CPI
การประเมินประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืน
(Materiality Assessment Process)
(GRI 102-2, 102-15, 102-32, 102-46, 102-47, 102-54, 103-1)
บริษัท ซี.พี. อินเตอร์เทรด จำกัด และบริษัทในธุรกิจข้าว ขนส่งและบริการ กำหนดเนื้อหาและคุุณภาพของรายงานฉบับนี้บนพื้นฐานการดำเนินงานขององค์กรและประเด็นสำคัญที่มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ภายใต้มุุมมองของผู้มีส่่วนได้เสียทั้งภายในและภายนอกองค์กร เพื่อเป็นหนึ่งในช่องทางสำหรับสื่อสารให้กับผู้มีส่วนได้เสียได้รับทราบถึงความมุ่งมั่น และผลการดำเนินงานตามกรอบยุุทธศาสตร์ด้านความยั่งยืนของบรืษัท โดยบริษัท นำแนวทางการจัดทำรายงานความยั่่งยืนในระดับสากล GRI Sustainability Reporting Standards แบบทางเลือกหลัก (Core option) มาเป็นกรอบในการจัดทำรายงาน โดยพิจารณาจากปัจจัยทั้งภายในและภายนอกที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงาน เพื่อนำมาประเมินประเด็นด้านความยั่งยืนที่สำคัญ โดยมีกร ะบวนการและขั้นตอนต่างๆ ในการประเมินประเด็นความยั่งยืนภายใต้หลักสำคัญ 10 ประการของ GRI Standards ซึ่งประกอบด้วยการมีส่วนร่วมของผู้ส่วนได้เสีย ในกระบวนการจัดทำรายงาน(Stakeholder Inclusiveness) การพิจารณาบริบทแห่งความยั่งยืน (Sustainability Context) การประเมินประเด็นด้านความยั่งยืนที่สำคัญ (Materiality) ความครบถ้วนสมบููรณ์ ของข้อมููล (Completeness) พร้อมทั้งทวนสอบคุุณภาพของรายงานโดยดำเนินงานตรวจสอบความถููกต้องของข้อมููลที่เปิดเผย (Accuracy) ความสมดุุลของผลการดำเนินงาน ทั้งเชิงบวกและเชิงลบ (Balance) ความชัดเจน และเข้าใจง่ายของข้อมููลต่อผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม (Clarity) การมีข้อมููลที่สามารถเปรียบเทียบได้เพือแสดงถึงแนวโน้มของการดำเนินงานที่ผ่านมา (Comparability) ความน่าเชื่อถือของข้อมููลและเนื้อหา (Reliability) และขอบเขตของเวลาในการรายงานเพื่อเป็นข้อมููลประกอบการตัดสินใจของผู้มีส่วนได้เสีย (Timeliness) โดยมีกระบวนการและขั้นตอนการประเมินประเด็นความยั่งยืนที่สำคัญ ดังนี้
การระบุประเด็นสำคัญ
ศึกษา วิเคราะห์ รวบรวม และระบุประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืนที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของเครือฯครอบคลุมถึง ทุกกิจการของบริษัท ซี.พี. อินเตอร์เทรด จำกัด และ บริษัทในธุรกิจข้าว ขนส่งและบริการ คำนึงถึงความหลากหลายของอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง
ขั้นตอนการระบุประเด็นสำคัญประกอบด้วย
- ประเด็นสำคัญมาจากการอบรมเชิงปฏิบัติการด้านความยั่งยืน ร่วมกันระหว่างผู้บริหาร รวมถึงรวบรวมข้อมูลของคู่ค้ามาร่วมพิจารณา จากนั้นมีการทบทวนทุกปี ปีละ 1 ครั้ง
- ผลการทบทวนประเด็นที่มีนัยสำคัญประจำปีของเครือฯ และของกลุ่มธุรกิจ เป็นข้อมูลสำหรับการจัดทำรายงานฉบับนี้
- เทียบเคียงประเด็นความยั่งยืนของบริษัทในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับ บริษัท ซี.พี. อินเตอร์เทรด จำกัด และ บริษัทในกลุ่มธุรกิจข้าว ขนส่งและบริการ ประกอบไปด้วย เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs), ข้อตกลงโลกแห่งสหประชาชาติ (UN Global Compact), คณะกรรมการนักธุรกิจเพื่อสิ่งเเวดล้อมโลก (World Business Council for Sustainable Development : WBCSD), ดัชนีความยั่งยืนของดาวโจนส์ (Dow Jones Sustainability Index)
- ระบุกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียจากข้อมูลการสำรวจคู่ค้า ข้อมูลกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียของเครือฯ และข้อมูลกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียจากระบบมาตรฐานความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) ได้เป็นทั้งหมด 14 กลุ่ม
- รวบรวมประเด็นที่มีนัยสำคัญของบริษัทในเครือฯ ที่มีการจัดทำรายงานความยั่งยืน และจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นกับผู้มีส่วนได้เสียเพิ่มเติม จากการสำรวจแบบสอบถาม
การจัดลำดับความสำคัญ
- ประชุมคณะกรรมการบริหารความยั่งยืนเพื่อพิจารณาข้อมูลประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืน แยกตามกลุ่มผู้มีส่วนได้เสีย ซึ่งเป็นข้อมูลจากผลการสำรวจ และประเด็นที่นัยสำคัญของเครือฯ
- สำรวจความคิดเห็นของตัวแทนพนักงาน คณะผู้บริหารของกลุ่มธุรกิจ และตัวแทนผู้มีส่วนได้เสียแบบออนไลน์
- นำประเด็นที่มีนัยสำคัญของการประชุม และการสำรวจมาคิดเห็น มาจัดลำดับโดยผู้มีส่วนได้เสีย ตามขั้นตอนดังนี้
- กำหนดค่าถ่วงน้ำหนักของกลุ่มธุรกิจ
- กำหนดค่าถ่วงน้ำหนักของแต่ละกลุ่มผู้มีส่วนได้เสีย
- คำนวณคะแนนความสำคัญต่อผู้มีส่วนได้เสีย
- คำนวณคะแนนความสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจ
- จัดทำ Materiality Matrix
การทวนสอบความถูกต้องและความน่าเชื่อถือ
ทวนสอบกระบวนการการจัดทำรายงานความยั่งยืนตามหลักการรายงานประเด็นสำคัญของมาตรฐาน GRI ให้ครบถ้วนทั้ง 4 ประการขั้นตอนการทวนสอบความถูกต้องและความน่าเชื่อถือ ประกอบด้วย
- สัมภาษณ์ผู้มีส่วนได้เสียภายนอกถึงประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืนต่อเครือฯ รวมถึงข้อคิดเห็นอื่นๆ เพื่อนำไปพัฒนารายงานความยั่งยืน
- พิจารณาและอนุมัติประเด็นที่มีนัยสำคัญและลำดับความสำคัญโดยคณะผู้บริหาร
- ทวนสอบและรับรองความถูกต้องของกระบวนการจัดทำรายงานความยั่งยืนโดยหน่วยงานอิสระ
การพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
บริษัท ซี.พี. อินเตอร์เทรด จำกัด และ บริษัทในกลุ่มธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ พร้อมรับฟังความคิดเห็นของทุกท่าน เพื่อนำไปพัฒนารายงานความยั่งยืนในอนาคต ให้สามารถตอบสนองความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสีย จึงได้เปิดช่องทางการติดต่อไว้หลากหลายช่องทาง