เราตระหนักดีว่า ความแข็งแกร่งของห่วงโซ่ขึ้นอยู่กับโซ่ข้อมีแข็งแกร่งน้อยที่สุด ด้วยเหตุนี้บริษัทฯ จึงร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับคู่ค้าธุรกิจตลอดห่วงโซ่อุปทานเพื่อมุ่งสู่การปฏิบัติที่เป็นเลิศ ครบทุกมิติ ทั้งเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมบริษัทฯ ถือเป็นความท้าทายที่ยิ่งใหญ่ในการขับเคลื่อนเพื่อก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเชิงบวก ข้อจำกัดดังกล่าวมิได้ทำให้บริษัทฯ ยุติหรือย่อท้อ แต่ในทางกลับกัน บริษัทฯ ยังคงมุ่งมั่นอย่างตั้งใจจริง เพื่อพัฒนาศักยภาพของคู่ค้าให้ดียิ่งขึ้น เราจะร่วมกันคิด ร่วมกันสร้าง เพื่อก้าวสู่ความยั่งยืนไปพร้อมๆ กัน นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนเพื่อพัฒนาประเทศที่บริษัทฯ ได้มีการดำเนินธุรกิจหรือเข้าไปลงทุน ตามหลักค่านิยม 3 ประโยชน์




487 ราย

เป้าหมาย2563
-
จำนวนธุรกิจที่มีการประเมิน
และระบุคู่ค้าธุรกิจหลัก3677100% -
ร้อยละของคู่ค้าธุรกิจที่ได้รับ
การสื่อสารคู่มือจริยธรรม–98.50100100100%
กลุ่มธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ เครือเจริญโภคภัณฑ์ ให้ความสำคัญกับการบริหาร ห่วงโซ่อุปทานโดยการกำหนดขั้นตอนการบริหาร เพื่อเป็นแนวทางสำหรับทุกบริษัทในกลุ่มธุรกิจฯ ให้มีการบริหารห่วงโซ่อุปทาน ไปในทิศทางเดียวกัน โดยในการบริหารห่วงโซ่ อุปทานนั้น กลุ่มธุรกิจฯ เริ่มต้นจากการสื่อสารคู่มือ จรรยาบรรณสำหรับคู่ค้า ไปยังคู่ค้าธุรกิจทุกราย เพื่อให้คู่ค้าธุรกิจได้รับทราบนโยบายและความ คาดหวังของกลุ่มธุรกิจฯ และสามารถทำงานร่วมกัน ได้อย่างต่อเนื่อง

กลุ่มธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ เครือเจริญโภคภัณฑ์ มีการดำเนินงานธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับคู่ค้าเป็นจำนวนมาก ทางกลุ่มธุรกิจได้รับนโยบายจากเครือเจริญโภคภัณฑ์ และมีความมุ่งมั่นในการสร้างความตระหนักเรื่องการจัดการห่วงโซ่อุปทานอย่างรับผิดชอบ กับคู่ค้าธุรกิจหลัก (Critical Supplier) เป็นอันดับแรก โดยหลักการที่ใช้ในการแบ่งประเภทคู่ค้าหลักมีดังนี้
- คู่ค้าที่เป็นผู้ส่งมอบวัตถุดิบหลักที่เป็นส่วนประกอบสำคัญ
- คู่ค้าที่เป็นผู้ส่งมอบวัตถุดิบหลักที่หาทดแทนไม่ได้
- คู่ค้าที่มีมูลค่าการซื้อ-ขายสูง
นอกจากนี้ได้บ่งชี้เพื่อค้นหาคู่ค้าธุรกิจที่มีความเสี่ยงด้วยการประเมินความเสี่ยงด้านความยั่งยืนตลอดห่วงโซ่อุปทานผ่านเกณฑ์ประเมิน 2 มิติ คือระดับความรุนแรงของผลกระทบ และโอกาสที่จะเกิดความเสี่ยงซึ่งประเด็นความเสี่ยงที่ใช้ในการประเมินนำมาจากช่องทาง ที่เชื่อถือได้ดังนี้ 1) ข่าวสาร 2) ผลการดำเนินงานในอดีต 3) ปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวเนื่องกับอุตสาหกรรม และ 4) แนวโน้ม ความเสี่ยงที่มีโอกาสเกิดในอนาคต ทั้งนี้การประเมินความเสี่ยงครอบคลุมถึงกลุ่มวัตถุดิบ กลุ่มบรรจุภัณฑ์ และกลุ่มผู้ให้บริการที่ไม่ได้จำกัดแค่เฉพาะคู่ค้าธุรกิจลำดับที่ 1 (Tier 1) ที่ทำการซื้อ-ขายโดยตรงเท่านั้นแต่ยังคงรวมถึงคู่ค้าธุรกิจลำดับอื่นๆ (Non-Tier 1) อีกด้วย

กลุ่มธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ มุ่งมั่นสร้างเสริมศักยภาพคู่ค้า ในมิติต่างๆ ที่จำเป็นทั้งการผลิตอย่างปลอดภัยและมีความยั่งยืน จึงนำระบบการจัดการมาประยุกต์ใช้ เพื่อให้มีการวางแผนการดำเนินงานและการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล และส่งเสริมด้าน การตลาดเพื่อเพิ่มคุณค่าและส่งเสริมศักยภาพให้คู่ค้า และดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน
-
การให้ความรู้
- การใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า
- ความปลอดภัยทางอาหาร
- ความปลอดภัยและอาชีวอนามัย
- หลักการความยั่งยืน
-
ระบบการจัดการ
- การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (GAP)
- หลักเกณฑ์และวิธีการที่ดีในการผลิตอาหาร (GMP)
- ระบบการตรวจสอบย้อนกลับ
- มาตรฐานระดับสากล
-
การเพิ่มคุณค่า
- การพัฒนาผลิตภัณฑ์
- การเพิ่มประสิทธิภาพ
- การใช้เครื่องมือเกษตรที่ทันสมัย
- การจัดหาปัจจัยการผลิตตามหลัก วิชาการ
-
การสานพลัง
- การสร้างเครือข่ายการเรียนรู้
- การผนึกกําลังกับภาครัฐ
- การแบ่งปันประสบการณ์และแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศ
- การสร้างเครือข่ายอุปกรณ์
- การเกษตรเพื่อลดทุน
-
เทคโนโลยีดิจิทัล
- การใช้ดิจิทัลแพลตฟอร์มเพื่อวางแผนการเพาะปลูก
- การสร้างช่องทางการสื่อสาร
- การให้ความรู้
- การขึ้นทะเบียนเกษตรกร
- การรับข้อเสนอแนะและข้อร้องเรียน
-
ตลาด/การเงิน
- การกําหนดราคาขายอย่างเป็นธรรม
- การรับประกันราคารับซื้อคืน
- การวางแผนการผลิตบนความต้องการตลาดที่แท้จริง
- การสนับสนุนสินเชื่อ
ของคู่ค้าธุรกิจ
-
การระบุหาคู่ค้าธุรกิจหลัก
และคู่ค้าธุรกิจลำดับอื่นๆ -
การสื่อสารประเด็น
ด้านความยั่งยืนไปยังคู่ค้า -
การประเมินตนเอง
ด้านความยั่งยืน
ของคู่ค้าธุรกิจหลัก
กลุ่มธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ เครือเจริญโภคภัณฑ์ มีการนำประเด็นด้านความยั่งยืนเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของการคัดเลือกคู่ค้า โดยเริ่มตั้งแต่กระบวนการคัดเลือกคู่ค้ารายใหม่ ไปจนถึงการประเมินคู่ค้าเพื่อรักษาสถานะการเป็นคู่ค้า ซึ่งได้มีการพิจารณาถึงผลการดำเนินด้านความยั่งยืนของคู่ค้าธุรกิจผ่านวิธีการที่เหมาะสมกับธุรกิจนั้นๆ อาทิ การประเมินด้วยตนเอง การตรวจประเมินที่กระทำโดยบริษัทในกลุ่มธุรกิจ หรือหน่วยงานภายนอกที่น่าเชื่อถือตามมาตรฐานสากลด้านความยั่งยืนอาทิ ISO 14001, ISO 45001 และ Supplier Ethic Data Exchange (SEDEX) ทั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหาโอกาสในการปรับปรุงและกำหนดมาตรฐานการจัดการเชิงรุก เพื่อการประสานความร่วมมือระหว่างคู่ค้าและกลุ่มธุรกิจ
เราตระหนักดีว่า ความแข็งแกร่งของห่วงโซ่ขึ้นอยู่กับโซ่ข้อมีแข็งแกร่งน้อยที่สุด ด้วยเหตุนี้บริษัทฯ จึงร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับคู่ค้าธุรกิจตลอดห่วงโซ่อุปทานเพื่อมุ่งสู่การปฏิบัติที่เป็นเลิศ ครบทุกมิติ ทั้งเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมบริษัทฯ ถือเป็นความท้าทายที่ยิ่งใหญ่ในการขับเคลื่อนเพื่อก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเชิงบวก ข้อจำกัดดังกล่าวมิได้ทำให้บริษัทฯ ยุติหรือย่อท้อ แต่ในทางกลับกัน บริษัทฯ ยังคงมุ่งมั่นอย่างตั้งใจจริง เพื่อพัฒนาศักยภาพของคู่ค้าให้ดียิ่งขึ้น เราจะร่วมกันคิด ร่วมกันสร้าง เพื่อก้าวสู่ความยั่งยืนไปพร้อมๆ กัน นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนเพื่อพัฒนาประเทศที่บริษัทฯ ได้มีการดำเนินธุรกิจหรือเข้าไปลงทุน ตามหลักค่านิยม 3 ประโยชน์




487 ราย

เป้าหมาย2563
-
จำนวนธุรกิจที่มีการประเมิน
และระบุคู่ค้าธุรกิจหลัก3677100% -
ร้อยละของคู่ค้าธุรกิจที่ได้รับ
การสื่อสารคู่มือจริยธรรม–98.50100100100%
กลุ่มธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ เครือเจริญโภคภัณฑ์ ให้ความสำคัญกับการบริหาร ห่วงโซ่อุปทานโดยการกำหนดขั้นตอนการบริหาร เพื่อเป็นแนวทางสำหรับทุกบริษัทในกลุ่มธุรกิจฯ ให้มีการบริหารห่วงโซ่อุปทาน ไปในทิศทางเดียวกัน โดยในการบริหารห่วงโซ่ อุปทานนั้น กลุ่มธุรกิจฯ เริ่มต้นจากการสื่อสารคู่มือ จรรยาบรรณสำหรับคู่ค้า ไปยังคู่ค้าธุรกิจทุกราย เพื่อให้คู่ค้าธุรกิจได้รับทราบนโยบายและความ คาดหวังของกลุ่มธุรกิจฯ และสามารถทำงานร่วมกัน ได้อย่างต่อเนื่อง

กลุ่มธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ เครือเจริญโภคภัณฑ์ มีการดำเนินงานธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับคู่ค้าเป็นจำนวนมาก ทางกลุ่มธุรกิจได้รับนโยบายจากเครือเจริญโภคภัณฑ์ และมีความมุ่งมั่นในการสร้างความตระหนักเรื่องการจัดการห่วงโซ่อุปทานอย่างรับผิดชอบ กับคู่ค้าธุรกิจหลัก (Critical Supplier) เป็นอันดับแรก โดยหลักการที่ใช้ในการแบ่งประเภทคู่ค้าหลักมีดังนี้
- คู่ค้าที่เป็นผู้ส่งมอบวัตถุดิบหลักที่เป็นส่วนประกอบสำคัญ
- คู่ค้าที่เป็นผู้ส่งมอบวัตถุดิบหลักที่หาทดแทนไม่ได้
- คู่ค้าที่มีมูลค่าการซื้อ-ขายสูง
นอกจากนี้ได้บ่งชี้เพื่อค้นหาคู่ค้าธุรกิจที่มีความเสี่ยงด้วยการประเมินความเสี่ยงด้านความยั่งยืนตลอดห่วงโซ่อุปทานผ่านเกณฑ์ประเมิน 2 มิติ คือระดับความรุนแรงของผลกระทบ และโอกาสที่จะเกิดความเสี่ยงซึ่งประเด็นความเสี่ยงที่ใช้ในการประเมินนำมาจากช่องทาง ที่เชื่อถือได้ดังนี้ 1) ข่าวสาร 2) ผลการดำเนินงานในอดีต 3) ปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวเนื่องกับอุตสาหกรรม และ 4) แนวโน้ม ความเสี่ยงที่มีโอกาสเกิดในอนาคต ทั้งนี้การประเมินความเสี่ยงครอบคลุมถึงกลุ่มวัตถุดิบ กลุ่มบรรจุภัณฑ์ และกลุ่มผู้ให้บริการที่ไม่ได้จำกัดแค่เฉพาะคู่ค้าธุรกิจลำดับที่ 1 (Tier 1) ที่ทำการซื้อ-ขายโดยตรงเท่านั้นแต่ยังคงรวมถึงคู่ค้าธุรกิจลำดับอื่นๆ (Non-Tier 1) อีกด้วย

กลุ่มธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ มุ่งมั่นสร้างเสริมศักยภาพคู่ค้า ในมิติต่างๆ ที่จำเป็นทั้งการผลิตอย่างปลอดภัยและมีความยั่งยืน จึงนำระบบการจัดการมาประยุกต์ใช้ เพื่อให้มีการวางแผนการดำเนินงานและการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล และส่งเสริมด้าน การตลาดเพื่อเพิ่มคุณค่าและส่งเสริมศักยภาพให้คู่ค้า และดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน
-
การให้ความรู้
- การใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า
- ความปลอดภัยทางอาหาร
- ความปลอดภัยและอาชีวอนามัย
- หลักการความยั่งยืน
-
ระบบการจัดการ
- การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (GAP)
- หลักเกณฑ์และวิธีการที่ดีในการผลิตอาหาร (GMP)
- ระบบการตรวจสอบย้อนกลับ
- มาตรฐานระดับสากล
-
การเพิ่มคุณค่า
- การพัฒนาผลิตภัณฑ์
- การเพิ่มประสิทธิภาพ
- การใช้เครื่องมือเกษตรที่ทันสมัย
- การจัดหาปัจจัยการผลิตตามหลัก วิชาการ
-
การสานพลัง
- การสร้างเครือข่ายการเรียนรู้
- การผนึกกําลังกับภาครัฐ
- การแบ่งปันประสบการณ์และแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศ
- การสร้างเครือข่ายอุปกรณ์
- การเกษตรเพื่อลดทุน
-
เทคโนโลยีดิจิทัล
- การใช้ดิจิทัลแพลตฟอร์มเพื่อวางแผนการเพาะปลูก
- การสร้างช่องทางการสื่อสาร
- การให้ความรู้
- การขึ้นทะเบียนเกษตรกร
- การรับข้อเสนอแนะและข้อร้องเรียน
-
ตลาด/การเงิน
- การกําหนดราคาขายอย่างเป็นธรรม
- การรับประกันราคารับซื้อคืน
- การวางแผนการผลิตบนความต้องการตลาดที่แท้จริง
- การสนับสนุนสินเชื่อ
ของคู่ค้าธุรกิจ
-
การระบุหาคู่ค้าธุรกิจหลัก
และคู่ค้าธุรกิจลำดับอื่นๆ -
การสื่อสารประเด็น
ด้านความยั่งยืนไปยังคู่ค้า -
การประเมินตนเอง
ด้านความยั่งยืน
ของคู่ค้าธุรกิจหลัก
กลุ่มธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ เครือเจริญโภคภัณฑ์ มีการนำประเด็นด้านความยั่งยืนเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของการคัดเลือกคู่ค้า โดยเริ่มตั้งแต่กระบวนการคัดเลือกคู่ค้ารายใหม่ ไปจนถึงการประเมินคู่ค้าเพื่อรักษาสถานะการเป็นคู่ค้า ซึ่งได้มีการพิจารณาถึงผลการดำเนินด้านความยั่งยืนของคู่ค้าธุรกิจผ่านวิธีการที่เหมาะสมกับธุรกิจนั้นๆ อาทิ การประเมินด้วยตนเอง การตรวจประเมินที่กระทำโดยบริษัทในกลุ่มธุรกิจ หรือหน่วยงานภายนอกที่น่าเชื่อถือตามมาตรฐานสากลด้านความยั่งยืนอาทิ ISO 14001, ISO 45001 และ Supplier Ethic Data Exchange (SEDEX) ทั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหาโอกาสในการปรับปรุงและกำหนดมาตรฐานการจัดการเชิงรุก เพื่อการประสานความร่วมมือระหว่างคู่ค้าและกลุ่มธุรกิจ