห่วงโซ่อุปทาน
อย่างรับผิดชอบ