ความท้าทายของเศรษฐกิจในยุค 4.0 คือความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว มีทิศทางใหม่ๆ ที่เป็นทิศทางระดับโลกที่บริษัท ซี.พี. อินเตอร์เทรด จำกัด และบริษัทในกลุ่มธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ เครือเจริญโภคภัณฑ์ ต้องปรับตัวตาม ไม่เว้นแม้แต่ในอุตสาหกรรมเกษตร ยิ่งไปกว่านั้นบริบทในการดำเนินธุรกิจยังให้ความสำคัญเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น นวัตกรรมจึงเป็นสิ่งที่บริษัทฯ ให้ความสำคัญและเชื่อมั่นว่าจะช่วยขับเคลื่อนธุรกิจไปข้างหน้าอย่างยั่งยืน ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว รวมไปถึงสร้างคุณค่าให้สังคม และสิ่งแวดล้อมไปพร้อมๆกัน





เป้าหมาย 2563
-
ผลประหยัดจากโครงการ
ลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพ
(ล้านบาท)62.1386.3985.50101100% -
จำนวนนวัตกร (ราย)–527489100%

ด้านวิจัยและพัฒนา

อนุสิทธิบัตรสะสม




นวัตกรรมนับว่าเป็นยุทธศาสตร์สำคัญ และสอดคล้องกับการปฏิบัติตามค่านิยม “สร้างสรรค์สิ่งใหม่” นวัตกรรมจะส่งผลให้องค์กรเปลี่ยนแปลงแบบก้าวกระโดด เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน และสามารถมอบคุณค่าให้แก่ผู้มีส่วนได้เสียขององค์กรได้อย่างต่อเนื่อง บริษัท ซี.พี. อินเตอร์เทรด และบริษัทในกลุ่มธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ ได้มีการกำหนดทิศทาง วัตถุประสงค์ เป้าหมาย และกลยุทธ์ เพื่อพัฒนาองค์กรให้มุ่งสู่การเป็นองค์กรแห่งนวัตกรรม ประกอบด้วย การกำหนดนโยบายการจัดการนวัตกรรม การทำให้เกิดนวัตกรรม การบริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญา ตลอดจนการสร้างองค์กรแห่งนวัตกรรม เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนอย่างเป็นระบบ และมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง มุ่งสู่การเป็นองค์กรแห่งนวัตกรรมทั่วทั้งองค์กร
บริษัทฯ มุ่งเน้นการปลูกฝังทัศนคติและจิตใต้สำนึกของพนักงานในการปรับปรุง พัฒนาและสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ทั้งยังส่งเสริมให้พนักงานเติบโตและก้าวหน้าไปพร้อมกับองค์กร บริษัทฯ ดำเนินการจัดให้มีเวทีการประกวดผลงานเป็นประจำทุก 2 ปีอย่างต่อเนื่อง เพื่อแบ่งปันความรู้ และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ สำหรับพนักงานในบริษัทฯ นอกจากนั้นบริษัทฯยังส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมโดยการสร้างแรงจูงใจในการให้รางวัล และมีระบบการให้คะแนผลงานที่ผ่านเข้ารอบมหกรรมนวัตกรรมบัวบาน เพื่อเป็นคะแนนสะสมส่วนบุคคลของพนักงาน และก้าวสู่การเป็นนวัตกรในระดับต่างๆของเครือเจริญโภคภัณฑ์

บริษัท ซี.พี. อินเตอร์เทรดจำกัด และบริษัท ในกลุ่มธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ เห็นความสำคัญต่อการปลูกฝังและการสร้างทัศนคติที่ดีต่อการสร้างสร้างสรรค์สิ่งใหม่ และพัฒนาต่อยอดไปสู่การสร้างนวัตกรรม ครอบคลุมทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ เศรษฐกิจ เทคโนโลยี และสังคม ทางบริษัทฯ เริ่มจากการเน้นการดำเนินงานของพนักงานระดับปฏิบัติการ โดยมุ่งเน้นให้พนักงานแก้ปัญหาหน้างานด้วยตนเอง จึงมีการสร้างระบบข้อเสนอแนะ (Kaizen Suggestion) และมีการสร้างแรงจูงใจโดยสร้างเวทีให้พนักงานได้นำเสนอผู้บริหาร เมื่อพนักงานได้มีการพัฒนาและเกิดเป็นวัฒนธรรมในระดับหนึ่งลำดับถัดไปมีเป้าหมายให้พนักงานทำงานร่วมกันจึงมีการเซ็ตการทำงานเป็นทีม โดยใช้แนวคิดของ QCC System ให้พนักงานรวมกลุ่มกัน แก้ไขปัญหาที่ยากขึ้น มีการร่วมกันตัดสินใจระหว่างทีมเพื่อให้เกิดการแก้ไขปัญหาร่วมกัน ผ่านกระบวนการ CPI Project ครอบคลุม เรื่องการเพิ่มประสิทธิภาพ การลดต้นทุน และการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง จากนั้นมุ่งเน้นการร่วมมือกันแบบ Cross Function พัฒนาสู่กระบวนการ Innovation System ส่งเข้า CP INNOVATION ของเครือ ทั้งนี้ในระดับกลุ่มธุรกิจ ได้จัดเวทีให้พนักงานแสดงศักยภาพในการประกวดผลงาน ในงาน CPI Award โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเชิดชูนวัตกรผู้คิดค้นผลงาน และเพื่อแบ่งปันความรู้ และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ของพนักงาน ทั้งนี้ผลงานที่มีความโดดเด่นจะได้รับการพัฒนาและยกระดับไปสู่การประกวดนวัตกรรมของเครือเจริญโภคภัณฑ์

มหกรรมนวัตกรรมบัวบาน เป็นเวทีให้พนักงานของเครือเจริญโภคภัณฑ์ คิดนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อยกระดับศักยภาพการดำเนินงานครอบคลุมด้านเศรษฐกิจ เทคโนโลยี สังคมและผู้มีส่วนได้เสีย ทั้งนี้จัดให้มีกระบวนการประกวดนวัตกรรมดีเด่นภายในองค์กร 2 ปี/ครั้ง และมีการมอบรางวัล Chairman Award แก่พนักงานที่คิดค้นนวัตกรรมดีเด่น โดยประธานคณะผู้บริหารเครือเจริญโภคภัณฑ์


คุณสุเมธ เหล่าโมราพร
หัวใจสำคัญในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ อันดับแรกคือ อย่าไปติดกับดักกับความพอใจของสิ่งที่เก่า ถ้าตราบใดที่เรายังมีความพึงพอใจของสิ่งเก่า เราจะไม่มีทางพัฒนาตัวเองไปสู่สิ่งใหม่ได้ ประเด็นนี้หากเราได้มีโอกาสฟังสุนทรพจน์ของท่านประธานธนินท์ ประธานอาวุโสเครือซีพีเป็นประจำ เราจะพบได้ว่าเราทำอะไรที่สำเร็จ ท่านก็จะชมเชย แล้วท่านจะอนุญาตพวกเราให้มีความพอใจได้สามเดือนบ้างหนึ่งเดือนบ้าง แต่สำหรับท่านพอใจแค่เพียงวันเดียว ถ้าฟังคำพูดของท่านเราตีความได้ชัดๆ ว่าในฐานะที่ท่านเป็นผู้นำองค์กรสูงสุดของเครือซีพี ท่านพอใจวันเดียว แต่ท่านอนุญาติให้ระดับรองๆ ลงมาพอใจลดหลั่นลงไป เป็นการชี้ให้เห็นว่าในการทำงานของท่าน ท่านจะไม่ปล่อยให้ความสำเร็จมากลืนกินความคิดสร้างสรรค์เพราะว่าเมื่อไหร่เราตกกับดักความสำเร็จเดิมๆ เราไม่รู้หรอกว่าเรากำลังเข้าสู่ความประมาทอย่างไม่รู้ตัว เราต้องนำสิ่งที่ท่านประธานอาวุโสให้ข้อคิดนำไปปฏิบัติ เมื่อเราทำอะไรสำเร็จแล้วเรามีความภูมิใจเป็นเรื่องดี เก็บความภูมิใจนี้ไว้เป็นกำลังใจให้เราใน การสร้างสรรค์ แต่ในเวลาเดียวกันก็อย่าไปจมอยู่ในความสำเร็จนานเกินไปเปิดโลกทัศน์ตัวเอง ทำน้ำอย่างให้เต็มแก้วพอรองรับสิ่งใหม่ๆ มากขึ้น

จากเป้าหมายการนำค่านิยมสู่การสู่ปฏิบัติผ่านการทำโครงการพอใจวันเดียว โดยการริเริ่ม ปรับปรุงสร้างสรรค์งานของตนเองซึ่งทำให้พนักงานได้มีทัศนคติที่ยอมรับการเปลี่ยนแปลง พอใจในความสำเร็จในปัจจุบันเพียงวันเดียว พร้อมทั้งคิดค้นหาวิธีการทำงานในปัจจุบันให้ดีขึ้นอยู่เสมอ ด้วยการสร้างสรรค์ สิ่งใหม่ ทำเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่าย หรือทำเร็วและมีคุณภาพ เพื่อสร้างประโยชน์ต่อตนเอง บริษัทหรือสังคมภายนอก ทั้งนี้ทางกลุ่มธุรกิจฯ ได้ส่งเสริมให้พนักงานคิดค้นโครงการในรูปแบบ ของข้อเสนอแนะ (Kaizen Suggestion) โครงการลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพ (CPI Project) นวัตกรรม (Innovation)
ซึ่งผลจากแนวคิดนี้ทำให้พนักงานมีความเข้าใจในค่านิยมของเครือฯ แบบเป็นรูปธรรม การขับเคลื่อนโครงการในครั้งนี้ จึงพยายามผลักดันให้พนักงานมีส่วนร่วม ในโครงการให้มากยิ่งขึ้นโดยมีการให้คะแนนสำหรับพนักงานที่ทำ โครงการ โดยคะแนนนี้จะเป็นส่วนหนึ่งในการเทียบชั้นเป็นนวัตกรของเครือฯ ปัจจุบันโครงการพอใจวันเดียวดำเนินการเข้าสู่ปีที่สาม ณ สิ้นปี 2563 มีพนักงานเข้าร่วมจำนวนทั้งสิ้น 467 คน ผ่านการทำโครงการปรับปรุงงานจำนวน 514 โครงการ นอกจากนั้น พนักงานที่มีส่วนร่วมในการทำโครงการยังได้สะสมคะแนนเพื่อเป็นนวัตกรของเครือฯ ส่งผลให้มีนวัตกรทุกระดับรวมกันทั้งสิ้น 89 คน ทำให้พนักงานมีทัศนคติที่ดีในการปรับปรุงงาน พยายามคิดค้นหาวิธีการใหม่ๆ มาปรับปรุงงานของตนเอง และนี่คือแนวคิดพื้นฐานของการนำค่านิยมของเครือฯ สู่การปฏิบัติ ซึ่งจะเป็นหนึ่งใน พื้นฐาน สู่การเป็นองค์กรแห่งนวัตกรรม
บริษัท ข้าว ซี.พี. จำกัด และบริษัทในกลุ่มธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ มีการดำเนินธุรกิจโดยมุ่งเน้นการดำเนินงานเพื่อสร้างความยั่งยืนให้กับองค์กร โดยให้ความสำคัญที่จะผลักดันให้องค์กรมีการดำเนินงานที่บรรลุตามกลยุทธ์ เป้าหมายที่ได้วางไว้ ทรัพยากรภายในองค์กรไม่ว่าจะเป็นบุคลากร องค์ความรู้ นวัตกรรม ระบบการจัดการหรือมาตรฐานต่างๆที่วางไว้ เป็นองค์ประกอบที่สร้างความก้าวหน้าในการดำเนินธุรกิจอย่างรวดเร็ว
- Kaizen Suggestion (ข้อเสนอแนะดีเด่น)
- CPI Project (โครงการลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพดีเด่น)
- Innovation (โครงการนวัตกรรมดีเด่น)
- Factory (โรงงานดีเด่น)
ทั้งนี้ผลงานหรือโครงการที่ได้รับรางวัลจากโครงการ CPI Award พนักงานเจ้าของผลงานจะได้รับคะแนนเพิ่มเติมในการสะสมคะแนนนวัตกรของเครือเจริญโภคภัณฑ์

ประโยชน์ที่ได้รับจากการดำเนินโครงการ
- ผู้บริหารและพนักงานทุกระดับได้พัฒนา
และดำเนินการตามระบบมาตรฐานการจัดการของบริษัทฯ
(SHE Energy CSR Management Standard) ในการนำไปทำให้ทุกโรงงานในกลุ่มธุรกิจมีระบบการจัดการที่ดีในระบบสากล - ผู้บริหารและพนักงานทุกระดับมีส่วนร่วมในการคิดค้น สร้างนวัตกรรมทั้งในกระบวนการ การบริการ หรือสินค้าใหม่ให้กับบริษัท
- ผู้บริหารและพนักงานทุกระดับมีส่วนร่วมในการดำเนินงานทั้งด้านการปรับปรุงเพื่อลดต้นทุนการผลิตที่มีประสิทธิภาพ และส่งเสริมกิจกรรมในด้านต่างๆ เช่น ด้านคุณภาพ ความปลอดภัย และสิ่งแวดล้อม
- ผู้บริหารและพนักงานทุกระดับมีส่วนร่วมในกระบวนการข้อเสนอแนะ โครงการลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพ



ความท้าทายของเศรษฐกิจในยุค 4.0 คือความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว มีทิศทางใหม่ๆ ที่เป็นทิศทางระดับโลกที่บริษัท ซี.พี. อินเตอร์เทรด จำกัด และบริษัทในกลุ่มธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ เครือเจริญโภคภัณฑ์ ต้องปรับตัวตาม ไม่เว้นแม้แต่ในอุตสาหกรรมเกษตร ยิ่งไปกว่านั้นบริบทในการดำเนินธุรกิจยังให้ความสำคัญเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น นวัตกรรมจึงเป็นสิ่งที่บริษัทฯ ให้ความสำคัญและเชื่อมั่นว่าจะช่วยขับเคลื่อนธุรกิจไปข้างหน้าอย่างยั่งยืน ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว รวมไปถึงสร้างคุณค่าให้สังคม และสิ่งแวดล้อมไปพร้อมๆกัน





เป้าหมาย 2563
-
ผลประหยัดจากโครงการ
ลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพ
(ล้านบาท)62.1386.3985.50101100% -
จำนวนนวัตกร (ราย)–527489100%

ด้านวิจัยและพัฒนา

อนุสิทธิบัตรสะสม




นวัตกรรมนับว่าเป็นยุทธศาสตร์สำคัญ และสอดคล้องกับการปฏิบัติตามค่านิยม “สร้างสรรค์สิ่งใหม่” นวัตกรรมจะส่งผลให้องค์กรเปลี่ยนแปลงแบบก้าวกระโดด เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน และสามารถมอบคุณค่าให้แก่ผู้มีส่วนได้เสียขององค์กรได้อย่างต่อเนื่อง บริษัท ซี.พี. อินเตอร์เทรด และบริษัทในกลุ่มธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ ได้มีการกำหนดทิศทาง วัตถุประสงค์ เป้าหมาย และกลยุทธ์ เพื่อพัฒนาองค์กรให้มุ่งสู่การเป็นองค์กรแห่งนวัตกรรม ประกอบด้วย การกำหนดนโยบายการจัดการนวัตกรรม การทำให้เกิดนวัตกรรม การบริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญา ตลอดจนการสร้างองค์กรแห่งนวัตกรรม เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนอย่างเป็นระบบ และมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง มุ่งสู่การเป็นองค์กรแห่งนวัตกรรมทั่วทั้งองค์กร
บริษัทฯ มุ่งเน้นการปลูกฝังทัศนคติและจิตใต้สำนึกของพนักงานในการปรับปรุง พัฒนาและสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ทั้งยังส่งเสริมให้พนักงานเติบโตและก้าวหน้าไปพร้อมกับองค์กร บริษัทฯ ดำเนินการจัดให้มีเวทีการประกวดผลงานเป็นประจำทุก 2 ปีอย่างต่อเนื่อง เพื่อแบ่งปันความรู้ และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ สำหรับพนักงานในบริษัทฯ นอกจากนั้นบริษัทฯยังส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมโดยการสร้างแรงจูงใจในการให้รางวัล และมีระบบการให้คะแนผลงานที่ผ่านเข้ารอบมหกรรมนวัตกรรมบัวบาน เพื่อเป็นคะแนนสะสมส่วนบุคคลของพนักงาน และก้าวสู่การเป็นนวัตกรในระดับต่างๆของเครือเจริญโภคภัณฑ์

บริษัท ซี.พี. อินเตอร์เทรดจำกัด และบริษัท ในกลุ่มธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ เห็นความสำคัญต่อการปลูกฝังและการสร้างทัศนคติที่ดีต่อการสร้างสร้างสรรค์สิ่งใหม่ และพัฒนาต่อยอดไปสู่การสร้างนวัตกรรม ครอบคลุมทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ เศรษฐกิจ เทคโนโลยี และสังคม ทางบริษัทฯ เริ่มจากการเน้นการดำเนินงานของพนักงานระดับปฏิบัติการ โดยมุ่งเน้นให้พนักงานแก้ปัญหาหน้างานด้วยตนเอง จึงมีการสร้างระบบข้อเสนอแนะ (Kaizen Suggestion) และมีการสร้างแรงจูงใจโดยสร้างเวทีให้พนักงานได้นำเสนอผู้บริหาร เมื่อพนักงานได้มีการพัฒนาและเกิดเป็นวัฒนธรรมในระดับหนึ่งลำดับถัดไปมีเป้าหมายให้พนักงานทำงานร่วมกันจึงมีการเซ็ตการทำงานเป็นทีม โดยใช้แนวคิดของ QCC System ให้พนักงานรวมกลุ่มกัน แก้ไขปัญหาที่ยากขึ้น มีการร่วมกันตัดสินใจระหว่างทีมเพื่อให้เกิดการแก้ไขปัญหาร่วมกัน ผ่านกระบวนการ CPI Project ครอบคลุม เรื่องการเพิ่มประสิทธิภาพ การลดต้นทุน และการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง จากนั้นมุ่งเน้นการร่วมมือกันแบบ Cross Function พัฒนาสู่กระบวนการ Innovation System ส่งเข้า CP INNOVATION ของเครือ ทั้งนี้ในระดับกลุ่มธุรกิจ ได้จัดเวทีให้พนักงานแสดงศักยภาพในการประกวดผลงาน ในงาน CPI Award โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเชิดชูนวัตกรผู้คิดค้นผลงาน และเพื่อแบ่งปันความรู้ และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ของพนักงาน ทั้งนี้ผลงานที่มีความโดดเด่นจะได้รับการพัฒนาและยกระดับไปสู่การประกวดนวัตกรรมของเครือเจริญโภคภัณฑ์

มหกรรมนวัตกรรมบัวบาน เป็นเวทีให้พนักงานของเครือเจริญโภคภัณฑ์ คิดนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อยกระดับศักยภาพการดำเนินงานครอบคลุมด้านเศรษฐกิจ เทคโนโลยี สังคมและผู้มีส่วนได้เสีย ทั้งนี้จัดให้มีกระบวนการประกวดนวัตกรรมดีเด่นภายในองค์กร 2 ปี/ครั้ง และมีการมอบรางวัล Chairman Award แก่พนักงานที่คิดค้นนวัตกรรมดีเด่น โดยประธานคณะผู้บริหารเครือเจริญโภคภัณฑ์


คุณสุเมธ เหล่าโมราพร
หัวใจสำคัญในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ อันดับแรกคือ อย่าไปติดกับดักกับความพอใจของสิ่งที่เก่า ถ้าตราบใดที่เรายังมีความพึงพอใจของสิ่งเก่า เราจะไม่มีทางพัฒนาตัวเองไปสู่สิ่งใหม่ได้ ประเด็นนี้หากเราได้มีโอกาสฟังสุนทรพจน์ของท่านประธานธนินท์ ประธานอาวุโสเครือซีพีเป็นประจำ เราจะพบได้ว่าเราทำอะไรที่สำเร็จ ท่านก็จะชมเชย แล้วท่านจะอนุญาตพวกเราให้มีความพอใจได้สามเดือนบ้างหนึ่งเดือนบ้าง แต่สำหรับท่านพอใจแค่เพียงวันเดียว ถ้าฟังคำพูดของท่านเราตีความได้ชัดๆ ว่าในฐานะที่ท่านเป็นผู้นำองค์กรสูงสุดของเครือซีพี ท่านพอใจวันเดียว แต่ท่านอนุญาติให้ระดับรองๆ ลงมาพอใจลดหลั่นลงไป เป็นการชี้ให้เห็นว่าในการทำงานของท่าน ท่านจะไม่ปล่อยให้ความสำเร็จมากลืนกินความคิดสร้างสรรค์เพราะว่าเมื่อไหร่เราตกกับดักความสำเร็จเดิมๆ เราไม่รู้หรอกว่าเรากำลังเข้าสู่ความประมาทอย่างไม่รู้ตัว เราต้องนำสิ่งที่ท่านประธานอาวุโสให้ข้อคิดนำไปปฏิบัติ เมื่อเราทำอะไรสำเร็จแล้วเรามีความภูมิใจเป็นเรื่องดี เก็บความภูมิใจนี้ไว้เป็นกำลังใจให้เราใน การสร้างสรรค์ แต่ในเวลาเดียวกันก็อย่าไปจมอยู่ในความสำเร็จนานเกินไปเปิดโลกทัศน์ตัวเอง ทำน้ำอย่างให้เต็มแก้วพอรองรับสิ่งใหม่ๆ มากขึ้น

จากเป้าหมายการนำค่านิยมสู่การสู่ปฏิบัติผ่านการทำโครงการพอใจวันเดียว โดยการริเริ่ม ปรับปรุงสร้างสรรค์งานของตนเองซึ่งทำให้พนักงานได้มีทัศนคติที่ยอมรับการเปลี่ยนแปลง พอใจในความสำเร็จในปัจจุบันเพียงวันเดียว พร้อมทั้งคิดค้นหาวิธีการทำงานในปัจจุบันให้ดีขึ้นอยู่เสมอ ด้วยการสร้างสรรค์ สิ่งใหม่ ทำเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่าย หรือทำเร็วและมีคุณภาพ เพื่อสร้างประโยชน์ต่อตนเอง บริษัทหรือสังคมภายนอก ทั้งนี้ทางกลุ่มธุรกิจฯ ได้ส่งเสริมให้พนักงานคิดค้นโครงการในรูปแบบ ของข้อเสนอแนะ (Kaizen Suggestion) โครงการลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพ (CPI Project) นวัตกรรม (Innovation)
ซึ่งผลจากแนวคิดนี้ทำให้พนักงานมีความเข้าใจในค่านิยมของเครือฯ แบบเป็นรูปธรรม การขับเคลื่อนโครงการในครั้งนี้ จึงพยายามผลักดันให้พนักงานมีส่วนร่วม ในโครงการให้มากยิ่งขึ้นโดยมีการให้คะแนนสำหรับพนักงานที่ทำ โครงการ โดยคะแนนนี้จะเป็นส่วนหนึ่งในการเทียบชั้นเป็นนวัตกรของเครือฯ ปัจจุบันโครงการพอใจวันเดียวดำเนินการเข้าสู่ปีที่สาม ณ สิ้นปี 2563 มีพนักงานเข้าร่วมจำนวนทั้งสิ้น 467 คน ผ่านการทำโครงการปรับปรุงงานจำนวน 514 โครงการ นอกจากนั้น พนักงานที่มีส่วนร่วมในการทำโครงการยังได้สะสมคะแนนเพื่อเป็นนวัตกรของเครือฯ ส่งผลให้มีนวัตกรทุกระดับรวมกันทั้งสิ้น 89 คน ทำให้พนักงานมีทัศนคติที่ดีในการปรับปรุงงาน พยายามคิดค้นหาวิธีการใหม่ๆ มาปรับปรุงงานของตนเอง และนี่คือแนวคิดพื้นฐานของการนำค่านิยมของเครือฯ สู่การปฏิบัติ ซึ่งจะเป็นหนึ่งใน พื้นฐาน สู่การเป็นองค์กรแห่งนวัตกรรม
บริษัท ข้าว ซี.พี. จำกัด และบริษัทในกลุ่มธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ มีการดำเนินธุรกิจโดยมุ่งเน้นการดำเนินงานเพื่อสร้างความยั่งยืนให้กับองค์กร โดยให้ความสำคัญที่จะผลักดันให้องค์กรมีการดำเนินงานที่บรรลุตามกลยุทธ์ เป้าหมายที่ได้วางไว้ ทรัพยากรภายในองค์กรไม่ว่าจะเป็นบุคลากร องค์ความรู้ นวัตกรรม ระบบการจัดการหรือมาตรฐานต่างๆที่วางไว้ เป็นองค์ประกอบที่สร้างความก้าวหน้าในการดำเนินธุรกิจอย่างรวดเร็ว
- Kaizen Suggestion (ข้อเสนอแนะดีเด่น)
- CPI Project (โครงการลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพดีเด่น)
- Innovation (โครงการนวัตกรรมดีเด่น)
- Factory (โรงงานดีเด่น)
ทั้งนี้ผลงานหรือโครงการที่ได้รับรางวัลจากโครงการ CPI Award พนักงานเจ้าของผลงานจะได้รับคะแนนเพิ่มเติมในการสะสมคะแนนนวัตกรของเครือเจริญโภคภัณฑ์

ประโยชน์ที่ได้รับจากการดำเนินโครงการ
- ผู้บริหารและพนักงานทุกระดับได้พัฒนา
และดำเนินการตามระบบมาตรฐานการจัดการของบริษัทฯ
(SHE Energy CSR Management Standard) ในการนำไปทำให้ทุกโรงงานในกลุ่มธุรกิจมีระบบการจัดการที่ดีในระบบสากล - ผู้บริหารและพนักงานทุกระดับมีส่วนร่วมในการคิดค้น สร้างนวัตกรรมทั้งในกระบวนการ การบริการ หรือสินค้าใหม่ให้กับบริษัท
- ผู้บริหารและพนักงานทุกระดับมีส่วนร่วมในการดำเนินงานทั้งด้านการปรับปรุงเพื่อลดต้นทุนการผลิตที่มีประสิทธิภาพ และส่งเสริมกิจกรรมในด้านต่างๆ เช่น ด้านคุณภาพ ความปลอดภัย และสิ่งแวดล้อม
- ผู้บริหารและพนักงานทุกระดับมีส่วนร่วมในกระบวนการข้อเสนอแนะ โครงการลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพ


