call emergency

+88 036 656 99

toward net zero
our Commitment on
toward net zero
toward net zero
our Commitment on
toward net zero

ยุทธศาสตร์และเป้าหมายความยั่งยืนเครือฯ สู่ปี 2573

การจัดการด้านความยั่งยืน

SUSTAINABILITY MANAGEMENT

ธุรกิจพืชครบวงจร ข้าว ขนส่งและบริการ เครือเจริญโภคภัณฑ์เชื่อว่า นอกเหนือจากการส่งมอบคุณค่าผ่านสินค้าและบริการที่มีคุณภาพและตรงตามความต้องการของลูกค้าและผู้บริโภคแล้ว ธุรกิจจะดำเนินการอย่างยั่งยืนได้นั้นจะต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานความรับผิดชอบต่อสังคม และสิ่งแวดล้อม ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง อันจะเห็นได้จากการยึดมั่นในหลักปรัชญา 3 ประโยชน์ ที่มุ่งเน้นสร้างสรรค์ประโยชน์แก่ประเทศชาติ สังคม และบริษัทอย่างเสมอมา รวมถึงการนำแนวทาง C.P. Excellence มาประยุกต์ใช้ในการดำเนินธุรกิจ เพื่อการพัฒนาของบุคลากร บริษัทฯ อย่างต่อเนื่อง

นอกจากนี้ธุรกิจพืชครบวงจร ข้าว ขนส่งและบริการ เครือเจริญโภคภัณฑ์ ยังมุ่งมั่นที่จะดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนให้มากกว่าการปฏิบัติตามกฎระเบียบ ข้อบังคับ และมาตรฐานของประเทศที่บริษัท ฯ เข้าไปดำเนินธุรกิจ โดยการปฏิบัติตามหลักการสากลด้านความยั่งยืน เช่น ข้อตกลงโลกแห่งสหประชาชาติ (UN Global Compact) หลักปฏิบัติของสหประชาชาติว่าด้วยการดำเนินธุรกิจและสิทธิมนุษยชน (UN Guiding Principles on Business and Human Rights: UNGP) และเป้าหมายการพัฒนาที่อย่างยืนขององค์การสหประชาชาติ (UN Sustainable Development Goals: UN SDGs)

ธุรกิจพืชครบวงจร ข้าว ขนส่งและบริการ ได้นำยุทธศาสตร์ด้านความยั่งยืน และเป้าหมายความยั่งยืนปี 2563 ของเครือเจริญโภคภัณฑ์ มาเป็นกรอบในการดำเนินงานด้านความยั่งยืน ภายใต้กรอบการทำงาน 3Hs คือ HEART – มุ่งมั่นทำธุรกิจด้วยใจที่ยั่งยืน HEALTH – มุ่งมั่นสร้างสังคมที่ยั่งยืน HOME – มุ่งมั่นเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน โดยยุทธศาสตร์ความยั่งยืนของเครือฯ นั้น ประกอบไปด้วยองค์ประกอบหลัก 4 ประการ ซึ่งอยู่ภายใต้หัวใจสำคัญของการดำเนินธุรกิจและรากฐานความยั่งยืนของเครือฯ คือ ปรัชญา 3 ประโยชน์ ที่มุ่งสร้างสรรค์ประโยชน์แก่ประเทศชาติ สังคม และบริษัท

 

องค์ประกอบแรก คือ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินธุรกิจได้ตลอดห่วงโซ่อุปทาน โดยมีหลักการว่า ธุรกิจจะต้องรู้และเข้าใจขีดความสามารถของตนเอง และดำเนินธุรกิจอย่างเพียงพอและพอดี องค์ประกอบที่สอง คือ แนวทาง ซีพี สู่ความเป็นเลิศ (C.P. Excellence) หรือหลักการบริหารจัดการคุณภาพโดยรวม (Total Quality Management: TQM) เพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับองค์กรจากการผนักกำลังภายในเครือฯ ทั้งด้านธุรกิจ บุคลากร และจิตใจ 

 

องค์ประกอบที่สาม คือ หลักการสากลที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ได้แก่ ข้อตกลงแห่งสหประชาชาติ (UN Global Compact) หลักปฏิบัติของสหประชาชาติว่าด้วยการดำเนินธุรกิจและสิทธิมนุษยชน (UN Guiding Principles on Business and Human Rights: UNGP) และเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ (UN Sustainable Development Goals: UN SDGs) โดยเครือฯ มุ่งมั่นดำเนินธุรกิจให้สอดคล้องตามหลักการดังกล่าว พร้อมทั้งสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนครบทั้ง 17 เป้าหมาย องค์ประกอบสุดท้าย คือ การปฏิบัติตามกฎระเบียบ ข้อบังคับ และมาตรฐานของประเทศที่เครือฯ เข้าไปดำเนินธุรกิจ ซึ่งถือเป็นพื้นฐานการดำเนินธุรกิจ

นอกจากนี้ บริษัท ซี.พี. อินเตอร์เทรด จำกัด และบริษัทในกลุ่มธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ ยังให้ความสำคัญกับการดำเนินธุรกิจบนหลักธรรมาภิบาล ความโปร่งใส การตรวจสอบได้ รวมทั้งความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ที่สะท้อนให้เห็นตลอดการดำเนินงานของเครือฯ โดยมีจุดประสงค์เพื่อความยั่งยืนในระยะยาว และเพื่อประโยชน์สูงสุดแก่ผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม

ยุทธศาสตร์ด้านความยั่งยืน ปี 2564-2573

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ

โครงสร้าง
คณะกรรมการ