ปัญหาความเหลื่อมล้ำเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดสภาวะการแบ่งแยกของผู้คนในสังคม (Social polarization) และการขาดความไว้เนื้อเชื่อใจในสังคม (Lack of social trust) ปัจจุบันสภาพแวดล้อมของสังคมมีความไว้เนื้อเชื่อใจต่ำ ทำให้ธุรกิจมีความเสี่ยงด้านชื่อเสียง และด้านการกำกับดูแลจากหน่วยงานทางการเพิ่มมากขึ้น ตลอดจนอาจส่งผลกระทบต่อผลประกอบการของการดำเนินธุรกิจในระยะยาว ดังนั้นปัญหาความเลื่อมล้ำจึงไม่ได้เป็นเพียงปัญหาสังคมที่อยู่ใกล้ตัวอีกต่อไป แต่กลายเป็นความเสี่ยงต่อภาคธุรกิจได้เช่นเดียวกัน ในขณะเดียวกันธุรกิจต้องมีการสร้างความเชื่อมโยงระหว่างธุรกิจ และสังคม โดยนำความต้องการหรือความคาดหวังของคนในสังคมมาบูรณาการเป็นส่วนหนึ่งของเป้าหมายขององค์กร






เป้าหมาย 2563
-
จำนวนเกษตรกรที่ได้รับ
การส่งเสริมอาชีพและรายได้1,2476,27910,1049,509100% -
จำนวนกลุ่มผู้เปราะบาง
ที่ได้รับการส่งเสริมอาชีพ
และ คุณภาพชีวิต–3752,4383,041100%
นอกจากนี้บริษัทฯ ยังมีแนวทางและแผนการดำเนินงานในการขับเคลื่อนผ่าน ‘โครงการซีพีเพื่อความยั่งยืน’ กำหนดกลยุทธ์การดำเนินโครงการผ่านตัวแทนจากแต่ละกลุ่มธุรกิจ เพื่อให้การดำเนินงานมีความสอดคล้องและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน พร้อมกันนี้บริษัทฯ มีความมุ่งมั่นในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชนผ่านแนวทางการดำเนินงาน
บริษัทฯ อาทิ การพัฒนาชุมชน (Community Development) การขจัดความยากจน (Poverty Reduction) และการเกษตรกรรม (Agriculture) อีกทั้งมีการเชิดชูโครงการที่โดดเด่นเพื่อยกย่องให้เป็นแบบอย่างที่ดีของบริษัทฯ
- การส่งเสริมองค์ความรู้และทักษะ
- การฝึกอบรม
- การให้คำปรึกษา
- การถ่ายทอดเทคโนโลยี
- การพัฒนาโครงสร้าง
- พื้นฐานเพื่อการเรียนรู้
- การเข้าถึงแหล่งเงินทุน
- การแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์
- การสร้างสรรค์คุณค่าสู่นวัตกรรม
- การจ้างงานสร้างรายได้
- การตลาดและการเข้าถึงลูกค้า
- การลงทุนในชุมชน
- การบริจาค

บริษัท ซี.พี. อินเตอร์เทรด จำกัดและบริษัทในกลุ่มธุรกิจการค้าระหว่างประเทศให้ความสำคัญกับภาคเกษตรซึ่งในระบบเศรษฐกิจสังคมไทย และทั่วโลก เพราะเกี่ยวข้องกับชีวิตความเป็นอยู่คนจำนวนมาก และ เกษตรกรส่วนใหญ่ยังคงมีความยากจน เนื่องจาก เกษตรกรขาด 4 เรื่อง คือขาดเงินทุน ขาดความรู้ ขาดเทคโนโลยี และขาดตลาด ในขณะที่กลุ่มธุรกิจฯ มีทรัพยากรและสามารถสร้างความร่วมมือจากผู้ที่เกี่ยวข้อง ในการที่จะยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกร โดยเฉพาะการขจัด ความยากจน ซึ่งจะสนับสนุนเป้าหมายที่ยั่งยืน (SDGs) เป้าหมายที่ 1
กลุ่มธุรกิจฯ ดำเนินงานโครงการส่งเสริมเกษตรกรรายย่อย ในโครงการส่งเสริมของบริษัทฯ ด้วยความมุ่งหวังที่จะส่งเสริมอาชีพและรายได้แก่เกษตรกรไทย โดย ไม่การผูกมัดเป็นสัญญา แต่ให้โอกาสกับเกษตรในการที่จะขายสินค้าไปยังผู้ซื้อที่ให้ราคาที่เหมาะสมที่สุด เป็นการทำธุรกิจที่เกษตรกรมีตลาดรองรับผลผลิตที่แน่นอน และบริหารจัดการนาข้าวภายใต้มาตรฐานเดียวกับบริษัท ซึ่งเทียบเท่ามาตรฐานสากลเพื่อประโยชน์โดยตรงต่อเกษตรกรในด้านการมีรายได้ที่แน่นอน และเพื่อผู้บริโภคที่จะได้บริโภคอาหารคุณภาพและปลอดภัย
- การส่งเสริมการตลาดและช่องทางจำหน่ายให้แก่เกษตรกร
- การส่งเสริมเกษตรกรในระบบสมาชิก
- โครงการ 4 ประสาน เพื่อนวัตกรรมการเกษตรทันสมัย และยั่งยืน
- การส่งเสริมความรู้ เทคโนโลยีและทักษะ
และการจ้างงานเกษตรกรท้องถิ่น - การส่งเสริมการเข้าถึงแหล่งเงินทุนให้แก่เกษตรกร
- การพัฒนาธุรกิจเพื่อสังคมการจัดซื้อวัตถุดิบ
ทางการเกษตรโดยตรงจากเกษตรกรผู้ผลิต - การจัดซื้อวัตถุดิบทางการเกษตรโดยตรงจากเกษตรกรผู้ผลิต

“ข้าวชาวนาไทย ปี 3”
ตราฉัตร ร่วมกับบริษัทพันธมิตรภายใต้เครือเจริญโภคภัณฑ์ ผสานโครงการ “ข้าวชาวนาไทย ปี 3” ช่วยชาวนา รับมือพิษโควิดและราคาข้าวหอมมะลิตกต่ำ ชวนคนไทยหันมากินข้าวหอมมะลิจากชาวนาไทย ผ่านช่องทางจำหน่ายร้านสะดวกซื้อและห้างค้าใกล้บ้านภายใต้เครือเจริญโภคภัณฑ์ อาทิ 7-Eleven, แมคโคร และซีพี เฟรชมาร์ท
นายฐิติ ลุจินตานนท์ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ ธุรกิจการค้าข้าวและอาหารในประเทศและต่างประเทศ เปิดเผยว่า “อุตสาหกรรมข้าวไทย ปี 2563 มีแนวโน้มตกต่ำ ทั้งในเชิงปริมาณและมูลค่าการส่งออก ซึ่งในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ประเทศผู้นำเข้าข้าวรายใหญ่และเป็นผู้ผลิตข้าวที่สำคัญของโลก อาทิ จีน อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ มีนโยบายลดการพึ่งพา ชะลอการซื้อ เน้นเพิ่มผลผลิตข้าวภายในประเทศ ประกอบกับหลังเกิดการแพร่กระจายเชื้อไวรัสโควิด-19 เป็นผลให้ตั้งแต่เดือนมีนาคม การส่งออกหยุดชะงัก ทำให้สินค้าเกษตรส่งออกหลายชนิด รวมถึงข้าวหอมมะลิได้รับผลกระทบไปด้วย ไม่สามารถส่งออกตลาดต่างประเทศได้ ทำให้การส่งออกชะลอตัว กลุ่มผู้บริโภคทั้งตลาดไทยและต่างประเทศมีกำลังการซื้อที่หดตัวลง หันไปซื้อข้าวคุณภาพใกล้เคียงหอมมะลิที่มีราคาถูกกว่า ประกอบกับปีนี้ปริมาณภาวะน้ำฝนค่อนข้างอุดมสมบูรณ์ มีปริมาณมากกว่าปีก่อน ซึ่งปัจจัยต่างๆ นี้ ส่งผลทำให้เกษตรกรผู้ปลูกต้องเผชิญวิกฤติราคาข้าวตกต่ำ
บริษัท ซี.พี. อินเตอร์เทรด จำกัด ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายข้าวสารบรรจุถุงแบรนด์ “ข้าวตราฉัตร” จากที่เห็นถึงปัญหาที่เกิดขึ้นในขณะนี้ ทางบริษัทฯ จึงขอเป็นส่วนหนึ่งในการแสดงความห่วงใยต่อพี่น้องเกษตรกรชาวนาไทย จัดโครงการ “ข้าวชาวนาไทย ปี 3” ขึ้น โดยเปิดจุดรับซื้อข้าวเกี่ยวสดตรงจากเกษตรกรชาวนา ผ่านโรงสีท่าข้าวสหกรณ์ สกก. รวมทั้ง สกต.เพิ่ม รวมทั้งหมด 46 จุด ทั่วประเทศ อาทิ จังหวัดเชียงราย พะเยา ยโสธร สุรินทร์ มหาสารคาม บุรีรัมย์ ร้อยเอ็ด ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี เป็นต้น ภายใต้พื้นที่โครงการพัฒนาระบบการปลูกข้าวเพื่อความยั่งยืน ของบริษัทฯ รวม 190,198 ไร่



ตราฉัตร ร่วมกับบริษัทพันธมิตรภายใต้เครือเจริญโภคภัณฑ์ ผสานโครงการ “ข้าวชาวนาไทย ปี 3” ช่วยชาวนา รับมือพิษโควิดและราคาข้าวหอมมะลิตกต่ำ ชวนคนไทยหันมากินข้าวหอมมะลิจากชาวนาไทย ผ่านช่องทางจำหน่ายร้านสะดวกซื้อและห้างค้าใกล้บ้านภายใต้เครือเจริญโภคภัณฑ์ อาทิ 7-Eleven, แมคโคร และซีพี เฟรชมาร์ท

นายฐิติ ลุจินตานนท์ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ ธุรกิจการค้าข้าวและอาหารในประเทศและต่างประเทศ เปิดเผยว่า “อุตสาหกรรมข้าวไทย ปี 2563 มีแนวโน้มตกต่ำ ทั้งในเชิงปริมาณและมูลค่าการส่งออก ซึ่งในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ประเทศผู้นำเข้าข้าวรายใหญ่และเป็นผู้ผลิตข้าวที่สำคัญของโลก อาทิ จีน อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ มีนโยบายลดการพึ่งพา ชะลอการซื้อ เน้นเพิ่มผลผลิตข้าวภายในประเทศ ประกอบกับหลังเกิดการแพร่กระจายเชื้อไวรัสโควิด-19 เป็นผลให้ตั้งแต่เดือนมีนาคม การส่งออกหยุดชะงัก ทำให้สินค้าเกษตรส่งออกหลายชนิด รวมถึงข้าวหอมมะลิได้รับผลกระทบไปด้วย ไม่สามารถส่งออกตลาดต่างประเทศได้ ทำให้การส่งออกชะลอตัว กลุ่มผู้บริโภคทั้งตลาดไทยและต่างประเทศมีกำลังการซื้อที่หดตัวลง หันไปซื้อข้าวคุณภาพใกล้เคียงหอมมะลิที่มีราคาถูกกว่า ประกอบกับปีนี้ปริมาณภาวะน้ำฝนค่อนข้างอุดมสมบูรณ์ มีปริมาณมากกว่าปีก่อน ซึ่งปัจจัยต่างๆ นี้ ส่งผลทำให้เกษตรกรผู้ปลูกต้องเผชิญวิกฤติราคาข้าวตกต่ำ

บริษัท ซี.พี. อินเตอร์เทรด จำกัด ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายข้าวสารบรรจุถุงแบรนด์ “ข้าวตราฉัตร” จากที่เห็นถึงปัญหาที่เกิดขึ้นในขณะนี้ ทางบริษัทฯ จึงขอเป็นส่วนหนึ่งในการแสดงความห่วงใยต่อพี่น้องเกษตรกรชาวนาไทย จัดโครงการ “ข้าวชาวนาไทย ปี 3” ขึ้น โดยเปิดจุดรับซื้อข้าวเกี่ยวสดตรงจากเกษตรกรชาวนา ผ่านโรงสีท่าข้าวสหกรณ์ สกก. รวมทั้ง สกต.เพิ่ม รวมทั้งหมด 46 จุด ทั่วประเทศ อาทิ จังหวัดเชียงราย พะเยา ยโสธร สุรินทร์ มหาสารคาม บุรีรัมย์ ร้อยเอ็ด ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี เป็นต้น ภายใต้พื้นที่โครงการพัฒนาระบบการปลูกข้าวเพื่อความยั่งยืน ของบริษัทฯ รวม 190,198 ไร่

อีกทั้งมีเกษตรกรสมาชิกโครงการฯ ผู้ปลูกข้าวหอมมะลิ ทั้งหมด 9,509 ราย บริษัทจะรับซื้อในราคานำตลาด ให้ราคารับซื้อบวกเพิ่มกับเกษตรกรชาวนาจากราคาทั่วไปอีก ตันละ 300 บาท (ความชื้นไม่เกิน 30%) ข้าวที่มีการรับซื้อทั้งหมดจะนำมาเข้ากระบวนการผลิตปรับปรุงคุณภาพและบรรจุถุงภายใต้แบรนด์ “ข้าวชาวนาไทย” พร้อมช่วยเกษตรกรชาวนาไทย ผลักดันสินค้าสู่ตลาดผู้บริโภคในราคาพิเศษ”
นายฐิติ กล่าวต่อว่า ““ข้าวชาวนาไทย” เป็นข้าวหอมมะลิแท้ 100% (อายุข้าว 1-3 เดือน) มีจุดขายพิเศษคือ ขาวใส หอม นุ่มเหนียว อร่อย เป็นข้าวหอมมะลิแรกเกี่ยวคุณภาพดีสดใหม่จากนา รับซื้อโดยตรงจากชาวนาไทย ผ่านกระบวนการผลิตจากโรงงานขนาดใหญ่ และทันสมัย ได้มาตรฐานสากล ซึ่งจะเปิดจำหน่ายล็อตแรก ขนาด 5 กก. ราคาเพียง 165 บาทเท่านั้น ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2563 ถึง31 มกราคม 2564 สามารถหาซื้อได้ผ่านช่องทางต่างๆ ภายใต้เครือเจริญโภคภัณฑ์ เท่านั้น”
ความท้าทายที่ส่งผลไปทั่วโลกในปัจจุบันคือจำนวนประชากรโลก ที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง การส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิต ให้ประชากรกลุ่มเปราะบางได้รับความเท่าเทียมในสังคมจึงเป็น สิ่งที่ควรให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เพื่อลดความเหลื่อมล้ำทาง สังคมที่เกิดขึ้น ภายใต้แนวคิดที่ว่า ‘การสร้างรากฐานทางธุรกิจ ให้แข็งแรง ต้องดำเนินควบคู่ไปพร้อมกับการสร้างรากฐาน คุณภาพชีวิตของคนในสังคม’ จึงทำให้กลุ่มธุรกิจฯ มีแนวคิดและตระหนักถึงการสนับสนุนแก่คนในสังคมอย่างต่อเนื่อง
บริษัทเชื่อมั่นว่าธุรกิจจะเติบโตอย่างยั่งยืนได้ ชุมชนและสังคมจะต้องพัฒนาไปพร้อมๆ กัน เราจึงเล็งเห็นถึงความสำคัญในการสนับสนุนกิจกรรมเพื่อสังคมและชุมชน และด้วยตระหนักถึงบทบาทหน้าที่ของพลเมืองที่ดีและหลักปรัชญา 3 ประโยชน์สู่ความยั่งยืนของบริษัท(ต่อประเทศ ประชาชน และบริษัท) เราจึงมุ่งส่งเสริมกิจกรรมต่างๆที่เอื้อประโยชน์แก่ประชากรกลุ่มเปราะบาง อาทิ ผู้พิการ ผู้สูงวัย เด็กผู้ด้อยโอกาส ทางสังคม โดยเฉพาะรอบพื้นที่ที่บริษัทดำเนินกิจการอยู่ โดยใช้ความรู้และความเชี่ยวชาญที่มีในการสร้างผลกระทบ เชิงบวกให้กับสังคมผ่านรูปแบบการสนับสนุนที่หลากหลายได้แก่ การสนับสนุนเงินการมอบสิ่งของ การทำจิตอาสา รวมถึงการถ่ายทอดองค์ความรู้ในรูปแบบต่างๆ โดยเฉพาะเรื่องการเข้าถึงอาหารที่ถูกหลักโภชนาการและการศึกษาอย่างทั่วถึง เพื่อร่วมสร้างสังคมให้มั่นคงและเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาในภาพรวมของประเทศ

เพื่อผู้พิการ

ส่งเสริมเด็กและ
ผู้ด้อยโอกาส

เพื่อผู้สูงอายุ
ปัญหาความเหลื่อมล้ำเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดสภาวะการแบ่งแยกของผู้คนในสังคม (Social polarization) และการขาดความไว้เนื้อเชื่อใจในสังคม (Lack of social trust) ปัจจุบันสภาพแวดล้อมของสังคมมีความไว้เนื้อเชื่อใจต่ำ ทำให้ธุรกิจมีความเสี่ยงด้านชื่อเสียง และด้านการกำกับดูแลจากหน่วยงานทางการเพิ่มมากขึ้น ตลอดจนอาจส่งผลกระทบต่อผลประกอบการของการดำเนินธุรกิจในระยะยาว ดังนั้นปัญหาความเลื่อมล้ำจึงไม่ได้เป็นเพียงปัญหาสังคมที่อยู่ใกล้ตัวอีกต่อไป แต่กลายเป็นความเสี่ยงต่อภาคธุรกิจได้เช่นเดียวกัน ในขณะเดียวกันธุรกิจต้องมีการสร้างความเชื่อมโยงระหว่างธุรกิจ และสังคม โดยนำความต้องการหรือความคาดหวังของคนในสังคมมาบูรณาการเป็นส่วนหนึ่งของเป้าหมายขององค์กร






เป้าหมาย 2563
-
จำนวนเกษตรกรที่ได้รับ
การส่งเสริมอาชีพและรายได้1,2476,27910,1049,509100% -
จำนวนกลุ่มผู้เปราะบาง
ที่ได้รับการส่งเสริมอาชีพ
และ คุณภาพชีวิต–3752,4383,041100%
นอกจากนี้บริษัทฯ ยังมีแนวทางและแผนการดำเนินงานในการขับเคลื่อนผ่าน ‘โครงการซีพีเพื่อความยั่งยืน’ กำหนดกลยุทธ์การดำเนินโครงการผ่านตัวแทนจากแต่ละกลุ่มธุรกิจ เพื่อให้การดำเนินงานมีความสอดคล้องและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน พร้อมกันนี้บริษัทฯ มีความมุ่งมั่นในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชนผ่านแนวทางการดำเนินงาน
บริษัทฯ อาทิ การพัฒนาชุมชน (Community Development) การขจัดความยากจน (Poverty Reduction) และการเกษตรกรรม (Agriculture) อีกทั้งมีการเชิดชูโครงการที่โดดเด่นเพื่อยกย่องให้เป็นแบบอย่างที่ดีของบริษัทฯ
- การส่งเสริมองค์ความรู้และทักษะ
- การฝึกอบรม
- การให้คำปรึกษา
- การถ่ายทอดเทคโนโลยี
- การพัฒนาโครงสร้าง
- พื้นฐานเพื่อการเรียนรู้
- การเข้าถึงแหล่งเงินทุน
- การแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์
- การสร้างสรรค์คุณค่าสู่นวัตกรรม
- การจ้างงานสร้างรายได้
- การตลาดและการเข้าถึงลูกค้า
- การลงทุนในชุมชน
- การบริจาค

บริษัท ซี.พี. อินเตอร์เทรด จำกัดและบริษัทในกลุ่มธุรกิจการค้าระหว่างประเทศให้ความสำคัญกับภาคเกษตรซึ่งในระบบเศรษฐกิจสังคมไทย และทั่วโลก เพราะเกี่ยวข้องกับชีวิตความเป็นอยู่คนจำนวนมาก และ เกษตรกรส่วนใหญ่ยังคงมีความยากจน เนื่องจาก เกษตรกรขาด 4 เรื่อง คือขาดเงินทุน ขาดความรู้ ขาดเทคโนโลยี และขาดตลาด ในขณะที่กลุ่มธุรกิจฯ มีทรัพยากรและสามารถสร้างความร่วมมือจากผู้ที่เกี่ยวข้อง ในการที่จะยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกร โดยเฉพาะการขจัด ความยากจน ซึ่งจะสนับสนุนเป้าหมายที่ยั่งยืน (SDGs) เป้าหมายที่ 1
กลุ่มธุรกิจฯ ดำเนินงานโครงการส่งเสริมเกษตรกรรายย่อย ในโครงการส่งเสริมของบริษัทฯ ด้วยความมุ่งหวังที่จะส่งเสริมอาชีพและรายได้แก่เกษตรกรไทย โดย ไม่การผูกมัดเป็นสัญญา แต่ให้โอกาสกับเกษตรในการที่จะขายสินค้าไปยังผู้ซื้อที่ให้ราคาที่เหมาะสมที่สุด เป็นการทำธุรกิจที่เกษตรกรมีตลาดรองรับผลผลิตที่แน่นอน และบริหารจัดการนาข้าวภายใต้มาตรฐานเดียวกับบริษัท ซึ่งเทียบเท่ามาตรฐานสากลเพื่อประโยชน์โดยตรงต่อเกษตรกรในด้านการมีรายได้ที่แน่นอน และเพื่อผู้บริโภคที่จะได้บริโภคอาหารคุณภาพและปลอดภัย
- การส่งเสริมการตลาดและช่องทางจำหน่ายให้แก่เกษตรกร
- การส่งเสริมเกษตรกรในระบบสมาชิก
- โครงการ 4 ประสาน เพื่อนวัตกรรมการเกษตรทันสมัย และยั่งยืน
- การส่งเสริมความรู้ เทคโนโลยีและทักษะ
และการจ้างงานเกษตรกรท้องถิ่น - การส่งเสริมการเข้าถึงแหล่งเงินทุนให้แก่เกษตรกร
- การพัฒนาธุรกิจเพื่อสังคมการจัดซื้อวัตถุดิบ
ทางการเกษตรโดยตรงจากเกษตรกรผู้ผลิต - การจัดซื้อวัตถุดิบทางการเกษตรโดยตรงจากเกษตรกรผู้ผลิต

“ข้าวชาวนาไทย ปี 3”
ตราฉัตร ร่วมกับบริษัทพันธมิตรภายใต้เครือเจริญโภคภัณฑ์ ผสานโครงการ “ข้าวชาวนาไทย ปี 3” ช่วยชาวนา รับมือพิษโควิดและราคาข้าวหอมมะลิตกต่ำ ชวนคนไทยหันมากินข้าวหอมมะลิจากชาวนาไทย ผ่านช่องทางจำหน่ายร้านสะดวกซื้อและห้างค้าใกล้บ้านภายใต้เครือเจริญโภคภัณฑ์ อาทิ 7-Eleven, แมคโคร และซีพี เฟรชมาร์ท
นายฐิติ ลุจินตานนท์ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ ธุรกิจการค้าข้าวและอาหารในประเทศและต่างประเทศ เปิดเผยว่า “อุตสาหกรรมข้าวไทย ปี 2563 มีแนวโน้มตกต่ำ ทั้งในเชิงปริมาณและมูลค่าการส่งออก ซึ่งในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ประเทศผู้นำเข้าข้าวรายใหญ่และเป็นผู้ผลิตข้าวที่สำคัญของโลก อาทิ จีน อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ มีนโยบายลดการพึ่งพา ชะลอการซื้อ เน้นเพิ่มผลผลิตข้าวภายในประเทศ ประกอบกับหลังเกิดการแพร่กระจายเชื้อไวรัสโควิด-19 เป็นผลให้ตั้งแต่เดือนมีนาคม การส่งออกหยุดชะงัก ทำให้สินค้าเกษตรส่งออกหลายชนิด รวมถึงข้าวหอมมะลิได้รับผลกระทบไปด้วย ไม่สามารถส่งออกตลาดต่างประเทศได้ ทำให้การส่งออกชะลอตัว กลุ่มผู้บริโภคทั้งตลาดไทยและต่างประเทศมีกำลังการซื้อที่หดตัวลง หันไปซื้อข้าวคุณภาพใกล้เคียงหอมมะลิที่มีราคาถูกกว่า ประกอบกับปีนี้ปริมาณภาวะน้ำฝนค่อนข้างอุดมสมบูรณ์ มีปริมาณมากกว่าปีก่อน ซึ่งปัจจัยต่างๆ นี้ ส่งผลทำให้เกษตรกรผู้ปลูกต้องเผชิญวิกฤติราคาข้าวตกต่ำ
บริษัท ซี.พี. อินเตอร์เทรด จำกัด ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายข้าวสารบรรจุถุงแบรนด์ “ข้าวตราฉัตร” จากที่เห็นถึงปัญหาที่เกิดขึ้นในขณะนี้ ทางบริษัทฯ จึงขอเป็นส่วนหนึ่งในการแสดงความห่วงใยต่อพี่น้องเกษตรกรชาวนาไทย จัดโครงการ “ข้าวชาวนาไทย ปี 3” ขึ้น โดยเปิดจุดรับซื้อข้าวเกี่ยวสดตรงจากเกษตรกรชาวนา ผ่านโรงสีท่าข้าวสหกรณ์ สกก. รวมทั้ง สกต.เพิ่ม รวมทั้งหมด 46 จุด ทั่วประเทศ อาทิ จังหวัดเชียงราย พะเยา ยโสธร สุรินทร์ มหาสารคาม บุรีรัมย์ ร้อยเอ็ด ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี เป็นต้น ภายใต้พื้นที่โครงการพัฒนาระบบการปลูกข้าวเพื่อความยั่งยืน ของบริษัทฯ รวม 190,198 ไร่



ตราฉัตร ร่วมกับบริษัทพันธมิตรภายใต้เครือเจริญโภคภัณฑ์ ผสานโครงการ “ข้าวชาวนาไทย ปี 3” ช่วยชาวนา รับมือพิษโควิดและราคาข้าวหอมมะลิตกต่ำ ชวนคนไทยหันมากินข้าวหอมมะลิจากชาวนาไทย ผ่านช่องทางจำหน่ายร้านสะดวกซื้อและห้างค้าใกล้บ้านภายใต้เครือเจริญโภคภัณฑ์ อาทิ 7-Eleven, แมคโคร และซีพี เฟรชมาร์ท

นายฐิติ ลุจินตานนท์ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ ธุรกิจการค้าข้าวและอาหารในประเทศและต่างประเทศ เปิดเผยว่า “อุตสาหกรรมข้าวไทย ปี 2563 มีแนวโน้มตกต่ำ ทั้งในเชิงปริมาณและมูลค่าการส่งออก ซึ่งในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ประเทศผู้นำเข้าข้าวรายใหญ่และเป็นผู้ผลิตข้าวที่สำคัญของโลก อาทิ จีน อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ มีนโยบายลดการพึ่งพา ชะลอการซื้อ เน้นเพิ่มผลผลิตข้าวภายในประเทศ ประกอบกับหลังเกิดการแพร่กระจายเชื้อไวรัสโควิด-19 เป็นผลให้ตั้งแต่เดือนมีนาคม การส่งออกหยุดชะงัก ทำให้สินค้าเกษตรส่งออกหลายชนิด รวมถึงข้าวหอมมะลิได้รับผลกระทบไปด้วย ไม่สามารถส่งออกตลาดต่างประเทศได้ ทำให้การส่งออกชะลอตัว กลุ่มผู้บริโภคทั้งตลาดไทยและต่างประเทศมีกำลังการซื้อที่หดตัวลง หันไปซื้อข้าวคุณภาพใกล้เคียงหอมมะลิที่มีราคาถูกกว่า ประกอบกับปีนี้ปริมาณภาวะน้ำฝนค่อนข้างอุดมสมบูรณ์ มีปริมาณมากกว่าปีก่อน ซึ่งปัจจัยต่างๆ นี้ ส่งผลทำให้เกษตรกรผู้ปลูกต้องเผชิญวิกฤติราคาข้าวตกต่ำ

บริษัท ซี.พี. อินเตอร์เทรด จำกัด ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายข้าวสารบรรจุถุงแบรนด์ “ข้าวตราฉัตร” จากที่เห็นถึงปัญหาที่เกิดขึ้นในขณะนี้ ทางบริษัทฯ จึงขอเป็นส่วนหนึ่งในการแสดงความห่วงใยต่อพี่น้องเกษตรกรชาวนาไทย จัดโครงการ “ข้าวชาวนาไทย ปี 3” ขึ้น โดยเปิดจุดรับซื้อข้าวเกี่ยวสดตรงจากเกษตรกรชาวนา ผ่านโรงสีท่าข้าวสหกรณ์ สกก. รวมทั้ง สกต.เพิ่ม รวมทั้งหมด 46 จุด ทั่วประเทศ อาทิ จังหวัดเชียงราย พะเยา ยโสธร สุรินทร์ มหาสารคาม บุรีรัมย์ ร้อยเอ็ด ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี เป็นต้น ภายใต้พื้นที่โครงการพัฒนาระบบการปลูกข้าวเพื่อความยั่งยืน ของบริษัทฯ รวม 190,198 ไร่

อีกทั้งมีเกษตรกรสมาชิกโครงการฯ ผู้ปลูกข้าวหอมมะลิ ทั้งหมด 9,509 ราย บริษัทจะรับซื้อในราคานำตลาด ให้ราคารับซื้อบวกเพิ่มกับเกษตรกรชาวนาจากราคาทั่วไปอีก ตันละ 300 บาท (ความชื้นไม่เกิน 30%) ข้าวที่มีการรับซื้อทั้งหมดจะนำมาเข้ากระบวนการผลิตปรับปรุงคุณภาพและบรรจุถุงภายใต้แบรนด์ “ข้าวชาวนาไทย” พร้อมช่วยเกษตรกรชาวนาไทย ผลักดันสินค้าสู่ตลาดผู้บริโภคในราคาพิเศษ”
นายฐิติ กล่าวต่อว่า ““ข้าวชาวนาไทย” เป็นข้าวหอมมะลิแท้ 100% (อายุข้าว 1-3 เดือน) มีจุดขายพิเศษคือ ขาวใส หอม นุ่มเหนียว อร่อย เป็นข้าวหอมมะลิแรกเกี่ยวคุณภาพดีสดใหม่จากนา รับซื้อโดยตรงจากชาวนาไทย ผ่านกระบวนการผลิตจากโรงงานขนาดใหญ่ และทันสมัย ได้มาตรฐานสากล ซึ่งจะเปิดจำหน่ายล็อตแรก ขนาด 5 กก. ราคาเพียง 165 บาทเท่านั้น ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2563 ถึง31 มกราคม 2564 สามารถหาซื้อได้ผ่านช่องทางต่างๆ ภายใต้เครือเจริญโภคภัณฑ์ เท่านั้น”
ความท้าทายที่ส่งผลไปทั่วโลกในปัจจุบันคือจำนวนประชากรโลก ที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง การส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิต ให้ประชากรกลุ่มเปราะบางได้รับความเท่าเทียมในสังคมจึงเป็น สิ่งที่ควรให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เพื่อลดความเหลื่อมล้ำทาง สังคมที่เกิดขึ้น ภายใต้แนวคิดที่ว่า ‘การสร้างรากฐานทางธุรกิจ ให้แข็งแรง ต้องดำเนินควบคู่ไปพร้อมกับการสร้างรากฐาน คุณภาพชีวิตของคนในสังคม’ จึงทำให้กลุ่มธุรกิจฯ มีแนวคิดและตระหนักถึงการสนับสนุนแก่คนในสังคมอย่างต่อเนื่อง
บริษัทเชื่อมั่นว่าธุรกิจจะเติบโตอย่างยั่งยืนได้ ชุมชนและสังคมจะต้องพัฒนาไปพร้อมๆ กัน เราจึงเล็งเห็นถึงความสำคัญในการสนับสนุนกิจกรรมเพื่อสังคมและชุมชน และด้วยตระหนักถึงบทบาทหน้าที่ของพลเมืองที่ดีและหลักปรัชญา 3 ประโยชน์สู่ความยั่งยืนของบริษัท(ต่อประเทศ ประชาชน และบริษัท) เราจึงมุ่งส่งเสริมกิจกรรมต่างๆที่เอื้อประโยชน์แก่ประชากรกลุ่มเปราะบาง อาทิ ผู้พิการ ผู้สูงวัย เด็กผู้ด้อยโอกาส ทางสังคม โดยเฉพาะรอบพื้นที่ที่บริษัทดำเนินกิจการอยู่ โดยใช้ความรู้และความเชี่ยวชาญที่มีในการสร้างผลกระทบ เชิงบวกให้กับสังคมผ่านรูปแบบการสนับสนุนที่หลากหลายได้แก่ การสนับสนุนเงินการมอบสิ่งของ การทำจิตอาสา รวมถึงการถ่ายทอดองค์ความรู้ในรูปแบบต่างๆ โดยเฉพาะเรื่องการเข้าถึงอาหารที่ถูกหลักโภชนาการและการศึกษาอย่างทั่วถึง เพื่อร่วมสร้างสังคมให้มั่นคงและเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาในภาพรวมของประเทศ

เพื่อผู้พิการ

ส่งเสริมเด็กและ
ผู้ด้อยโอกาส

เพื่อผู้สูงอายุ